4. โรคหลอดลมอักเสบ
อีกหนึ่ง เป็นโรคที่อาจเกิดตามหลังไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จะมีอาการไอและไอมากตอนกลางคืน โดยระยะแรกจะไอแห้ง ๆ มีเสียงแหบและเจ็บหน้าอกมาก เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว มีไข้ อ่อนเพลีย ในเด็กอาจไอมากจนอาเจียน บางรายมีอาการคล้ายหอบหืดจากภาวะหลอดลมหดเกร็งตัว
Must read : เพราะ ควันบุหรี่ จากเสื้อพ่อ ทำลูกเหลือปอดข้างเดียว
โดยปกติโรคนี้สามารถหายได้เองภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ก็อาจลุกลามถึงขั้นปอดอักเสบได้
การรักษาเบื้องต้น คือ ให้ลูกน้อยพักผ่อนให้มาก และควรดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ เพื่อช่วยให้เสมหะระบายออกได้ง่ายขึ้น และไม่ควรให้ลูกอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอยู่ในที่ ที่มีอากาศเสียหรือฝุ่นละอองมาก ๆ
◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊
5. โรคหัด
ก็เป็นอีกหนึ่ง โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว พบมากในเด็กอายุตั้งแต่ 1-6 ขวบ ติดต่อได้จากการไอ จามรดกัน หรือได้รับละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย เข้าไป โรคหัดมักเกิดในช่วงฤดูหนาวยาวต่อช่วงฤดูร้อน อาการของ โรคหัด จะเริ่มจากมีไข้ น้ำมูก ไหล ไอ ตาแดง อาการจะรุนแรงมากขึ้น จนมีอาการปวดเมื่อยตัว ถ่ายเหลว ผื่นของไวรัสหัดจะขึ้นราววันที่ 4 หลังรับเชื้อ หลังจากนั้นไข้จะค่อย ๆ ลด เมื่อผื่นกระจายทั่วตัว ระหว่างนั้นต้องระวัง การเสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ อุจจาระร่วง สมองอักเสบ และภาวะทุพ โภชนาการ
Must read : เตือนพ่อแม่ระวัง! โรคหัดในเด็ก ระบาดหนักในเด็กแรกเกิด 4 ปี
Must read : โรคหัด – หัดเยอรมัน ต่างกันอย่างไร
โรคหัด สามารถป้องกันได้
โรคหัด ป้องกันได้ หากเด็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles Vaccine) ครบตามกำหนด โดยวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อป้องกัน คือวัคซีน Measles-Mumps-Rubella Vaccine (MMR) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella)
- ทารกสามารถรับวัคซีนได้ครั้งแรกเมื่ออายุครบ 9-12 เดือน และรับวัคซีนครั้งต่อไปเมื่ออายุ 4-6 ปี
- เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
การได้รับวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน โดย 15 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่ได้รับวัคซีนเป็นไข้ 6-12 วันหลังจากได้รับวัคซีน และเด็กอีก 5 เปอร์เซ็นต์มีอาการผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรคหัดและหายไปเอง
6. ไวรัสอาร์เอสวี
RSV (Respiratory Syncytial Virus) อีกหนึ่ง โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว ซึ่งถือเป็นโรคร้ายที่มีอาการคล้ายไข้หวัด แต่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้ ซึ่งโรคนี้จะเป็นไวรัสที่อยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
Must read : 7 ข้อ รู้ให้เท่าทัน กัน ลูกป่วย โรคRSV บ่อย!
การรักษา
โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นระบบภูมิคุ้มกันก็จะแข็งแรงขึ้นไวรัสตัวนี้ก็มีโอกาสกำเริบน้อยลง หรือแม้จะกำเริบขึ้นมาอาการก็ไม่รุนแรงอาจมีแค่ น้ำมูก เป็นไข้อ่อนๆ เท่านั้น
การป้องกัน โรค RSV
สำหรับการป้องกันโรคนี้ ทุกคนในครอบครัวสามารถช่วยกันปฏิบัติ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้ โดยการล้างมือให้ถูกวิธีหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เด็กจะต้องสัมผัสอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและทารกในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อ ทำความสะอาดบ้านไม่ควรใช้แก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะทารกที่ได้รับควันบุหรี่เข้าไปมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการที่รุนแรงได้มากกว่าจะเห็นได้ว่าการที่จะเกิดโรค ส่วนใหญ่เกิดจากตัวเราล้วนๆ ไม่ป้องกันตัวเองละเลยในเรื่องของสุขอนามัยถ้าเรารักษาตัวเองและคนในครอบครัวเป็นอย่างดีก็จะทำให้เรานั้นห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ
ทั้งนี้อย่างไรก็ดี ทางกรมควบคุมโรค เตือนว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกัน 6 โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว ได้ โดยยึดหลัก “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ได้แก่
- ปิด คือ ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ต้องใส่หน้ากากอนามัย ผ้า หรือ กระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง
- ล้าง คือ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น กลอนประตู ลูกบิด ราวบันได ราวบนรถโดยสาร
- เลี่ยง คือ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือในสถานที่แออัด มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก
- หยุด คือ เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรม แม้ลูกจะมีอาการไม่มากก็ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ
ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรค สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก :
- เด็กทารก แรกเกิด กับ 10 โรคฮิตที่พ่อแม่ต้องระวัง!
- แม่หมดห่วง 5 โรคหน้าฝน ใช้สิทธิประกันสังคม ป่วยรักษาฟรี
- เด็กป่วย ต้องป่วยแค่ไหน? ถึงหยุดเรียน
- โรคเด็ก ที่พบบ่อย โรคในเด็ก ยอดฮิต พ่อแม่ต้องระวัง
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.voicetv.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่