คลิปจำลองเหตุรถชน 5 แบบเผยให้เห็น คาร์ซีทแรกเกิด ปกป้องลูกได้ - Amarin Baby & Kids
คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีท

คลิปจำลองเหตุรถชน 5 แบบเผยให้เห็น คาร์ซีทแรกเกิด ปกป้องลูกได้

Alternative Textaccount_circle
event
คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีท
คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีท

คาร์ซีทแรกเกิด สำหรับเด็ก ของจำเป็นที่คุณจะเห็นประโยชน์เมื่อยามเกิดอุบัติเหตุ มาดูคลิปแสดงความปลอดภัย สาธิตการชน 5 แบบแล้วจะรู้ว่าคาร์ซีทสำคัญ

คลิปจำลองเหตุรถชน 5 แบบเผยให้เห็น คาร์ซีทแรกเกิด ปกป้องลูกได้!!

คาร์ซีท (Car Seat) ของควรมีหากคุณพ่อคุณแม่ต้องการพาลูกนั่งรถ คาร์ซีทแรกเกิด ที่ใคร ๆ หลายคนต่างกังวลว่าควรมีหรือไม่ ลูกจะสามารถนั่งคาร์ซีทได้ตอนอายุเท่าไหร่ หรือเด็กเล็ก ทารกแค่ให้แม่อุ้มไว้ขณะนั่งรถก็เพียงพอแล้ว ไม่อันตรายหรอก ก่อนจะด่วนสรุปสิ่งใด ขอแนะนำให้ทุกท่านลองรับชมคลิปต่อไปนี้ คลิปดีดี ที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่มีมุมมองที่เปลี่ยนไปกับ คาร์ซีท

 

คลิปแสดงความปลอดภัยเมื่อให้เด็กทารกนั่งบนรถที่มีการชน หรือเบรคกระทันหัน โดยจำลองสถาณการณ์ 5 แบบ
  1. ไม่คาด seat belt
  2. คาด seat belt (แบบนี้จะไปอันตรายที่สมอง และกระดูกสันหลังแทน)
  3. ให้แม่ของเด็กอุ้มเอาไว้
  4. นั่ง car seat แบบหันหน้า
  5. นั่ง car seat แบบหันหลัง
ที่มา : ถึงบางอ้อกับหมอเอ

พ.ร.บ.จราจรทางบก เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งคาร์ซีท บูสเตอร์ซีท ขณะ เด็กสูงไม่เกิน 135 ซม. ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ห้ามอุ้มนั่งเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 2 พัน!!

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2565 บัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการ เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับรถยนต์ ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1) ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์

(2) คนโดยสาร

(ก) คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์

(ข) คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

(ค) คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด

ในกรณีที่ผู้ขับขี่หรือคนโดยสารมีเหตุผลทางสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งได้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง แต่บุคคลนั้นต้องมีวิธีการป้องกันอันตราย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กและที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตรายตาม (2) (ข) และวิธีการ ป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้เป็นไปตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติประกาศกำหนด

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com
คาร์ซีทแรกเกิด จำเป็น
คาร์ซีทแรกเกิด จำเป็น

8 จุดสำคัญของเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้ก่อนให้ทารกนั่งรถ มีดังนี้ 

  1. สมองและศีรษะที่เปราะบาง เด็กแรกเกิด จะมีขนาดศีรษะเท่ากับ 1 ใน 4 ของร่างกาย ถือได้ว่ามีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับ ขนาดของร่างกายโดยรวม คาร์ซีทจึงควรมีที่ปกป้องบริเวณศีรษะ
  2. ระบบหายใจที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทารกจะใช้ท้องเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่ช่วยในการหายใจ บ่อยครั้งเมื่อบริเวณท้องงอตัวหรือถูกกดทับ จะเกิดสภาวะหายใจติดขัดได้ง่าย คาร์ซีทจึงควรที่จะมีองศาการนอนที่เหมาะสม โดยองศาที่เหมาะสมอยู่ที่ 135-170 องศา
  3. กระดูกสันหลังที่ยังไม่สามารถทรงตัวได้ เด็กแรกเกิดจะมีแนวกระดูกสันหลังเป็นเส้นตรง สะโพกสามารถเคลื่อนได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควรดูแลจัดให้สรีระอยู่ในท่านั่งและนอน ที่เหมาะสมสามารถขยับแขนและขาได้ง่ายเป็นธรรมชาติ คาร์ซีทแรกเกิดจึงเป็นสิ่งที่ควรมีเพื่อช่วยปกป้องเด็กในเรื่องนี้
  4. ระบบควบคุมอุณหภูมิในร่างกายที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่เด็กแรกเกิด มีความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายต่ำ ดังนั้นการช่วยปรับอุณหภูมิแวดล้อมให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คาร์ซีทควรมีการระบายอากาศที่ดีโดยเฉพาะด้านหลังของตัวเด็ก เพราะเป็นจุดที่เหงื่อออกง่ายและมากกว่าจุดอื่น ๆ
  5. การนอนที่ยังไม่เป็นระบบ เด็กแรกเกิด จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน และเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4 จะเริ่มเรียนรู้ความแตกต่างของกลางวันกลางคืน
  6. ผิวหนังบองบางไวต่อสิ่งสัมผัส ผิวหนังของเด็กมีความหนาเพียงครึ่งเดียวของผิวผู้ใหญ่ จึงไวต่อสิ่งสัมผัสและแห้งง่าย ด้วยรูขุมขนที่ละเอียดเล็ก จึงทำให้คลายความร้อนได้ช้า มีเหงื่อออกมาก เนื้อผ้าของคาร์ซีทก็ควรที่จะปลอดภัยต่อผิวเด็ก ไม่ก่อเกิดอาการแพ้ และก็ควรระบายอากาศไม่กักเก็บเหงื่อ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว หรืออาจเกิดอาการแพ้เหงื่อตัวเอง
  7. ประสาทสัมผัสที่อ่อนแอ ทารกจะมีระยะการมองเห็นสั้นๆ สายตา การมองเห็นยังไม่ดีพอ เด็กจะรับรู้ข้อมูลส่วนใหญ่ ผ่านการสัมผัสทางด้านร่างกาย คาร์ซีทจึงควรมีหลังคาที่สามารถปิดบังแสงแดด และสามารถป้องกันรังสี UV ที่เป็นอันตรายต่อทั้งผิวและสายตาของเด็ก
  8. ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ สิ่งแวดล้อมรอบตัว เด็กแรกเกิด จะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่ติดตัวเด็กไปเป็นระยะเวลาหลายปี ทารกจะมีระยะมองเห็นสั้นๆ รับรู้ข้อมูลผ่านการสัมผัสทางด้านร่างกาย

อ่านต่อ>> เคล็ดลับวิธีการฝึกลูกให้นั่งคาร์ซีท คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up