1. โรคไข้หวัดใหญ่
โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว อันดับแรก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง เพราะโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่าย จากการไอหรือจามรดกัน โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย หลังรับเชื้อมักมีอาการทันทีหรือประมาณ 1-2 วัน จะมีอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก อ่อนเพลีย มีน้ำมูกใส
Must read : ชวนเด็กๆ มา ล้างมือป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่กัน!
วิธีการรักษา
คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย และเมื่อมีไข้ต้องคอยเช็ดตัวทุกชั่วโมง และทานยารักษาตามอาการ แต่ถ้าไข้ขึ้นสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เมื่อไหร่ให้รีบพาลูกไปหาหมอทันที
การดูแลลูกน้อย และตัวเองให้ห่างไกล จาก ไข้หวัดใหญ่ หนึ่งใน โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว
สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเล็ก, หญิงตั้งครรภ์, คนชรา, และผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรัง ให้ไปรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้ตามโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยทั่วประเทศ นอกจากนี้ต้องไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น แก้วน้ำ, ผ้าเช็ดหน้า เช็ดตัว, ช้อน เป็นต้น และต้องปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม หรือควรใส่หน้ากากอนามัย ก่อนออกจากบ้านเมื่อเริ่มมีอาการ สุดท้ายควรให้ลูกน้อยหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกฮอลล์ และใช้ทิชชู่เปียก ทำความสะอาดพื้นผิว และสิ่งของที่มีคนสัมผัสบ่อย ๆ
◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊
2. โรคปอดบวม / ปอดอักเสบ
เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความรุนแรง เกิดจากการติดเชื้อหลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส โดยผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอมีเสมหะ น้ำมูกเปลี่ยนสีจาก สีเหลืองเป็นสีเขียวข้น เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบง่าย ซึมลง แล้วเริ่มมีไข้สูงเกิน 2 วัน ซึ่ง โรคปอดบวม มักจะพบหลังจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง หรือในคนที่โรคหอบหืด และมักเป็นกับเฉพาะกับกลุ่ม คนชรา และเด็กเล็กอายุระหว่าง 5 – 10 ขวบ หรือต่ำกว่า
Must read : โรคปอดบวมในเด็ก หาหมอช้าอาจสูญเสียอวัยวะบางส่วนได้
วิธีรักษา
โรคนี้ค่อนข้างเรื้อรัง จึงต้องระมัดระวังในการรักษา หากไม่ลูกน้อยสบาย คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเฝ้าดูอาการ อย่างใกล้ชิด ควรให้ลูกดื่มน้ำบ่อย ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่ย่อยง่าย และถ้าหากมีไข้ ตัวร้อน ให้เช็ดตัวเรื่อย ๆ แล้วทานยาลดไข้เพื่อรักษาอาการ อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าหากไม่ดีขึ้น มีอาการ ซึมลง, ไข้สูง, ทานอาหารและน้ำไม่ได้, ไอ หายใจเร็ว, หายใจมีเสียง ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะนั่นคืออาการของ โรคปอดบวมเริ่มแรก
การดูแลลูกน้อย และตัวเองให้ห่างไกล จาก โรคปอดบวม
เมื่อรู้ว่าลูกเริ่มมีอาการไข้หวัด ให้รีบรักษา และพาไปพบแพทย์สม่ำเสมอ อีกทั้งควรหมั่นดื่มน้ำอุ่น และให้ลูกอยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ที่สำคัญควรให้ลูกได้รับการฉีดวัคซีนปอดบวม ที่โรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยใกล้บ้านด้วยถ้าเป็นไปได้ สุดท้ายหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และหมั่นล้างมือทุกครั้งหลังทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือก่อนกินข้าว
3. โรคอุจจาระร่วง
อุจจาระร่วง ก็เป็น โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก “เชื้อโรต้าไวรัส” และมักพบในเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ที่พบบ่อยที่สุดคือเด็กอายุ 6- 12 เดือน เพราะเด็กในวัยนี้ กำลังเป็นวัยเรียนรู้ และชอบที่จะหยิบของทุกสิ่งเข้าปาก โดยที่เชื้อตัวนี้ จะแฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก … มักจะพบได้มากในช่วง เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ อาการของโรค คือ ลูกจะถ่ายเหลวเป็นน้ำ จะมีอาการไข้และอาเจียนร่วมด้วย มักมีก้นแดง โดยปกติแล้ว อาการถ่ายเหลวจะหายภายใน 3 – 7 วัน แต่ก็ยังต้องดูแลใกล้ชิด และสังเกตลักษณะ ของอุจจาระด้วยว่า มีเลือด หรือมูกเลือดปนออก มาด้วยหรือไม่ ถ้ามีปนออกมาแล้วมีอาการหวัดร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป
Must read : 3 มาตราการป้องกัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในเด็ก
วิธีการรักษา
หากลูกถ่ายมากจนเสียน้ำ ให้จิบสารละลายเกลือแร่ น้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ไปทั้งวันเพื่อรักษาอาการขาดน้ำ สังเกตง่าย ๆ คือเด็กจะเริ่มปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย ก็ในจิบโดยทันที แต่ถ้าเด็กไม่สามารถทานเกลือแร่ได้ ก็ต้องใช้เป็นการให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดแทน และอย่างดอาหาร เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกาย ขาดสารอาหารซ้ำเข้าไปอีก เพียงแต่เปลี่ยนอาหาร ให้เน้นอาหารจำพวกแป้ง และโปรตีน ทีละน้อย ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ ส่วนเด็กที่ยังดื่มนมอยู่ ก็ให้ดื่มนมได้ตามปกติ
การดูแลลูกน้อย และตัวเองให้ห่างไกล จาก โรคอุจจาระร่วง
ให้ความสำคัญกับสุขอนามัย ภายในบ้าน เพราะเชื้อไวรัสตัวนี้อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ให้ล้างมือทุกครั้งที่หยิบจับของสกปรก ทำความสะอาดสถานที่ ของเล่นของใช้บ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปสถานที่ที่แออัด หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือพาเด็กไปรับการหยอดวัคซีน ที่โรงพยาบาล โดยจะหยอดวัคซีนในเด็กอายุ 2 – 4 เดือน แต่ราคาของวัคซีน ตัวนี้อาจมีราคาสูง คุณพ่อ คุณแม่อาจจะต้อง พิจารณาดูตามความเหมาะสม