การคลำ
2. การตรวจคลำเต้านม ควรทำทั้งในท่านั่งและท่านอน สิ่งที่สำคัญของการตรวจ คือ การตรวจให้ทั่วพื้นที่ของบริเวณเต้านม โดยใช้ด้านฝ่ามือของนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บริเวณค่อนไปทางปลายนิ้ว เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไวต่อการสัมผัส การคลำเต้านมจะต้องคลำให้ทั่วทั้งพื้นที่ของเต้านม ในลักษณะคลึงวนเป็นก้นหอยเล็ก ๆ ไปตามเต้านม เนื่องจากตำแหน่งของเต้านมที่อยู่บนผนังทรวงอกเป็นตำแหน่งที่สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้
สังเกตความผิดปกติว่ามีของเหลว หรือเลือดออกจากหัวนมในขณะที่กดบริเวณปานนมหรือไม่ การบีบบริเวณหัวนมควรทำด้วยความนิ่มนวล ไม่ควรบีบเค้นบริเวณหัวนมอย่างรุนแรง เพราะหากมีความผิดปกติจะพบว่ามีน้ำหรือเลือดออกจากหัวนมเมื่อมีการกดโดยไม่ต้องบีบเค้น
- การตรวจท่านอนราบ นอนในท่าสบาย สอดหมอน หรือม้วนผ้าไว้ใต้หัวไหล่ขาว (หาก ตรวจเต้านมด้านขวา) ยกแขนขวา เหนือ ศีรษะ เพื่อให้เต้านมขยาย ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง (ของมือซ้าย) คลำทั่วทั้งเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อ ซึ่งความจริงไม่ใช่ ถ้าต้องการตรวจเต้านมด้านซ้ายให้เริ่มต้นทำซ้ำอีกครั้ง
- การตรวจในท่านั่ง ใช้นิ้วมือคลำบริเวณเต้านม ส่วนที่อยู่ใต้รักแร้ว่ามีก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองที่โตผิดปกติหรือไม่ โดยการห้อยแขนลงมาเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกหย่อนลง เนื่องจากหากกล้ามเนื้อตึงเกินไปจะไม่สามารถคลำรักแร้ได้อย่างชัดเจน
3. ตรวจขณะอาบน้ำ เป็นระยะเวลาที่ผิวหนังเปียกและลื่น จะทำให้การตรวจง่ายขึ้น การตรวจทำโดยใช้ปลายนี้วมือวาง ราบบนเต้านม คลำและเคลื่อนนิ้วมือ ในลักษณะคลึง เบาๆ ให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหาก้อนหรือ เนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ หลังอาบน้ำแล้วจึงทำการ ตรวจเต้านมขั้นต่อไป
4. วิธีการคลำ หากคุณเป็นสาวเต้าใหญ่ใช้มือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำจากด้านบน วิธีการคลำ 1. คลำแบบก้อนหอย 2. คลำแบบแนวรูปลิ่ม 3. คลำแนวขึ้นลง ซึ่งการคลำเต้านม จะใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว คลำบริเวณเต้านมให้ทั่วทั้งเต้านม ในระดับความแรง 3 ระดับ คือ ระดับตื้นลงไปจากผิวหนังเล็กน้อย ระดับที่ลึกลงไป และระดับที่ลึกถึงผนังหน้าอก โดยทิศทางในการคลำสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
- คลำในแนวก้นหอย โดยสามารถคลำได้ในทิศทางทั้งทวนเข็มนาฬิกา หรือตามเข็มนาฬิกาก็ได้
- การคลำในแนวดิ่ง จากใต้เต้านมจนถึงกระดูก ไหปลาร้า คลำจากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบนก็ได้
- คลำในแนวรูปลิ่ม ทิศทางเป็นเส้นตรงรัศมีในออกนอก หรือนอกเข้าในก็ได้เช่นเดียวกัน
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นการตรวจที่จะเกิดประโยชน์อย่างมาก หากได้ทำการฝึกฝนเป็นประจำและสม่ำเสมอจนชำนาญ เพื่อให้ทราบสภาพของเต้านมตนเอง และเมื่อพบสิ่งผิดปกติที่เปลี่ยนแปลงไปจะสามารถสังเกตได้โดยง่าย สิ่งที่สำคัญของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ ทำการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี เดือนละ 1 ครั้ง และคลำไปให้ทั่วบริเวณเต้านมและรักแร้
ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือสงสัยในสิ่งที่ตรวจพบว่าอาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น คุณผู้หญิงควรจะไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจซ้ำหรือตรวจเพิ่มเติม เพื่อให้การวินิจฉัยและให้คำแนะนำที่ถูกต้องต่อไป
อ่านต่อ >> “ชมคลิป … สาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำได้ง่ายๆ กับหมอศิริราช พร้อมเผยเคล็ดไม่ลับในการป้องกันมะเร็งเต้านม”
คลิกหน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่