โรคติดเชื้อในเด็ก

หมอจุฬาฯ เตือน! 4 โรคติดเชื้อในเด็ก ที่ลูกมักติดจากเพื่อนๆ ในโรงเรียน

event
โรคติดเชื้อในเด็ก
โรคติดเชื้อในเด็ก

โรคติดเชื้อในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะที่โรงเรียน เพราะการที่เด็กๆ อยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับน้ำมูกหรือน้ำลายของเพื่อนที่เจ็บป่วย อีกทั้งมีโอกาสเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกันง่ายขึ้นด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องทราบถึงข้อมูลอาการของโรคเหล่านี้พร้อมวิธีรับมือป้องกันกับโรคติดต่อ เพื่อไม่ให้ลูกน้อยของเราป่วยจากโรคเหล่านี้ได้

แพทย์เตือน! 4 โรคติดเชื้อในเด็ก
ที่ลูกมักติดจากเพื่อน ๆ ในโรงเรียน

เด็กในวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปมักมีสุขภาพที่แข็งแรง ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีในระดับเพียงพอที่สามารถป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ได้ ซึ่งแตกต่างจากเด็กในวัยสองขวบปีแรกที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายยังไม่แข็งแรงนัก ส่งผลให้เด็กในวัย 2 ขวบปีแรก เจ็บป่วยได้บ่อยจาก โรคติดเชื้อในเด็ก เช่น โรคติดเชื้อทางระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร

อย่างไรก็ตามแม้ว่าสภาพร่างกายของเด็กในวัยเรียนจะดูแข็งแรง แต่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กมักส่งผลให้เด็กที่ฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็กและเด็กที่เข้าเรียนในชั้นอนุบาลมีอาการเจ็บป่วยได้บ่อยๆ โดยเฉพาะจาก 4 โรคติดเชื้อในเด็ก ที่ลูกมักติดจากเพื่อนๆ ในโรงเรียน ที่มีการแพร่ระบาดได้ง่ายจากเพื่อนๆ เช่น ไข้หวัด เมื่อสภาพร่างกายของเด็กและภูมิคุ้มกันของเด็กแข็งแรงขึ้น อาการเจ็บป่วยของเด็กจะค่อยๆ ห่างออกและเจ็บป่วยเพียงไม่กี่ครั้งใน 1 ปีเหมือนกับที่พบได้ในผู้ใหญ่ ดังจะเห็นได้ว่าเด็กตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ขึ้นไปจะเจ็บป่วยน้อยกว่าเด็กในวัยเตรียมอนุบาลและวัยอนุบาลอย่างชัดเจน

ดังนั้นแล้ว โรคติดเชื้อในเด็ก ที่พบบ่อยและมีความสำคัญเนื่องจากอาการของโรคมีความรุนแรงและแพร่ระบาดได้ง่ายในโรงเรียน จะมี 4 โรค ด้วยกัน คือ โรคอีสุกอีใส โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก และโรคไข้เลือดออก

โรคติดเชื้อ

โรคอีสุกอีใส 

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส เด็กที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ และมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เชื้อไวรัสที่ซ่อนตัวอยู่ในร่างกายอาจทำให้เกิดโรคงูสวัดตามมาได้ โรคอีสุกอีใสสามารถแพร่ระบาดได้บ่อยในเด็กวัยอนุบาลและวัยประถม

อาการ

เด็กที่ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสจะมีอาการไข้และผื่น ผื่นมักเป็นบริเวณลำตัว โดยเริ่มจากตุ่มแดง และเปลี่ยนเป็นตุ่มใส ตุ่มหนอง แตกออกและเป็นสะเก็ดในที่สุด มักพบตุ่มหลายลักษณะในเวลาเดียวกัน

การรักษา

เด็กที่ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสควรเช็ดตัวและกินยาลดไข้พาราเซตามอล ห้ามกินยาลดไข้ในกลุ่มแอสไพริน รักษาความสะอาดของผิวหนังบริเวณผิวหนังเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
เด็กที่ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสที่มีไข้สูงนาน มีตุ่มจำนวนมาก สงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง มีอาการไอมากหรือหอบเหนื่อย ควรพบแพทย์

บทความแนะนำ การเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกอย่างถูกวิธี

การป้องกัน

โรคสุกใสในเด็กปกติอาการมักไม่รุนแรง และหลังหายจากโรคจะมีภูมิคุ้มกันจากโรคสุกใสไปตลอดชีวิตถ้าลูกยังไม่เคยเป็นโรคนี้ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นสุกใส หรือให้วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ แต่ราคาค่อนข้างแพงและไม่สามารุป้องกันโรคได้ 100% ควรพิจารณาถึงความจำเป็นหลัก

ส่วนการลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นนั้นทำได้โดยให้เด็กที่ป่วยหยุดเรียนจนกว่าผื่นจะแห้งตกสะเก็ดหมด ซึ่งปกติใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ และหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ร่วมกันกับบุคคลที่ยังไม่เคยเป็นโรคหรือยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้

 

อ่านต่อ >> “อีก 3 โรคติดเชื้อ ที่ลูกมักติดจากเพื่อนๆ ในโรงเรียน” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up