สายตาสั้นเทียม

ระวัง! ลูกจ้องจอนาน เสี่ยง สายตาสั้นเทียม ตัดแว่นได้ไม่ตรงค่าสายตา

event
สายตาสั้นเทียม
สายตาสั้นเทียม

สายตาสั้นเทียม

สายตาสั้นเทียม แก้โดยการออกกำลังกายตา ได้จริงหรือ?

สำหรับความเข้าใจผิดที่ว่าสามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นเทียมได้โดยการออกกำลังกายตา เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยการเพ่งมองปลายนิ้วแล้วขยับเข้าออก ฯลฯ นั้น รศ.นพ.ศักดิ์ชัย อธิบายว่า… วิธีดังกล่าวไม่สามารถช่วยแก้ไขอาการสายตาสั้นเทียมได้แต่อย่างใด

การแก้ปัญหาสายตาสั้นเทียม

ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาสายตาสั้นเทียมและเพื่อไม่ให้เป็นการกีดกันการเรียนรู้ของเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องกำหนดระยะเวลาการเล่นสมาร์ทโฟนในระยะเวลาที่เหมาะสม คือ “การพักการใช้สายตา” อย่างการใช้สายตาทุกๆ 30-45 นาที ควรหยุดพักการใช้สายตาประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้ตาคลายภาวะการเพ่ง ไม่ให้เกิดอาการเพ่งค้าง

การรักษาดูแลและป้องกันตาสั้นเทียม

แนวทางการรักษาการดูแลตนเองและการป้องกันตาสั้นเทียมได้แก่

  • ลดให้ลูกมองจอหรือจ้องอ่านหนังสือที่ต้องมองใกล้ลง เพื่อลดการเพ่ง หรือมีเวลาพักสายตาเป็นระยะๆเมื่อใช้สายตาใกล้ เพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้เพ่งคลายตัวและได้พักผ่อน แพทย์บางท่านแนะนำให้ใช้สูตร 20 : 20 : 20 คือใช้งานเพ่ง 20 นาที มองไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที หรืออาจพักสายตา 1 นาทีทุกครึ่งชั่วโมง หรือบางท่านแนะนำใช้สายตา 1 ช.ม. แล้วพักสายตา 5 – 10 นาที เป็นต้น
  • ไม่ใช้สายตาเล่นเกมส์ในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ หรือเพ่งหนังสือตัวเล็กมาก ซึ่งจะกระตุ้นการเพ่ง
  • หากการเพ่งเกิดจากสาเหตุอื่นๆที่กล่าวข้างต้น ต้องรักษาที่ต้นเหตุ เช่น หากใช้ยาต้อหินในกลุ่ม Pilocarpine ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติทางตา เพื่อแพทย์ปรับเปลี่ยน เป็นยากลุ่มอื่น
  • ลดกำลังแว่นสายตาลง ให้ใช้แว่นที่มีกำลังตามค่าสายตาจริง ซึ่งในผู้ป่วยบางราย การลดกำลังแว่นลงทันทีอาจทำให้ผู้ป่วยมองไกลไม่ชัด อาจต้องลดกำลังแว่นลงทีละน้อย จนหมดกำลังของสายตาเทียมเช่น ใส่แว่นอยู่ 300 สายตาจริง 100 อาจจะลดมาเป็น 200 ก่อนแล้วค่อยๆ ลดมาถึง 100 ในภายหลัง
  • บางรายอาจต้องใช้แว่นสายตามองใกล้ (เลนส์บวก) เวลาทำงานใกล้เช่นเดียวกับผู้สูง อายุเพื่อลดอาการเพ่งชั่วคราวทั้งๆที่ยังไม่มีภาวะสายตาผู้สูงอายุ
  • บางรายแพทย์อาจต้องใช้ยากลุ่ม Cycloplegic หยอดตา เพื่อลดการเพ่งเป็นระยะๆ จน กว่าสายตาจะคงที่ ไม่มีสายตาสั้นเทียมอีก

อย่างไรก็ตามปัญหาจากการใช้สมาร์ทโฟนนั้นถือว่าหนักมากกว่าสมัยที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก เพราะคอมพิวเตอร์วางห่างจากสายตาอย่างน้อย 2 ฟุต แต่สมาร์ทโฟนอยู่ติดกับตาในระยะห่างประมาณ 15 เซนติเมตรเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเกิดการเพ่งรุนแรงกว่าและเป็นปัญหาที่เจอเยอะขึ้นเรื่อย ๆ

และไม่เพียงแต่เด็กเท่านั้น ปัจจุบันวัยรุ่น วันทำงาน กระทั่งวัยชรา ต่างมีอัตราการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ ซึ่งว่างจากการทำงานและมักหันมาใช้โซเซียลเน็ตเวิร์กในการพูดคุยกับเพื่อนฝูง ควรใช้สมาร์ทโฟนอย่างพอดี พักสายตาบ้าง เนื่องจากการมองหน้าจอนานๆ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ “ตา” ซึ่งถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญของร่างกายเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อเลี่ยงไม่ได้เพราะเป็นยุคแห่งการใช้เทคโนโลยี แต่ก็ต้องมีเส้นแบ่งของความพอดีเอาไว้ด้วย

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th และ เรื่อง ตาสั้นเทียม (Pseudomyopia) โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สกาวรัตน์ คุณาวิศรุต วว. จักษุวิทยา >> haamor.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up