ตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง …จากสถิติทั่วโลก มะเร็งเต้านมได้กลายเป็นหนึ่งในเนื้อร้ายที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง ในทุกๆปี ทั่วโลกมีอัตราการเพิ่มขึ้นของมะเร็งอย่างรวดเร็วคิดเป็นร้อยละ 0.2 – 8 ในจำนวนนี้ประเทศกำลังพัฒนามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด ทุกๆ ปีประชากรจำนวนประมาณ 1.4 ล้านคนจากทั่วโลกได้รับวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งร้ายที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในเพศหญิง และปรากฏว่ามีอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ทั้งยังมีแนวโน้มเกิดกับบุคคลที่อายุยังน้อยอีกด้วย จากข้อมูลสถิติพบว่า อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเป็น 7%-10% ของโรคมะเร็งทั้งหมด โดยเฉพาะบุคคลที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี ส่วนใหญ่หญิงวัยก่อนหรือหลังหมดประจำเดือนจะมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง
Must read : มะเร็งเต้านมคร่าชีวิต!! รู้ก่อน หายก่อน
วิธีการง่ายๆ ตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง เป็นวิธีการป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะสามารถทำได้บ่อย ๆ เพื่อคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านมตนเองอยู่เสมอ ๆ หากตรวจพบก้อนเนื้อหรือสิ่งปกติใด จะได้นำไปสู่การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เนื้อร้ายเติบโตลุกลามจนยากแก่การรักษา
อาการในระยะแรกของโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่
- เจ็บปวดเต้านม: แม้ว่าผู้ป่วยในระยะแรกบางส่วนไม่สามารถคลำสัมผัสพบก้อนเนื้อได้อย่างชัดเจน แต่มักจะมีอาการเจ็บภายในเต้านม เจ็บเหมือนถูกแทง หรือปวดบวม เป็นต้น หากมีอาการเจ็บปวดดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจโดยการคลำสัมผัส หากจำเป็นก็สามารถตรวจโดยการอัลตร้าซาวด์ได้
- เต้านมสองข้างไม่เท่ากัน: เนื่องจากการมีเนื้องอกหรือเนื้องอกกับผนังทรวงอกยึดติดกัน เต้านมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือรูปร่างไป ต้องระมัดระวังและเข้ารับการตรวจ
- มีน้ำไหลออกมาจากหัวนม: ส่วนใหญ่มักปรากฏเป็นน้ำนมสีขาวไหลออกมาจากหัวนม อาจเป็นของเหลวสีเหลืองอ่อน สีเลือด เป็นน้ำ หรือลักษณะเหมือนน้ำหนอง เป็นต้น
- ต่อมน้ำเหลืองโต: ผู้ป่วยในระยะแรกบางส่วนจะปรากฏต่อมน้ำเหลืองตรงรักแร้บวมโตขึ้น
- หัวนมเปลี่ยนไป: เมื่อเนื้องอกลุกลามถึงหัวนมหรือบริเวณใต้ลานหัวนม จะทำให้หัวนมเอียงไปข้างหนึ่ง หดตัวหรือบุ๋มลงไป
- ก้อนเนื้อที่เต้านม: เมื่อกดเต้านมจะสามารถสัมผัสได้ถึงก้อนเนื้อ มักมีก้อนเดียว ไม่สม่ำเสมอ เป็นก้อนเนื้อที่มีลักษณะแข็งเคลื่อนที่ได้ โดยปกติแล้วจะไม่รู้สึกเจ็บปวดอย่างชัดเจน แนะนำให้ผู้ป่วยไปตรวจอัลตราซาวด์ที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจวินิจฉัยขนาดของก้อนเนื้อ รูปร่าง ลักษณะ เป็นต้น
- ผิวหนังเฉพาะส่วนเปลี่ยนไป: ผิวหนังเต้านมจะเปลี่ยนไปเหมือนผิวเปลือกส้ม บริเวณที่บวมน้ำและมีรูขุมขนจะบุ๋มลงไปอย่างชัดเจน ทำให้ผิวหนังขรุขระไม่สม่ำเสมอเหมือนกับผิวเปลือกส้ม
Must read : ลดเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีง่ายๆ
หากเกิดอาการใดอาการหนึ่งดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรให้ความสนใจและไปตรวจเต้านมอย่างละเอียดในโรงพยาบาลเฉพาะทาง ขณะเดียวกัน ในการใช้ชีวิตประจำวันนั้น ผู้หญิงทั้งหลายยังสามารถตรวจการเปลี่ยนแปลงของเต้านมด้วยตนเองได้
อ่านต่อ >> “4 วิธีการง่ายๆ ตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่