ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
อายุ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม พบว่ายิ่งอายุมากขึ้นโดยเฉพาะสตรีวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึงร้อยละ 50 – 60 รองลงมาคือการเคยผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านม และพบว่าเป็นซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติ (atypia) และการพบว่ามีญาติสนิท(แม่ พี่สาว น้องสาว หรือลูก) เป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2 คน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย ได้แก่ การเริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย การหมดประจำเดือน (วัยทอง) ช้า การไม่มีบุตร หรือมีบุตรยาก และการที่เคยใช้ยากลุ่มฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือนติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี เป็นต้น
การ ตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง เป็นสิ่งแรกที่ป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านมที่ผู้หญิงทุกคนสามารถทำได้หากมีความรู้ความเข้าใจ และทำอย่างถูกต้องโดยมี 3 ขั้นตอน ของการป้องกันมะเร็งเต้านมดังนี้คือ
- หมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน หลังวันหมดประจำเดือนแล้ว 3 วัน
- หากพบสิ่งผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจออย่างละเอียด
- ตรวจด้วยเครื่องเมมโมแกรมอย่างละเอียดเมื่อมีอายุ 35 ปีขึ้นไป
√ การตรวจเต้านมด้วยตนเองมี 4 วิธี ดังนี้
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำอย่างสม่ำเสมอโดยทำการตรวจเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงตั้งแต่มีประจำเดือนประมาณ 7-10 วัน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือน หรือตรวจในช่วงที่รู้สึกว่าเต้านมนิ่มลง เนื่องจากในช่วงระยะเวลานั้นเต้านมจะไม่ตึงตัวมากจึงสามารถคลำก้อนได้ชัดเจน หรือคลำก้อนที่มีขนาดที่ยังเล็กได้โดยง่าย
ส่วนผู้ที่เข้าสู่วัยทองซึ่งประจำเดือนหมดไปแล้ว หรือได้รับการผ่าตัดมดลูกไปแล้ว ให้กำหนดวันที่แน่นอนสำหรับการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการจดจำง่าย และให้ตรวจวันเดียวกันของทุกเดือน เช่น วันที่ 1 ของเดือน หรือวันสุดท้ายของเดือน เป็นต้น
การดู
1. การสังเกตความผิดปกติด้วยการดูลักษณะภายนอกของเต้านม โดยยืนหน้ากระจก ให้สังเกตเปรียบเทียบเต้านมทั้งสองข้างว่าแตกต่างผิดไปจากเดิมหรือไม่ ทำการหันตัวเล็กน้อยเพื่อสามารถมองเห็นด้านข้างของเต้านมทั้งสองข้างได้อย่างชัดเจน สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง รูปทรงสีผิว รอยบุ๋ม ยุบย่น ตรวจสอบหัวนม มีแผล สะเก็ด ความมัน มีเส้นเลือดสีดำใต้ผิวหนังมากเพิ่มขึ้นที่ผิดปกติหรือไม่ และมีของแหลวออกจากหัวนมหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใดบ้างโดยยืนในท่าดังนี้
- วางมือข้างลำตัวลักษณะผ่อนคลาย
- ยกมือเหนือศีรษะมองจากด้านหน้า และด้านข้าง เพื่อสังเกตความผิดปกติของรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านมที่เกิดจากการดึงรั้ง เนื่องจากในรายที่เป็นมะเร็งอาจจะมีการดึงรั้งของเนื้อเยื่อให้เกิดรอยบุ๋มได้
- วางมือไว้ที่เอว เกร็งอก โน้มตัวไปข้างหน้า เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกตึงตัว แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อให้สังเกตรอยดึงรั้งของผิวหนังได้ง่ายขึ้น เมื่อไม่พบความผิดปกติจากการสังเกตดูที่เต้านมแล้ว
อ่านต่อ >> “วิธีตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง โดยการคลำ” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่