อาการเจ็บแผลผ่าตัดหรือที่ฝีเย็บ : ปกติสำหรับการคลอดลูกจะทำให้ฝีเย็บแยกจากกัน แผลที่ฉีกขาดหรือแผลที่เย็บมักมีการบวมแดง เนื่องจากผิวหนังดึงรั้งกันทำให้เจ็บแผล การกินอาหารโปรตีนสูงจะช่วยสมานแผลได้เร็ว ซึ่งอาหารที่คุณแม่ควรรับประทานจึงต้องมีโปรตีนสูงๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับคืนสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น เพราะโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ทำหน้าที่ช่วยในการส่งเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างเนื้อเยื่อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
ส่วนวิตามินซีจากผักผลไม้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อโปรตีนและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เมื่อแผลหายเร็วอาการเจ็บแผลก็จะลดน้อยลง
⇓
⇓
เมนู อาหารสำหรับแม่หลังคลอด เพื่อรักษาอาการเจ็บแผลผ่าตัดหรือที่ฝีเย็บ : ไก่ตุ๋นยาจีน
(คลิกที่ภาพเพื่อดูคลิปวีดีโอวิธีทำอาหาร)
……………………………………………………………….
ปัญหาผมร่วง : ที่มาของอาการผมร่วงอาจเกิดจากภาวะเครียด และการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของฮอร์โมนช่วงหลังคลอด ทำให้เส้นผมหยุดเจริญเติบโตชั่วคราว หรือการรับประทานอาหารไม่สมดุลก็ทำให้เกิดอาการนี้ได้ ซึ่งอาหารที่คุณแม่ควรรับประทาน ต้องเป็นอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก แมงกานีส กำมะถัน ไอโอดีน ไบโอติน โอเมก้า 3 และเพิ่มอาหารที่มีประโยชน์กับเส้นผม รวมไปถึงการบำรุงรักษาอาการผมร่วงภายนอกด้วยวิธีแบบธรรมชาติจากสมุนไพร (อ่านต่อ >> “15 สูตรรักษาอาการผมร่วงด้วยสมุนไพร”)
⇓
⇓
เมนู อาหารสำหรับแม่หลังคลอด เพื่อแก้ปัญหาผมร่วง : ปลาแซลมอนผัดบร็อคโคลี่
(คลิกที่ภาพเพื่อดูคลิปวีดีโอวิธีทำอาหาร)
……………………………………………………………….
อาการปวดเมื่อย : อาจเนื่องมาจากระหว่างการคลอดมีการบิดเกร็ง หรืออยู่ในท่าเดียวนานๆ การให้นมลูกอาจทำให้ต้องอุ้มลูกเกิดการเมื่อยล้าหรือกลัวลูกตื่นไม่กล้าขยับตัว ภาวะเครียดก็ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ ในเรื่องของอาหารให้คุณแม่เน้นโปรตีน ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อแดง ทำให้ได้แคลเซียมและวิตามินบี เพราะเมื่อกล้ามเนื้อมีการหดหรือเกร็ง แคลเซียมจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว วิตามินบีทำให้ปลายประสาททำงานได้ดี
รวมทั้งการปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศ สมุนไพร จะช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ทำให้กระปรี้กระเปร่า ลดอาการเครียด กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตให้เดินสะดวกและรักษาอุณหภูมิในร่างกาย
เมนู อาหารสำหรับแม่หลังคลอด เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย : โป๊ะแตกสมุนไพร
(คลิกที่ภาพเพื่อดูคลิปวีดีโอวิธีทำอาหาร)
ข้อควรระวังในระยะให้นมลูกเพื่อให้ลูกได้น้ำนมเพียงพอ
- ช่วงแรกเกิดคุณแม่ควรให้ลูกเข้าเต้าบ่อยๆ อาจจะประมาณทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมมา
- ไม่ปล่อยนมคัดเต้านานเกิน 3-4 ชั่วโมง เมื่อลูกทิ้งช่วงห่างในการดูดกระตุ้น ร่างกายจะผลิตน้ำนมน้อยลง
- ควร นอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ
- รักษาอารมณ์ ไม่โกรธง่าย ไม่ซึมเศร้า สดชื่นเสมอ น้ำนมจะหลั่งได้ดี
- รับประทานอาหารอย่างชาญฉลาด งดอาหารเป็นโทษ เช่น สารพิษจากกรดไขมันทรานส์ (ขนม เค้ก คุกกี้) ไอศกรีม น้ำแข็ง
- ควรงดและหลีกเลี่ยงอาหารต้องห้าม อาหารแสลงและเครื่องดื่มบางประเภทที่อาจมีผลต่อร่างกายคุณแม่และอาจทำให้น้ำนมหด อ่านต่อ >> “อาหารต้องห้ามสำหรับแม่ลูกอ่อน”
ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com
ขอบคุณคลิปวีดีโอและภาพจาก : ใครใครก็เข้าครัว FoodTravel.tv (ช่องเก่า)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่