รักษาฟรี ผู้ป่วยฉุกเฉิน …ตามนโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิ์ทุกที่” กำหนดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่ง เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก
รักษาฟรี ผู้ป่วยฉุกเฉิน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560
โดยกรม สบส.ได้ทำหนังสือแจ้งเวียนไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป หน่วยงานภาครัฐ /รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศซึ่งขณะนี้ขึ้นทะเบียนกับกรม สบส.จำนวน 347 แห่ง เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ประชาชนทุกคนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ จะได้รับการดูแลช่วยชีวิตอย่างทันท่วงที และเท่าเทียมกัน มีมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งมีทั้งการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติจากอุบัติเหตุและจากโรคประจำตัวกำเริบ มีโอกาสรอดชีวิตและได้รับการดูแลจนปลอดภัยใน 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2559 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ขณะนี้กฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย
1.ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย การกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน
2.ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินและการระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมการช่วยเหลือเยียวยาและจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น
3.หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นไป
โดยเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว (1 เมษายน 2560) ระบุใจความว่า
อ่านต่อ >> “ข้อรู้ก่อนใช้สิทธิ ป่วยวิกฤตรักษาฟรี 72 ชม.” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่