ยาจุดกันยุง อันตราย ทั้งยุงและมนุษย์เราด้วย โดยทางอย.ได้ออกมาเตือน พบเจอสารที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เสี่ยงเกิดอันตรายต่อเด็กๆ และทุกคนในครอบครัว หากได้รับสารหรือกลิ่นควันนั้นในปริมาณมากๆ
เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเพิ่มขึ้น หนึ่งในโรคที่น่ากลัวในช่วงฤดูฝน คือ โรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และหนึ่งในวิธีการป้องกันยุงลายอย่างง่ายนั้น คือการใช้ยาจุดกันยุงเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัด
ระวัง! ยาจุดกันยุง อันตราย 5 ยี่ห้อ อย.เตือนพบสารไม่ขึ้นทะเบียน
ยากันยุง เป็นผลิตภัณฑ์กันยุงสำหรับพื้นที่หรือจากระยะไกล สามารถใช้เพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่างคนและยุงในพื้นที่กว้าง ๆ เช่น บริเวณนั่งเล่นนอกบ้าน สนามหญ้า หรือแม้แต่ภายในบ้าน ยากันยุงช่วยปกป้องไม่ให้ลูกน้อยหรือคนในบ้านเรา รวมไปถึงสัตว์เลี้ยง โดนยุงกัดในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การเล่นนอกบ้านไปจนถึงงานเลี้ยงครอบครัวประสิทธิผลและระยะเวลาของการปกป้องจะแตกต่างกันไปอย่างมาก
โดยทั่วไปแล้ว ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (U.S Centers for Disease Control and Prevention – CDC) ได้กล่าวว่า “ยิ่งส่วนผสมออกฤทธิ์มีความเข้มข้นมากเท่าไหร่ ก็จะให้การปกป้องที่ยาวนานขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมชนิดใดก็ตาม” แต่อย่างไรก็ตาม การที่ส่วนผสมออกฤทธิ์มีความเข้มข้นสูง ก็ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะไล่ยุงได้ดีกว่าเสมอไป
ซึ่งหากคุณแม่ต้องซื้อยากันยุง ควรตรวจดูความเข้มข้นของส่วนผสมออกฤทธิ์ที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมของคุณเสมอ และทาหรือใช้ผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
โดยยาจุดกันยุง จะมีลักษณะเป็นแท่งรูปทรงกระบอกขดไปมาเป็นลักษณะวงกลม ยาจุดกันยุง ตามคำนิยามของ มอก. 309-2522 หมายถึง ผลิตภัณฑ์ยากันยุงที่เมื่อจุดใช้สามารถระเหยสารออกฤทธิ์ขับไล่ยุงหรือฆ่ายุงได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ยาจุดกันยุงชนิดแท่ง โดยมีน้ำหนักของแท่งเดี่ยวไม่ต่ำกว่า 12.00 กรัม
- ยาจุดกันยุงชนิดขด โดยมีน้ำหนักของขดเดี่ยวไม่ต่ำกว่า 5.50 กรัม
ทั้งนี้ ยาจุดกันยุงต่างกับสเปรย์กันยุง และยาทากันยุงตรงที่ยาจุดกันยุงสามารถป้องกัน และฆ่ายุงได้ ส่วนสเปรย์กันยุง และยาทากันยุงมีลักษณะการใช้เพื่อป้องกันยุงมากกว่า และลักษณะการใช้งานจะใช้วิธีการจุดฟันเพื่อให้เกิดควันพิษแก่ยุง
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : เปรียบเทียบสารสำคัญในสเปรย์กันยุงและแผ่นแปะกันยุง ซื้ออย่างไร แบบไหนดี?
คุณลักษณะจำเป็นตาม มอก.
- ยาจุดกันยุงทั้งสองชนิด เมื่อแยกออกจากกันจะแตกหรือหักไม่เกินร้อยละ 5
- ยาจุดกันยุงชนิดขด เมื่อทดสอบตามมาตรฐาน มอก. ต้องไม่แตกหรือร้าวเป็นวงแหวนมากกว่าร้อยละ 8
- ยาจุดกันยุงชนิดแท่ง เมื่อทดสอบตามมาตรฐาน มอก. ต้องไม่แตกหรือร้าวเป็นวงแหวนมากกว่าร้อยละ 5
- ควันที่เกิดจากการเผาต้องไม่เป็นอันตรายเฉียบพลันต่อผู้ใช้
- สามารถทำให้ยุงตกมาหงายท้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ใน 20 นาที
- อัตราการเผาไหม้ในห้องอับลม สำหรับชนิดขด ขดเดี่ยวต้องจุดได้นานไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง ชนิดแท่งเดี่ยวต้องจุดได้นานไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง
- ความชื้นต้องไม่เกินร้อยละ 12
อ่านต่อ >> “อย.พบ ยาจุดกันยุง 5 ยี่ห้อ มีสารไม่ขึ้นทะเบียน” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่