รวม "การปฐมพยาบาลเบื้องต้น" ให้ลูกน้อย ที่ถูกต้อง! - amarinbabyandkids
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

รวม “การปฐมพยาบาลเบื้องต้น” ให้ลูกน้อยที่ถูกต้อง…ที่พ่อแม่ควรรู้!

event
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

หลักทั่ว ๆ ไปใน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะไปดูเรื่องวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจกับหลักของการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อน ดังนี้

  1. คุณพ่อคุณแม่ ต้องมีสติไม่ตื่นเต้นตกใจหรือหวาดกลัวสิ่งที่พบจนทำอะไรไม่ถูก
  2. ห้ามไม่ให้คนมุงล้อม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี และทำการพยาบาลได้สะดวก
  3. สังเกตอาการของลูก สังเกตชีพจร การหายใจตลอดเวลาหากจำเป็นต้องผายปอดหรือปั๊มหัวใจจะได้ทำได้ทันที
  4. ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามอาการที่เกิดทันที โดยใช้วัสดุเท่าที่จะหาได้รอบๆ บริเวณที่เกิดเหตุ
  5. หลังจากการปฐมพยาบาลแล้ว รีบนําลุกส่งโรงพยาบาลโดยการเคลื่อนย้ายลูกน้อย ต้องทำอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่จะเพิ่มมากขึ้น

กล่องใส่เครื่องมือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ที่บ้านควรมีกล่องปฐมพยาบาลเตรียมพร้อมไว้ เวลาที่ลูกเกิดอุบัติเหตุจะได้นำมาใช้ทันท่วงที กล่องนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถทำง่ายๆ จากกล่องใส่รองเท้าใหม่ๆ ที่ซื้อมาจากร้าน เอารองเท้าไปใช้ ส่วนกล่องใส่เครื่องเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการปฐมพยาบาลได้อย่างสบาย หรือจะเป็นพวกกล่องพลาสติกอย่างกล่องไอศกรีมขนาดบรรจุไอศกรีม 2 ลิตร เป็นขนาดที่พอดี ควรเก็บกล่องปฐมพยาบาลให้พ้นมือเด็ก แต่ง่ายต่อการหยิบใช้ สิ่งที่ควรใส่กล่องไว้ ดังนี้

  1. ผ้ากอสและสำลีที่ฆ่าเชื้อโรคเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งพลาสเตอร์ และผ้าพันแผล
  2. พลาสเตอร์ยา ขนาดใหญ่และเล็ก
  3. ผ้ายืด ขนาดต่างๆ สัก 3-4 ม้วน
  4. เข็มกลัดซ่อนปลาย
  5. ยาฆ่าเชื้อ และยาใส่แผลสด (ควรให้เภสัชกรแนะนำชนิดใช้กับเด็ก)
  6. กรรไกร ปากคีบปลายแหลมและปลายมน แบบมีเขี้ยวและไม่มีเขี้ยว
  7. ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล
  8. ม้วนผ้าขนาดเล็ก
  9. เทอร์โมมิเตอร์
  10. ครีมสำหรับทาแมลงกัดต่อย

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่ถูกวิธีให้ลูกน้อย

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ประเภทของการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับลูกน้อยที่สำคัญ (มักเกิดขึ้นบ่อย) มีดังนี้

บาดแผล

ลูกอาจจะเกิดบาดแผล จากการหกล้ม แผลถลอกเล็กน้อยไปจนถึงบาดแผลที่ใหญ่ที่เกิดจากของมีคมทำให้เลือดออกมาก จึงควรปฐมพยาบาลตามลักษณะของบาดแผล ดังนี้

  1. แผลถลอก หากมีเศษหินดินติดอยู่ ควรล้างทำความสะอาดบาดแผลด้วย น้ำสะอาดและสบู่ แล้วทายารักษาแผลสด หรือใส่ยาแดง พร้อมปิดแผลด้วยผ้าขาวสะอาดหรือ ผ้าก๊อซที่ฆ่าเชื้อแล้ว ถ้าแผล เป็นแผลตื้นๆ มีเลือดตื้นๆ มีเลือดซิบๆ เท่านั้นทายาแล้วไม่ต้องปิดแผล
  2. แผลถูกแทง เช่น ไม้เสียบลูกชิ้นแทง หรือเหล็กแหลมแทงถ้าแทงเพียงตื้นๆ และไม่เป็นไม้เล็กๆ ให้ดึงออกแล้วห้ามเลือด เมื่อเลือดหยุดใช้ยาใส่แผลเหมือนแผลถลอก ถ้าไม้ที่แทงเป็นไม้ที่ค่อนข้างใหญ่ และแทงเข้าลึก ห้ามดึงไม้ออกเด็ดขาด ให้รีบนําลูกไปโรงพยาบาลทันที โดยระวังไม่ให้แผลถูกกระทบไม่ฝังลึกเข้าไปอีก
  3. แผลแตก เช่น หกล้มหัวแตก ชนกันหัวแตก ให้ห้ามเลือดขณะที่กดแผลไว้ แล้วรีบนําลูกส่งโรงพยาบาลไปพร้อมๆ กันเพื่อเย็บแผล
  4. แผลถูกของมีคมบาด เช่น มีดบาด ของเล่นแตกบาด โดยมากมักจะมีเลือดออก ต้องห้ามเลือดก่อนเช่นกัน ซึ่งถ้าเป็นแผลเล็กๆ และของที่บาดไม่สกปรก ไม่จำเป็นต้องพาลูกไปโรงพยาบาล เพียงแค่ใส่ยาเหมือนแผลถลอก แต่ถ้าเป็นแผลใหญ่เมื่อห้ามเลือดแล้ว ต้องนําลูกไปโรงพยาบาลทันที

 

อ่านต่อ >> การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่ถูกวิธีให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up