นั่งคาร์ซีท ปลอดภัยหรือสิ้นเปลือง?หยุดสถิตเด็กเสียชีวิตจากความประมาทกันเถอะ - amarinbabyandkids
นั่งคาร์ซีท คาร์ซีท carseat

นั่งคาร์ซีท ปลอดภัยหรือสิ้นเปลือง?หยุดสถิติเด็กเสียชีวิตจากความประมาทกัน

Alternative Textaccount_circle
event
นั่งคาร์ซีท คาร์ซีท carseat
นั่งคาร์ซีท คาร์ซีท carseat

เลือกใช้คาร์ซีทอย่างไรให้เหมาะกับลูก

“สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกาแนะนำว่าทารกต้องนั่งคาร์ซีทหันไปด้านหลังจนอายุอย่างน้อย 2 ปี หรือจนกว่าน้ำหนักตัวเกิน 16 กิโลกรัม เพื่อป้องกันปัญหากระดูกคอเคลื่อนหากเกิดอุบัติเหตุรุนแรง”[1]

การใช้คาร์ซีทสำหรับเด็ก จะมีการแยกตามขนาด อายุ น้ำหนักของเด็ก ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยต่อตัวของเด็กๆ นั่นเอง มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง…

1. lay-flat travel infant seatRear-Facing Convertible Seats

อย่างบอกค่ะว่าลูกตั้งแต่แรกเกิดจำเป็นต้องมีคาร์ซีท ซึ่งที่นั่งสำหรับทารกจะเรียกว่า lay-flat travel infant seatRear-Facing Convertible Seats เพื่อความปลอดภัยในกรณีที่เกิดการกระแทกขึ้น ที่นั่งประเภทนี้จะใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดถึง 9 เดือน น้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม

2. Rearward-facing baby seat

เป็นที่นั่งสำหรับเด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 15 เดือน น้ำหนักไม่เกิน 13 กิโลกรัม

3. Forward-facing child seat

เป็นที่นั่งสำหรับเด็กอายุ 9 เดือน จนถึง 4 ปี น้ำหนัก 9-18 กิโลกรัม

4. Booster seat

เป็นที่นั่งสำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี หรือน้ำหนักระหว่าง 15-25 กิโลกรัม ที่นั่งประเภทนี้จะช่วยรองให้ระดับการนั่งของเด็กอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการใช้เข็มขัดนิรภัยในส่วนเบาะหลังของรถยนต์

5. Booster cushion

เป็นที่นั่งสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี หรือน้ำหนักระหว่าง 22-36 กิโลกรัม

 

บทความแนะนำ คลิก>> การติดคาร์ซีท ในรถให้ลูกนั่ง สำคัญมาก ‘แม่นานา’ฝากเตือน หลังเล่าเหตุการณ์รถบรรทุกชนท้ายรถที่ลูกนั่งอยู่

และที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรลืมเด็ดขาดเลยนั่นก็คือ ในกรณีที่ลูกอายุน้อยกว่า 2 ขวบ และน้ำหนักตัวยังไม่ถึง 9 กิโลกรัม ไม่ควรให้นั่งคาร์ซีทแบบหันไปด้านหน้ารถ เพราะกระดูกสันหลังของเด็กวัยนี้ยังไม่สมบูรณ์ เมื่อเกิดการเบรกแรงๆ หรือเกิดอุบัติเหตุ ศีรษะของเด็กจะถูกแรงเหวี่ยงของตัวรถ กระชากไปข้างหน้า ทำให้เสียชีวิต หรือเป็นอัมพาตได้

เปิดคลิปการทดสอบการเกิดอุบัติเหตุ ด้วยการให้เด็กนั่งบนตัก ไม่ใช่คาร์ซีท

มาดูความอันตรายด้วยการทดสอบการเกิดอุบัติเหตุ ด้วยการให้เด็กนั่งบนตักโดยที่ไม่มีการใช้คาร์ซีท ไม่ได้ขาดเข็มขัดนิรภัยกัน เห็นการทดสอบนี้แล้ว ผลของมันอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อคาร์ซีทเลยก็เป็นได้ การให้ลูกนั่งคาร์ซีทเท่ากับเป็นการปกป้องชีวิตลูกให้รอดปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกครั้งที่มีการขับขี่รถยนต์

 

วิธีติดตั้งคาร์ซีทอย่างถูกต้อง และปลอดภัยต่อลูกน้อย

เมื่อทราบกันไปแล้วว่าคาร์ซีทประเภทใดที่เหมาะกับลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่ ต่อมาเรามาดูวิธีการติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้งาน และให้ได้ประโยชน์กัน

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยว่า ในแต่ละปีมีเด็กวัย 1 ถึง 14 ปี ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนมากถึง 2,000 คน ในจำนวนนี้เป็นอุบัติเหตุรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตสูงถึง 700 ถึง 1,000 คน โดยการไม่ติดตั้งเบาะนิรภัย

สำหรับเด็กหรือคาร์ซีทในรถ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีเด็กต้องเสียชีวิตมากถึง 120 คนต่อปี เพราะแม้ในรถทุกคันจะมีเข็มขัดนิรภัยอยู่แล้ว แต่ร่างกายเด็กที่เหมาะสมจะใช้เข็มขัดนิรภัยแบบที่ติดมากับรถต้องเป็นเด็กที่มีอายุมากกว่า 10 ปี หรือตามขนาดตัวเด็ก แต่ยังไม่ปลอดภัยเพียงพอที่จะใช้กับเด็กที่อายุน้อยกว่านั้น การติดตั้งคาร์ซีทสำหรับเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยจากการวิจัยพบว่า คาร์ซีทช่วยลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลดการเสียชีวิตได้มากถึงร้อยละ 60 ของจำนวนเด็กที่เสียชีวิตทั้งหมด[2]

วิธีติดตั้งคาร์ซีทก่อนการใช้งาน

  1. สำหรับลูกน้อยวัยไม่เกิน 1 ปี ควรติดตั้งคาร์ซีทที่เบาะหลังคนขับ และให้ลูกหันหน้าไปด้านหลังรถ เพราะหากเกิด การเบรกรุนแรง จะช่วยปกป้องคอ ศีรษะและกระดูกสันหลังของลูก ได้ดีกว่าการนั่งแบบหันหน้าค่ะ
  2. ศึกษาคู่มือการติดตั้งและการใช้คาร์ซีทอย่างละเอียด ว่ามีจุดยึดที่ตัวคาร์ซีทกับเข็มขัดนิรภัยอย่างไร จากนั้นดึงเข็ม ขัดนิรภัยให้สุด สอดสายคาดเอวเข็มขัดยึดไว้กับตัวล็อกคาร์ซีทด้านล่างเบาะรถ
  3. ดึงสายคาดเข็มขัดนิรภัยด้านบนให้อ้อมตัวคาร์ซีทมาด้านหลัง โดยต้องยึดกับตัวล็อกหรือจุดยึดของคาร์ซีทให้ มั่นคงแข็งแรง ทดสอบดูด้วยการลองโยกหรือขยับดูว่าติดตั้งได้แน่นหรือไม่

 

พรบ.จราจรทางบก เกี่ยวกับ คาร์ซีท ที่พ่อแม่ควรรู้ไว้!!

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ออกพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ใช้รถบนท้องถนนทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร วัตถุประสงค์ในการออกกฎหมายครั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้ทุกคนคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์ ซึ่งนอกเหนือจากการบังคับให้ผู้ใหญ่ทุกคนต้องรัดเข็มขัดนิรภัยแล้ว ในส่วนของเด็ก ๆ เองก็มีการออกกฎหมายให้เด็ก ๆ ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยด้วยเช่นกัน โดยกำหนดไว้ว่า

  1. เด็กที่มีอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก
  2. เด็กที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตรต้องรัดเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง

อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่คงเริ่มเห็นถึงความสำคัญของการให้ลูกนั่งคาร์ซีทกัน เพราะนอกจากจะเห็นจากตัวอย่าง อุทาหรณ์อุบัติเหตุจริงต่าง ๆ ที่เราได้หยิบยกมาให้เห็นถึงความสูญเสียที่ยากจะย้อนกลับแก้ไขได้แล้ว ยังมีกฎหมายบังคับที่มีวัตถุประสงค์ที่ดีในการป้องกันอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียแก่ประชาชนที่เราควรปฎิบัติตาม เนื่องจากผลดีที่ได้รับจะเกิดแก่ตัวคุณ และครอบครัวของคุณเอง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก1สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ. คาร์ซีทจำเป็นไหม
2รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. “คาร์ซีท”ลดการเสียชีวิตของเด็ก. news.thaipbs.or.th

รวมบทความวิธีเลือก คาร์ซีท เพื่อลูก!!

Must Read >> วิธีเลือกคาร์ซีท ปกป้องลูกรักด้วยระบบนิรภัย ปลอดภัยทุกเส้นทาง

Must Read >> วิธีเลือกซื้อ “คาร์ซีท” ให้เหมาะกับช่วงอายุของลูก

น่าอ่าน >> รีวิวคาร์ซีท 10 แบรนด์ยอดนิยม แข็งแรง ปลอดภัยทุกการเดินทาง

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://bestreview.asia// Drama-addict  /hilight.kapook

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

10 อันดับ ยูทูปเบอร์ สำหรับเด็กที่ดูแล้วได้ประโยชน์

ลูกเราไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน มารยาท อะไรบ้าง ที่ต้องสอนลูกก่อนออกเรียนรู้โลกกว้าง

โปรแกรม วิเคราะห์ เกณฑ์ น้ำหนัก ส่วนสูง เช็กด่วนอย่าให้ลูกตกเกณฑ์

แนะนำ ของเล่น เพื่อลูก ทั้งสนุกฝึกสมองเสริมการเรียนรู้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up