ยาจุดกันยุง อันตราย 5 ยี่ห้อ อย.เตือนพบสารไม่ขึ้นทะเบียน - amarinbabyandkids

ยาจุดกันยุง อันตราย 5 ยี่ห้อ อย.เตือนพบสารไม่ขึ้นทะเบียน พ่อแม่ต้องระวัง!

event

ยาจุดกันยุง อันตราย

กลไกการออกฤทธิ์

สารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุงจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตกลงมาหงายท้อง นอกจากนี้สารไพรีทรอยด์ยังมีฤทธิ์ในการไล่ยุงด้วย ควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงที่มีส่วนผสมของไพรีทรอยด์จึงช่วยลดอัตราการกัดของยุงและป้องกันการรบกวนจากยุงในบริเวณที่จุดได้

ในปัจจุบันยาจุดกันยุงมีการพยายามปรับแต่งกลิ่นให้มีกลิ่นหอมเลียนแบบธรรมชาติเพื่อกลบกลิ่นเผาไหม้และกลิ่นของสารเคมี โดยทั่วไปสารไพรีทรอยด์มีความเป็นพิษต่ำกว่าสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มอื่น การใช้ยาจุดกันยุงในขนาดและวิธีการใช้ปกติมักไม่พบการเกิดพิษ

อย่างไรก็ตาม หากสูดดมควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงในปริมาณมาก เช่น อยู่ในบริเวณที่คับแคบไม่มีอากาศถ่ายเทติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นอันตรายได้ โดยความรุนแรงของอาการพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย หากได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการพิษเฉียบพลัน ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้ ส่วนอาการพิษอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ อาการแพ้ทางผิวหนัง คัน มีผื่นแดง หากเข้าตาอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

ยาจุดกันยุง อันตราย

ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดต่อสุขภาพ ผู้บริโภคควรปฏิบัติตามนี้เมื่อจะใช้ยากันยุง

  • จุดยาจุดกันยุงในห้องที่มีอากาศถ่ายเท มีการระบายอากาศได้ดีและเก็บให้มิดชิด
  • หลังจากสัมผัสยาจุดกันยุงทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาด
  • ใช้สำหรับเฉพาะการจุดไฟเพื่อให้เกิดควัน
  • จุด และวางไว้บริเวณเหนือจุดที่ต้องการไล่ยุงในทิศเหนือลม
  • การจุดต้องใช้วัสดุโลหะรองทุกครั้ง เพื่อป้องกันไฟไหม้
  • ห้ามนำเข้าปากหรือรับประทานเด็ดขาด
  • ไม่ควรใช้ขณะที่มีเด็กเล็ก แม่ท้องหรือ แม่ให้นมลูกอาศัยอยู่
  • หากมีอาการแพ้ควันให้รีบดับ และเลิกใช้
  • ไม่ควรใช้ในบริเวณที่มีอาหารหรือขณะรับประทานอาหาร
  • ควรเก็บให้ห่างจากมือเด็ก

และควรใช้ขาตั้งหรือถาดรองยาจุดกันยุงที่ทำด้วยโลหะหรือวัสดุที่ไม่ติดไฟ ขณะใช้ควรวางให้ห่างวัตถุไวไฟหรือของที่เป็นเชื้อไฟได้ เพื่อป้องกันอัคคีภัย

ทั้งนี้ หากได้รับอันตรายจากการใช้ยาจุดกันยุง หรือพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: [email protected] หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.khaosod.co.th , health.kapook.com ,www.today.jackpotded.com

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up