หลักการช่วยเหลือเด็กให้เอาชนะความกลัว กับ โรคกลัวของแปลกๆ
แม้ว่าสายตาและมุมมองของผู้ใหญ่ต่อสิ่งต่าง ๆ จะมองจากความเป็นจริง และสามารถจัดการกับความรู้สึกไม่มั่นคงได้ แต่เด็กอาจต้องฝึกกันนิดหน่อย ซึ่งวิธีการก็ไม่ยากจนเกินไป โดยต้องเริ่มจาก
- ทำความเข้าใจกับความกลัวของลูกน้อย และใช้เหตุผลในการพูดคุย ซึ่งในการพูดคุยนั้น ไม่ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นความผิดที่ตนเองกลัวในสิ่งต่าง ๆ หรือทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอาย
- อย่าสนับสนุนให้เด็กหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เขากลัว แต่ควรจะให้เขาได้เผชิญหน้ากับมันบ้าง เพื่อที่เด็กจะได้รู้จักวิธีจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง (ในกรณีนี้คุณพ่อคุณแม่ควรทำด้วยความระมัดระวัง และไม่กระตุ้นในลักษณะที่รุนแรง)
- สร้างความรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเองให้เกิดขึ้นกับเด็ก
- สอนวิธีผ่อนคลายให้เด็ก เพื่อที่เขาจะได้นำมาใช้เมื่อเกิดความกลัว หรือไม่มั่นคงขึ้น โดยอาจจะให้เด็กหลับตาและจินตนาการถึงความสุขที่เคยได้พบมา หรือสถานที่ที่พวกเขาชื่นชอบ อีกทั้งการผ่อนคลายช่วยให้เด็กปลดปล่อยอารมณ์ที่เกิดจากความกังวลใจ มีเทคนิคของผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวพันถึงการให้เด็กจินตนาการ หรือพัฒนาด้วยมโนภาพที่ผ่อยคลาย
- สอนวิธีเผชิญหน้ากับความกังวลใจ พ่อแม่สามารถสอนลูกถึงวิธีโต้ตอบเมื่อเขากังวลใจ
- ค่อยๆ ขจัดปฏิกิริยาโต้ตอบ วิธีส่งเสริมลูกให้เผชิญหน้ากับความกลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป คือ การค่อยๆ เปิดรับ ปล่อยให้ลูกกำหนดระยะ และไม่บังคับให้เขาทำสิ่งใดๆ โดยไม่สะดวกใจ
♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦
ทั้งนี้อาการกลัวที่ร้ายแรง หรือที่เรียกว่าโฟเบีย (Phobia) ซึ่งบนโลกนี้ก็มีด้วยกันอยู่หลากหลายชนิด โดยแต่ละชนิดก็แปลกจนไม่น่าเชื่อว่าจะมีใครบนโลกเป็นด้วย
แต่ก็มีจริง ๆ อย่างที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเป็นเห็นได้ชัด ๆ ก็คือโรคกลัวรู ที่เคยเป็นข่าวโด่งดังกันอยู่พักหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีอาการกลัวอีกมากมายที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่รู้จัก Amarin Baby & Kids จึงขอพาไปทำความรู้จักกับอาการกลัวสุดแปลกที่ไม่คิดว่าจะมีบนโลกนี้ จากเว็บไซต์ listverse.com มาฝากกันค่ะ ตามมาดูกันเลย
ประเภทของ Phobia สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภท คือ
- Agoraphobia – ความวิตกกังวลอย่างหนักในที่สาธารณะที่ทำให้การหลบหนีเป็นไปได้ยาก
- Social Phobia – ความกลัวและการหลบหลีกสถานการณ์ทางสังคม
- Specific Phobia – ความกลัวจากวัตถุหรือสถานการณ์บางอย่าง
โรคกลัวกระจก (Eisoptrophobia)
เป็นอาการกลัวกระจกที่ทำให้ไม่กล้ามองเข้าไปในกระจก เพราะจะรู้สึกว่าตัวเองจะถูกดูดเข้าไปในโลกอีกฝั่งที่อยู่ในกระจก นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการกลัวกระจกจะรู้สึกกังวลเป็นอย่างมากถ้าหากกระจกเกิดแตกขึ้นมา เพราะกลัวว่าความโชคร้ายจะมาเยือน
โรคกลัวตุ๊กตา (Pediophobia)
เกิดจากความกลัวตุ๊กตาทุกชนิด กลัวไปทุกส่วนของตุ๊กตาไม่เว้นแม้แต่เส้นผม เนื่องจากมีความหลังฝังใจกับหนังสยองขวัญที่เกี่ยวข้องกับตุ๊กตาที่เคลื่อนไหวและพูดได้ โดยอาการของโรคนี้จะกลัวแม้กระทั่งหุ่นยนต์ หรือหุ่นโชว์เสื้อผ้า พาลไม่กล้าไปเดินซื้อของตามห้างสรรพสินค้าไปด้วย แต่อาการเหล่านี้จะแตกต่างจากอาการกลัวเด็ก เพราะคนที่มีอาการเหล่านี้จะกลัวการที่ตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์เหมือนมีชีวิตขึ้นมาจริง ๆ
โรคกลัวตัวตลก (Coulrophobia)
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กๆ จะกลัวตัวตลก เพราะเหล่า Clown นั้นมีหน้าตาแปลกประหลาดจากคนปกติ แต่หากความมีความหวาดกลัวถึงขั้นทำให้หวาดผวาและยังคงคิดตัวมาจนโต ก็เป็นอาการที่เข้าข่าย Coulrophobia
โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia)
เป็นอาการกลัวที่แคบ กลัวการอยู่ในพื้นที่จำกัดและไม่สามารถหาทางออกได้ อาการนี้สามารถรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้มาก เพราะถูกกระตุ้นได้ง่ายจากการอยู่ในพื้นที่จำกัด อาทิ ลิฟต์ที่มีคนแน่น ห้องที่ไร้หน้าต่าง หรือแม้แต่การใส่เนคไทหรือเสื้อที่รัดคอมากเกินไป
อ่านต่อ >> “11 โรคกลัวของแปลก ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนในครอบครัว” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่