ทั้งนี้เพราะเนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นเท่าตัว จึงได้มีประสานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ สายด่วน 1669 ให้พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินไว้ในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแล้ว โดยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0-4 นาที
ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและให้การตรวจรักษาทันที ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะใช้สัญลักษณ์ “สีแดง” ดังตัวอย่าง เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น ภาวะหยุดหายใจ ภาวะช็อกจากการเสียเลือดรุนแรง ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว รวมถึง อาการซึม หมดสติ ไม่รู้สึกตัว อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่มีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด อาการทางสมองจากหลอดเลือดสมองตีบตันทันทีมีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เป็นต้น
ซึ่งทางด้านศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิฯ ยังได้จัดทำข้อมูลเผยแพร่ในชื่อชุด 9 ข้อควรรู้ก่อนใช้สิทธิ์ UCEP ให้ประชาชนไว้ใช้ศึกษาก่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนใช้สิทธิ UCEP ซึ่งชุดข้อมูลมีรายละเอียดดังนี้
(ขอบคุณข้อมุลและภาพจาก : www.manager.co.th)
อ่านต่อ >> “หลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดง 25 กลุ่มอาการ” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่