ข้อพึงระวังในการช่วยชีวิตเมื่อ “สำลักอาหาร”
- ไม่แนะนำให้ใช้นิ้วมือกวาดไปในลำคอเด็ก เนื่องจากอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมเคลื่อนตัวไปสู่ตำแหน่งที่มีการอุดกั้นมากขึ้น
- วิธีของ Heimlich ดังกล่าวควรใช้ในกรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์เท่านั้นและผู้ช่วยเหลือควรมีความชำนาญพอสมควร ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังพอมีสติ หายใจเองได้ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลมากกว่า เนื่องจากการตัดสินใจใช้วิธีดังกล่าวในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจอย่างสมบูรณ์ อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแพทย์พิจารณาให้การรักษา และนำสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจด้วยวิธีที่เหมาะสม ปลอดภัย ได้แก่การดมยาสลบและใช้กล้องส่องตรวจทางเดินหายใจ
- สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก อาจมีอาการไม่ชัดเจนและเกิดผลแทรกซ้อนเช่นปอดอักเสบ หอบหืด หลังการสำลักนานเป็นวันถึงสัปดาห์ได้ พี่เลี้ยงเด็กหรือตัวเด็กเองอาจกลัวถูกตำหนิหรือทำโทษจึงปกปิดประวัติการสำลักสิ่งแปลกปลอมไว้
เรามีคลิปวิดิโอดี ๆ จาก WeMahidol เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น และสามารถปฎิบัติได้ถูกวิธี เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินในการช่วยเหลือเมื่ออาหารติดคอมาฝากกัน ขอขอบคุณคลิปสาระดี ๆ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกสำลักอาหาร
- การจัดท่า : ท่าที่เหมาะสมในการกินอาหารคือให้เด็กนั่งตัวตรง ศีรษะอยู่แนวกึ่งกลางตั้งตรง งอข้อสะโพก 90 องศาให้แนบชิดกับมุมด้านในของเก้าอี้ งอเข่าและข้อเท้า 90องศา ฝ่าเท้าวางแบนราบกับที่วางเท้า (วิธีการกินข้าวที่เหมาะสมควรให้เด็กนั่งเก้าอี้ และไม่ควรป้อนเด็กในขณะที่เด็กกำลังวิ่งเล่น)
- ระวังของเล่น : ระวังของเล่นที่มีสีหลุดลอกง่าย หรือของเล่นที่มีลักษณะกลม เช่น ลูกปัด เพราะนอกจากจะทำให้สำลักแล้ว ยังเสี่ยงหลุดติดคอได้อีกด้วย
- อาหาร : เด็กอาจจะไม่ชอบอาหารบางชนิด ทำให้เด็กไม่กลืน และคายออกมา อาจจะทำให้สำลักได้ เลือกชนิดและขนาดของอาหารที่เหมาะสมให้แก่เด็กในวัยต่างๆ เพื่อป้องกันการสำลักอาหารและไม่ควรป้อนอาหารเด็กในขณะที่เด็กกำลังวิ่งเล่นอยู่
- ลักษณะอาหาร : ไม่ควรให้เด็กรับประทาน อาหารที่มีลักษณะเป็นเส้น มีขนาดกลม ลื่นและแข็ง เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก รวมไปถึงปลาที่มีก้าง เนื้อสัตว์ที่ติดกระดูก ผลไม้ที่มีเมล็ด ในกรณีผลไม้หากอยากให้ลูกทาน ควรเอาเมล็ดออก และหั่นเป็นชิ้นเล็กพอดีคำที่เด็กสามารถเคี้ยวได้
- สำหรับในผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเรื่องฟัน จะต้องปรึกษาทันตแพทย์เพื่อจัดหาฟันปลอมที่เหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ต้องบดเคี้ยวรุนแรงมาก ขนาดชิ้นอาหารที่พอเหมาะ และควรถอดฟันปลอมออกก่อนเข้านอน
คำแนะนำในกรณีที่เกิดการสำลักสิ่งแปลกปลอม
- รับนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที
- งดน้ำ งดอาหารผู้ป่วยทันทีที่เกิดการสำลัก
- กรณีเป็นเด็ก ให้สอบถามผู้อยู่ในเหตุการณ์ว่า เด็กเกิดการสำลักในขณะทำอะไรอยู่ เช่นกินอาหาร ขนม เล่นของเล่น เป็นต้น พร้อมทั้งนำตัวอย่างของอาหาร ขนม สิ่งแปลกปลอมที่สงสัยมาด้วยเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาของแพทย์
CPR ด่วน! ช่วยลูกน้อยจากการสำลักอาหาร
หากเกิดเหตุการณ์รุนแรง เมื่อ ลูกสำลักอาหาร แล้วถึงขั้นเด็กแน่นิ่ง หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ คุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีในการทำ CRP เด็กไว้ เพื่อช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างทันท่วงที เป็นวิธีรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่ทุกคนควรรู้ไว้
- ใช้ส้นมือกดส่วนล่างของกระดูกหน้าอกของเด็ก ใต้เส้นหัวนม ดันเข้าไปประมาณ 2 นิ้ว ทำสิ่งนี้อย่างรวดเร็ว 30 ครั้ง การดำเนินการนี้ควรใช้เวลาประมาณ 20 วินาที
- ให้การช่วยหายใจ 2 ครั้ง ค่อยๆ ยกคางของเด็กขึ้นด้วยมือข้างหนึ่งแล้วเอียงศีรษะไปข้างหลัง วางปากของคุณเหนือปากของเด็ก บีบจมูกแล้วพ่นลมหายใจเข้าปากของเด็ก 2 ครั้ง การหายใจแต่ละครั้งควรใช้เวลา 1 วินาที ดูเพื่อดูว่าหน้าอกของเด็กเพิ่มขึ้นหรือไม่
- ถ้าหน้าอกไม่ขึ้น ให้กดหน้าอก 30 ครั้ง มองเข้าไปในปากของเด็กเพื่อหาสิ่งของ นำวัตถุออก ระวังอย่าดันกลับเข้าไปในลำคอ หากคุณมองไม่เห็นสิ่งของ อย่าเอานิ้วเข้าปากเด็ก
- หากเด็กไม่เริ่มหายใจ ให้ดันหน้าอกต่อ 30 รอบ ตามด้วยการหายใจเร็ว 2 ครั้ง ทำเช่นนี้จนกว่าเด็กจะหายใจได้เอง
การสำลักอาหาร อาหารติดคอ แม้ดูว่าจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ไม่เลือกเวลา ดังนั้นการเตรียมพร้อม ศึกษาวิธีการช่วยเหลือจึงเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญที่ทุกคนควรรู้ เมื่อยามฉุกเฉินจะสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้อย่างมาก
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.pptvhd36.com/www.si.mahidol.ac.th/www.pobpad.com
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ที่เที่ยวสำหรับเด็ก ปิดเทอมนี้ ทั้งสนุก ได้เรียนรู้ ใกล้กรุง!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่