พาวเวอร์แบงค์ระเบิดได้จริงหรือ?
เคยมีเหตุการณ์พาวเวอร์แบงค์ระเบิดในรถยนต์ เพราะชาร์จทิ้งไว้ และจอดรถตากแดด ทำให้เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นมา หลายคนจึงเกิดความสงสัยว่าเหตุการณ์แบบนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้จริงหรือ? ต้องบอกว่ามีสิทธิ์เกิดขึ้น
รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่าน Facebook ของตนเอง ได้ให้ความเห็นว่าเรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าหากพาวเวอร์แบงค์นั้น เป็นรุ่นเก่าที่ยังเป็นแบบ “ลิเธียมไอออน” (Li-Ion) ที่เก่าและเสื่อมคุณภาพแล้ว
อาจารย์วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยรังสิตชี้ คนไทยใช้มือถือ-Power Bank เติมแบตฯ เกินจำเป็น สร้างขยะอันตรายเพิ่ม แนะเลือกแบตสำรองไม่ดีอาจระเบิดได้ แบตเตอร์รี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อหมดสภาพการใช้งานก็จะกลายเป็นขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ ซึ่งมีขบวนการกำจัดขยะที่ยุ่งยากมากขึ้น ไม่เหมือนขยะทั่วไป
ใช้พาวเวอร์แบงค์ยังไงให้ปลอดภัย?
- เลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์ที่มีคุณภาพ โดยมีสัญลักษณ์รับรองคุณภาพ คือสัญลักษณ์ CE ย่อมาจาก European Conformity หรือ FCC ย่อมาจาก Federal Communications Commission (คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร) ซึ่งรับรองคุณภาพสินค้าได้ และไม่ควรใช้งานเกิน 2 ปี
- เลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์ที่เหมาะกับอุปกรณ์ของเรา โดยดูที่ความจุแบตเตอร์รี่บนมือถือ แล้วเลือกพาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุมากกว่า 30-50% เช่น ถ้ามือถือมีความจุ 1,000 mAh และต้องการชาร์จไฟ 1 รอบต่อวันให้เลือกพาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุ 1,300-1,500 mAh หรือถ้าต้องการชาร์จไฟ 2 รอบต่อวันก็เลือกพาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุ 2,500-3,000 mAh และเลือกซื้อสายชาร์จที่เหมาะกับอุปกรณ์ด้วย
- ควรชาร์จแบตมือถือเมื่อแบตเตอร์รี่เหลือ 30% เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของแบตเตอร์รี่ และหลีกเลี่ยงอันตรายจากความร้อนสูงเกินไป โดยไม่ควรทิ้งแบตเตอร์รี่ไว้ในที่ที่มีความร้อน เช่น ในรถยนต์ กลางแดด เพราะจะทำให้เสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ควรวางบนพื้น หรือโต๊ะธรรมดาที่ไม่ใกล้ความร้อนสูง
- อย่าชาร์จมือถือผ่านพาวเวอร์แบงค์ ถ้ากำลังชาร์จพาวเวอร์แบงค์อยู่ เพราะจะทำให้พาวเวอร์แบงค์ทำงานหนัก อายุการใช้งานจะสั้นลง และถ้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานก็อาจระเบิดได้ และไม่ควรเล่นมือถือขณะชาร์จ เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ และเมื่อชาร์จเต็มแล้วควรถอดสายออก ไม่ควรทิ้งเอาไว้
- ควรชาร์จพาวเวอร์แบงค์ให้อยู่ในสายตา เพื่อความมั่นใจ และป้องกันความเสียหายที่อาจะจะเกิดขึ้นได้ จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที แต่ถ้าเกิดระเบิดขึ้นมาจริงๆ ให้ใช้ถังดับเพลิงดีกว่าน้ำ เพราะน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า และอาจทำให้พาวเวอร์แบงค์ลัดวงจรและระเบิดมากขึ้นเป็น 2 เท่า มีถังดับเพลิงขนาดเล็กไว้ปลอดภัยกว่า
คุณพ่อ คุณแม่ก็ควรระมัดระวังเรื่องการชาร์จ “พาวเวอร์แบงค์” ใกล้ลูกน้อย เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเด็กเล็กที่เริ่มใช้กล้ามเนื้อหยิบจับสิ่งของ และเรียนรู้กับสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว ฉะนั้น อย่าชาร์จพาวเวอร์แบงค์ใกล้ลูกน้อย ถ้าพาวเวอร์แบงค์ระเบิด อาจสายเกินแก้ได้
เครดิต: เฟสบุ๊ค Nuni Supicha Frinty, เฟสบุ๊ค Jessada Denduangboripant, มหาวิทยาลัยรังสิต, cheero