สารเคมีรั่วไหล ไม่ทันตั้งตัวรับมือไม่ดีส่งผลระบบประสาทได้ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
สารเคมีรั่วไหล สารพิษ ปฐมพยาบาล

สารเคมีรั่วไหล ไม่ทันตั้งตัวรับมือไม่ดีส่งผลระบบประสาทได้

Alternative Textaccount_circle
event
สารเคมีรั่วไหล สารพิษ ปฐมพยาบาล
สารเคมีรั่วไหล สารพิษ ปฐมพยาบาล

สารเคมีรั่วไหล สารพิษ ปฐมพยาบาลอย่างไรดี??

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อได้รับสารพิษเข้าตา หรือผิวหนัง

  • ล้างสารพิษด้วยน้ำไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าสารพิษจะเข้าตา หรือถูกผิวหนัง ให้ล้างบริเวณที่ถูกสารเคมีจนกว่าจะได้รับการปฐมพยาบาลจากทีมแพทย์ หรือจนกว่าความระคายเคืองจะลดลง
  • ถ้าสารเคมีถูกเสื้อผ้าให้ถอดเสื้อผ้าออกก่อน
  • อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี  เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
  • บรรเทาอาการปวด และรักษาช็อก
  • ปิดแผล หรือปิดตา แล้วนำส่งโรงพยาบาล

    สารเคมีรั่วไหล สารพิษโดนผิวหนัง
    สารเคมีรั่วไหล สารพิษโดนผิวหนัง

สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อได้รับสารพิษเข้าตา หรือผิวหนัง

ไม่ควรล้างตา หรือผิวหนังบริเวณที่ถูกสารเคมีด้วยน้ำในภาชนะ เพราะสารเคมีจะยังคงอยู่ในน้ำในภาชนะนั้น ๆ และวนกลับมาโดนร่างกายได้อีก แนะนำและเน้นย้ำให้เป็นน้ำไหลผ่าน จะช่วยเจือจางสารพิษได้

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อได้รับสารพิษจากการสูดดม

  • กลั้นหายใจและรีบเปิดประตูหน้าต่าง ๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเท มีอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในห้อง ปิดท่อก๊าซ หรือขจัดต้นเหตุของพิษนั้น ๆ
  • นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ปนเปื้อนสารเคมีที่รั่วไหล ไอระเหย หรือก๊าซพิษ ไปอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท โดยผู้ช่วยเหลือต้องมีอุปกรณ์ป้องกันสารพิษให้พร้อมก่อน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายซ้ำจากผู้ที่จะเข้าไปช่วยเอง
  • ทำการประเมินการหายใจ และการเต้นหัวใจ ถ้าไม่มีให้ผายปอดและนวดหัวใจ โดยลักษณะการหายใจที่ผิดปกติ ได้แก่
    • หายใจเร็ว จังหวะการหายใจปกติ แต่มีอัตราเพิ่มขึ้น ปกติในผู้ใหญ่หายใจ 16-20 ครั้ง/นาที เด็กเกิดใหม่ 44 ครั้ง/นาที ภาวะที่หายใจเร็ว ได้แก่ ภาวะที่มีไข้ คอพอก เป็นพิษ ขาดออกซิเจน โรคของเนื้อปอด
    • หายใจช้า มักเกิดจากศูนย์การหายใจถูกกด จากยา หรือสารพิษหรือความดันในสมองเพิ่มขึ้น
    • หายใจลึก สม่ำเสมอ อัตราการหายใจอาจจะปกติ ช้าหรือเร็วก็ได้ มักพบในภาวะกรดจากเมแทบอลิซึม
    • หายใจแบบถอนใจ การหายใจที่มีความสม่ำเสมอ แต่มีการถอนหายใจลึกๆ เป็นระยะๆ มักพบในโรคทางระบบประสาท ในคนปกติก็มีการถอนหายใจได้ แต่ไม่สม่ำเสมอ
  • นำส่งโรงพยาบาล

สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อได้รับสารพิษจากการสูดดม

หากเราพบเห็นเหตุการณ์ พบผู้ที่ได้รับสารพิษจากการสูดดม แต่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันใด ๆ แนะนำให้โทรแจ้ง 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่มีบุคลากรที่พร้อมที่จะช่วยเหลือได้มากกว่า

วิธีการเก็บสารเคมีที่เป็นพิษ

โดยปกติแล้วการเก็บสารเคมีทุกชนิด จะมีหลักการทั่ว ๆ ไป ดังนี้

  1.  สถานที่เก็บสารควรเป็นสถานที่ปิดมิดชิด อยู่ภายนอกอาคาร ฝาผนังควรทำด้วยสารทนไฟ (กันไฟ) ปิดล็อคได้ และมีป้ายบอกอย่างชัดเจนว่า “สถานที่เก็บสารเคมี”
  2. ภายในสถานที่เก็บสารเคมี ควรมีอากาศเย็นและแห้ง มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี และแดดส่องไม่ถึง
  3. ชั้นวางสารเคมีภายในสถานที่เก็บสารเคมีต้องมั่นคง แข็งแรง ไม่มีการสั่นสะเทือน
  4. ภาชนะที่บรรจุสารเคมี ต้องมีป้ายชื่อที่ทนทานติดอยู่พร้อมทั้งบอกอันตราย และข้อควรระวังต่างๆ
  5. ภาชนะที่ใส่ต้องทนทานต่อความดัน การสึกกร่อนและแรงกระแทกจากภายนอก ควรมีภาชนะสำรอง ในกรณีที่เกิดการแตกหรือภาชนะรั่วจะได้เปลี่ยนได้ทันที
  6. ภาชนะเก็บสารที่ใหญ่ และหนักไม่ควรเก็บในที่สูง เพื่อจะได้สะดวกในการหยิบใช้
  7. ขวดไม่ควรวางบนพื้นโดยตรง หรือไม่ควรวางช้อนบนขวดอื่นๆ และมีระยะห่างกันพอสมควรระหว่างชั้นที่เก็บสาร ไม่ควรวางสารตรงทางแคบ หรือใกล้ประตูหรือหน้าต่าง
  8. ควรเก็บสารตามลำดับการเข้ามาก่อนหลัง และต้องใช้ก่อนหมดอายุ ถ้าหมดอายุแล้วต้องทำลายทันที  ห้ามใช้โดยเด็ดขาด
  9. ควรแยกเก็บสารเคมีในปริมาณน้อยๆ โดยใช้ภาชนะบรรจุขนาดเล็ก บริเวณที่เก็บสารควรรักษาความสะอาด และให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดเรียงอย่างมีระบบ
  10. ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ป้องกันภัย และเครื่องปฐมพยาบาลพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
สารเคมีรั่วไหล เกิดอาการแพ้ให้รีบพาผู้ป่วยพบแพทย์
สารเคมีรั่วไหล เกิดอาการแพ้ให้รีบพาผู้ป่วยพบแพทย์

โดยหากเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุอันไม่คาดฝันจาก สารเคมีรั่วไหล ที่อาจก่อให้เกิดสารพิษทำลายร่างกายได้ ถ้าเราอยู่ในบริเวณใกล้เคียง หรือได้รับผลกระทบ ควรรีบอพยพออกมาจากจุดเกิดเหตุจะเป็นการดีที่สุด แต่หากไม่สามารถทำได้โดยทันที ควรรีบเข้าบ้าน ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด สวมใส่หน้ากากป้องกันสารเคมีที่มีชั้นกรองคาร์บอน หรือหากหาไม่ได้ให้ใส่หน้ากากอนามัยสองชั้น และติดตามข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมความพร้อมอยู่เสมอหากมีการประกาศอพยพ และควรเข้ารับการคัดกรองสุขภาพ และประมินสุขภาพอย่างใกล้ชิดต่อไป เพื่อสุขภาพระยะยาว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก รศ.พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และศูนย์พิษวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล Mahidol Channel
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.komchadluek.net /www.shawpat.or.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ความประมาท อันตรายกว่าที่คิดเปิดวินาทีช็อกที่นอนทับลูก

3 วิธีเอาตัวรอด จากภัยร้ายที่พบบ่อยสำหรับ “เด็กเล็ก”

คนหาย เด็กหาย AMBER Alert ฟีเจอร์ช่วยหาก่อนเกิดเหตุร้าย

10 วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้ พ่อแม่ต้องรู้ไว้เอาไปสอนลูก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up