10 ยาอันตรายต่อลูก! ไม่ช่วยรักษาแถมยังทำร้ายลูกน้อย - amarinbabyandkids
ยาอันตรายต่อลูกน้อย

10 ยาอันตรายต่อลูก! ไม่ช่วยรักษาแถมยังทำร้ายลูกน้อย

event
ยาอันตรายต่อลูกน้อย
ยาอันตรายต่อลูกน้อย

ยาอันตราย

5 ตัวยา ต้องห้ามสำหรับเด็กน้อย!

นอกจากนี้ยังมีในเรื่องชนิดของยาต่างๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญในการเลือกซื้อหรือให้ลูกรับประทานยาอะไร ทานแค่ไหนจึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญและใส่ใจเป็นพิเศษด้วย อย่างไรก็ตาม คำแนะนำดังต่อไปนี้จะช่วยให้คุณคัดยาเหล่านี้ออกไปได้เลย เพราะมันไม่สามารถให้ลูกน้อยทานได้เลย

1. ยาชนิดเคี้ยว

สำหรับหนูน้อยวัยเตาะแตะ หรือเด็กอ่อน ยาชนิดเคี้ยวสามารถติดคอและเป็นอันตรายต่อลูกได้ หากจำเป็นต้องใช้ยาชนิดเคี้ยวกับลูก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่าสามารถบดยาก่อนให้ลูกรับประทานหรือผสมในอาหารอ่อนหรือนมหรือน้ำดื่มได้หรือไม่ นอกจากนี้ ควรมั่นใจว่าเจ้าตัวน้อยจะกินยาที่บดจนหมด เพื่อให้ได้รับยาในปริมาณที่เหมาะสมด้วย

2. ยาสำหรับผู้ใหญ่-ยาเด็กโต

การให้ยาสำหรับผู้ใหญ่แก่เด็กวัยทารก-2ปี  แม้จะให้ในปริมาณที่น้อยลง แต่ก็มีอันตรายไม่ต่างอะไรกับยาพิษ คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจไม่ทันคิดว่ายาสำหรับทารกที่ให้ในปริมาณน้อยนั้น ในความเป็นจริงแล้วอาจมีตัวยาที่เข้มข้นมากกว่ายาน้ำสำหรับเด็กอ่อน ดังนั้น การนำยาสำหรับเด็กโตมาให้เด็กวัยเด็กเล็กหรือเด็กอ่อนในปริมาณที่มากขึ้น อาจทำให้เจ้าตัวน้อยได้รับยาเกินขนาดได้ หากฉลากยาไม่ได้ระบุอายุ น้ำหนัก และปริมาณสำหรับวัยของลูกคุณ ก็ไม่ควรกะปริมาณยาให้ลูกรับประทานด้วยตัวคุณเองเด็ดขาด นอกจากนี้แม้ในเด็กที่อายุเท่ากันแต่น้ำหนักตัวไม่เท่ากัน ก็ยังได้รับปริมาณยาที่ต่างกันด้วย ดังนั้น ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาดีกว่า

3.น้ำเชื่อม ipecac (syrup of ipecac)

โดยปกติยาประเภทนี้มีไว้สำหรับการทำให้อาเจียนกรณีที่กลืนกินสารพิษเข้าไป  แต่ในช่วงหลังมานี้แพทย์ไม่เลือกใช้ยาประเภทนี้ล้ว เพราะไม่มีผลพิสูจน์แน่ชัดว่าน้ำเชื่อม ipecac ช่วยรักษาร่างกายจากการได้รับสารพิษได้ ในทางกลับกันน้ำเชื่อมนี้อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยอาจทำให้ลูกมีอาเจียนไม่หยุดได้

4. ยาหมดอายุ

อันนี้ต้องเช็คให้ดีอย่างยิ่งยวดทีเดียวค่ะ  เพราะผู้ปกครองบางท่านอาจจะคิดว่าหยวนๆ ให้ทานได้ แต่มันคือภัยร้ายใกล้ตัวดีๆ นี่เอง ยาหมดอายุ ยาที่เปลี่ยนสภาพ ซองขาด  เก็บไว้นานจนไม่แน่ใจ ควรนำไปทิ้งมากกว่าจะนำมาป้อนให้ลูกค่ะ

Must read : ยาหมดอายุ-เสื่อมคุณภาพอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม!พร้อมวิธีสังเกตและตรวจสอบยาเสื่อมสภาพ

นอกจากนี้ การทิ้งยาที่ถูกวิธีคือดูฉลากยาว่าระบุวิธีทิ้งไว้หรือไม่ ยาบางชนิดสามารถทิ้งลงชักโครกได้เลย แต่หากไม่มีระบุในกรณีที่เป็นยาน้ำควรเทใส่ขวดแก้วที่มีฝาปิด เช่น ขวดกาแฟที่ไม่ใช่แล้ว ปิดฝาให้สนิท สำหรับขวดยาเปล่าๆ ควรขีดชื่อและทำลายข้อมูลส่วนตัวก่อนทิ้งลงถังขยะค่ะ

5. ยาที่ระบุชื่อคนอื่น

คุณพ่อคุณแม่บางท่าน อาจจะคิดว่ายาของลูกหลานในบ้านอายุเท่ากับลูกของคุณและมีอาการคล้ายกันอาจจะนำมาทานแทนกันได้ แต่อันที่จริงแล้วผิดถนัด! เพราะการที่แพทย์หรือเภสัชกรให้ยามานั้น ได้พิจารณาจากอาการและน้ำหนักตัวของน้องที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อเงื่อนไขในการใช้ต่างกันก็ไม่ควรนำมาทานกันได้ จึงไม่ควรให้ลูกรับประทานยาที่ระบุชื่อคนอื่นเด็ดขาด

ทั้งนี้เมื่อเช็กยาของลูกแล้วว่ามียาดังกล่าวอยู่ก็ใช่ว่าจะให้ทิ้งทันที เนื่องจากยาพวกนี้สะสมอยู่ในตัวเด็กนานนับเดือนนับปี ถ้าหยุดปุบปับเลยเด็กอาจมีอาการทรุดลงได้ อย่างยาสเตียรอยด์ที่เด็กภูมิแพ้ได้นานๆ การหยุดแบบหักดิบจะทำให้ต่อมหมวกไตไม่ทันตั้งตัว  ทำงานไม่ทันกลายเป็นโรคป่วยด้วยต่อมหมวกไตได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ก่อนจะให้ลูกน้อยรับประทานยาอะไรควรรอบคอบพิจารณาให้ดี  ที่สำคัญต้องปรึกษาแพทย์ เภสัชกรก่อนให้ยาลูก เพราะคำว่า “ยา” ถ้าใช้ในทางที่ผิดก็คือคำๆ เดียวกับคำว่า “ยาพิษ” นั่นเอง

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ”คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.healthandtrend.com/parental/baby/dont-take-this-medicine-to-your-baby

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up