ซึ่งล่าสุด เภสัชกร สมชาย ปรีชาทวีกิจ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ อย. ออกสุ่มตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพในท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภคนั้น ล่าสุดได้ตรวจพบว่ามีการจำหน่ายยาจุดกันยุง และธูปหอมไล่ยุงในหลายจังหวัดทางภาคอีสาน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
1.) ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุงฉลากภาษาจีน บรรจุกล่องกระดาษสีเหลือง-สีฟ้า
2.) ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุงฉลากเป็นภาษาเขมร บรรจุกล่องกระดาษสีเขียว-สีเหลือง
3.) ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุง Ranger Scout บรรจุกล่องกระดาษสีน้ำเงิน-สีเขียว
4.) ผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงชนิดขดตราหัวเสือฉลากเป็นภาษาจีน บรรจุกล่องกระดาษสีแดง-สีขาว ห่อด้วยพลาสติกใสไม่มีสี
5.) ยาจุดกันยุงชนิดขดตรา Laojun ปิดด้วยแผ่นกระดาษ สีฟ้า-สีเหลือง-สีดำ มีรูปเด็กบนฉลาก ฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ
จากการตรวจสอบพบว่าทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่งต้องขึ้นทะเบียน แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ได้มีการส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการตรวจพบว่ามีสารเมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) เป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสารที่ อย. ไม่เคยรับขึ้นทะเบียนมาก่อน ไม่ผ่านการประเมินด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ รวมถึงความเหมาะสมของอัตราการใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตรายต่อผู้ใช้ได้
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันยุง
โดยรองเลขาธิการฯ ยังกล่าวในตอนท้ายว่า การนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มิได้ขึ้นทะเบียนมีความผิดทางกฎหมาย ทั้งนี้ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญและตรวจดูเลขทะเบียน และเครื่องหมาย อย. ในผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัย ใช้แล้วไม่เกิดอันตราย
ทั้งนี้ ยาจุดกันยุงส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารไล่หรือป้องกันยุงในกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) ซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่สกัดได้จากพืชตระกูลเบญจมาศ (สารสกัดไพรีทรัม หรือ pyrethrum extract)
ส่วนผสมหลักที่ใช้
- สารออกฤทธิ์ คือ สารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ เช่น
- แอลเลอทริน (Allethrin) มีลักษณะเป็นน้ำมัน สีเหลืองอ่อน มีจุดเดือด 140 องศาเซลเซียส ละลายน้ำได้เล็กน้อย และละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์
- ไบโอแอลเลอทริน หรือ ดี-แอลเลอทริน (Bioallethrin, d-Allethrin) ออกฤทธิ์รุนแรงกว่าแอลเลอทริน มีลักษณะเป็นของเหลวเหนียวเป็นยาง สีเหลืองอำพัน ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์
ตัวอย่างสารออกฤทธิ์กลุ่มไพรีทรอยด์ที่นิยมใช้ในยาจุดกันยุงและขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. เช่น ดี-อัลเลทริน (d-allethrin), เอสไบโอทริน (esbiothrin), เมโทฟลูทริน (metofluthrin) เป็นต้น
- วัสดุช่วยเผาไหม้ เช่น ผงไม้โกบ๊วย
- สารยึดเกาะ เช่น แป้งจากธรรมชาติ
- สารเติมแต่ง เช่น สี ยากันบูด
นอกจากนี้บางผลิตภัณฑ์อาจมีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรที่ให้กลิ่น และช่วยออกฤทธิ์ เช่น ตะไคร้ ขมิ้น มะกรูด สะเดา เป็นต้น
ลักษณะการป้องกัน และกำจัดยุง
- ใช้ด้วยการจุดไฟ โดยหันหรือวางไว้ในทิศทางเหนือลมหรือบริเวณที่ต้องการไล่ยุง และกำจัดยุง
- ยุงเมื่อสัมผัสกับควันพิษในระดับความเข้มข้นน้อยที่ไม่มีผลทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้หรือตายจะไม่เข้าไกล้กับแหล่งควันหรือบริเวณที่เกิดควัน
- เมื่อยุงได้รับสารพิษจากควันสู่ผิวหนังจะทำให้ลดการเคลื่อนไหวของยุง และทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
- เมื่อได้รับพิษในระยะหนึ่งจะทำให้ยุงตาย
อ่านต่อ >> “การป้องกันอันตรายเมื่อใช้ยาจุดกันยุง” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- 5 วิธีปราบยุง ต้นเหตุไข้เลือดออก แบบไม่บาป
- เมื่อลูกโดนยุงกัดทิ้งรอยดำ! ทำอย่างไรดี?
- 10 ต้นไม้ไล่ยุง ที่ควรปลูกไว้บริเวณบ้าน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่