สวม หมวกกันน็อก ให้ลูกทุกครั้งที่ขับขี่ ลดเจ็บ ลดตายได้!! - Amarin Baby & Kids
ใส่ หมวกกันน็อก ให้ลูกลดเจ็บลดตาย

สวม หมวกกันน็อก ให้ลูกทุกครั้งที่ขับขี่ ลดเจ็บ ลดตายได้!!

Alternative Textaccount_circle
event
ใส่ หมวกกันน็อก ให้ลูกลดเจ็บลดตาย
ใส่ หมวกกันน็อก ให้ลูกลดเจ็บลดตาย

อุบัติเหตุบนท้องถนน สาเหตุการตายอันดับ2 ของเด็กไทย แต่พ่อแม่กลับป้องกันอุบัติเหตุให้ลูกด้วยการใส่ หมวกกันน็อก เพียงแค่ 7% มาร่วมกันลดเจ็บลดตายง่าย ๆเพียงใส่

สวม หมวกกันน็อก ให้ลูกทุกครั้งที่ขับขี่ ลดเจ็บ ลดตายได้!!

ผลการจัดอันดับรายงานการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกปี พ.ศ.2558 โดยองค์การอนามัยโลกพบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 2 ของโลก (36.2 คนต่อประชากร 100,000 คน) และสูงเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มอาเซียน

อุบัติเหตุทางถนน เป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่  องค์การอนามัยโลกระบุว่าในแต่ละปีอุบัติเหตุทางถนนได้คร่าชีวิตเด็กไปจำนวนมาก เฉลี่ยวันละ 500 คน หรือในทุก 3 นาทีจะมีเด็ก 1 คนตายจากอุบัติเหตุทางถนน

สำหรับในประเทศไทย สาเหตุการตายของเด็กไทยอันดับหนึ่ง คือ จมน้ำ ส่วนอุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการตายของเด็กอันดับสองของเด็กไทย  โดยมีประมาณ 1,000 รายต่อปี สาเหตุหลักที่ครองแชมป์ยังคงเป็นรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งมีปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดเหตุร้าย ดังนี้

  • การขับขี่ก่อนวัย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ว่าห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีขับขี่มอเตอร์ไซค์ แต่ก็ยังมีการฝ่าฝืนอยู่มาก
  • เมาแล้วขับ
  • ขับรถเร็วเกินกำหนด
  • ไม่สวมหมวกกันน็อก ซึ่งตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าให้ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสารต้องสวมหมวกกันน็อก
อุบัติเหตุบนท้องถนน สาเหตุการตายอันดับสองของเด็ก
อุบัติเหตุบนท้องถนน สาเหตุการตายอันดับสองของเด็ก

หากจะพูดถึงการลดความสูญเสียของอุบัติเหตุบนท้องถนนสำหรับเด็กแล้ว นอกจากความจริงจังในการส่องสอดดูแลลูกไม่ให้คึกคะนองขับขี่เร็ว และก่อนวัยอันควรแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับเด็ก นั่นก็คือ การไม่สวมหมวกกันน็อก โดยเฉพาะในเด็กเล็กด้วยแล้วนับเป็นความรับผิดชอบ ดูแลของผู้ปกครอง พ่อแม่โดยตรง

การสำรวจของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก พบว่า ผู้โดยสารเด็กไม่สวมหมวกกันน็อกถึงร้อยละ 93.2 สอดคล้องกับข้อมูลของ Save the Children ที่เปิดเผยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกว่า มีเด็กไทยมากกว่า 2,600คน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน และมากกว่า 72,000 คนได้รับบาดเจ็บ อย่างไรก็ตามมีเพียง 7% ของเด็กเท่านั้นที่สวมใส่หมวกกันน็อกเมื่อโดยสารรถมอเตอร์ไซค์

นพ.วิทยา ชาญบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลกด้านการร่วมมือป้องกันอุบัติเหตุ และประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุระดับจังหวัด (สอจร.) แนะผู้ปกครองสวมหมวกกันน็อก อุปกรณ์สำคัญลด เจ็บ ตาย ชี้ให้เด็กซ้อนหลังผู้ขับขี่ ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้มากกว่านั่งหน้าผู้ขับขี่

นพ.วิทยา ยังได้กล่าวต่อว่าข้อมูลจากรายงานอัตราการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยปี 60 โดยมูลนิธิไทยโรดส์ พบว่า ผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ทั้งผู้ขับและผู้ซ้อน สวมหมวกเพียง 43% และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุพบว่า ผู้ใหญ่สวมหมวกกันน็อกเพียง 46% วัยรุ่น 18% และเด็กเพียง 7%  ซึ่งอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนของไทยยังคงสูงมาก โดยเฉพาะจากรถจักรยานยนต์มีถึง 80% ในจำนวนนี้ 15% หรือประมาณ 2500 ราย คืออัตราการตายของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เนื่องจากหากกล่าวถึงสรีระวิทยา ศีรษะของเด็กมีขนาด 20-30% เมื่อเทียบกับสัดส่วนของร่างกาย มากกว่าผู้ใหญ่ที่มีสัดส่วนศีรษะต่อร่างกาย 5-10% ดังนั้นการสวมหมวกกันน็อกให้แก่เด็กจึงช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสีย และบาดเจ็บได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลอ้างอิงจาก เดลินิวส์
ส่งลูกไปโรงเรียนใกล้บ้านจึงละเลยใส่ หมวกกันน็อก
ส่งลูกไปโรงเรียนใกล้บ้านจึงละเลยใส่ หมวกกันน็อก

เพียง 7% ของพ่อแม่ที่ใส่ใจความปลอดภัยลูก

จากสถิติจะเห็นได้ว่า คนไทยยังไม่ให้ความสำคัญกับการสวมหมวกกันน็อกให้แก่ลูก โดยมีเพียง 7% เท่านั้น ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับสถิติการสูญเสีย และบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสำหรับเด็ก แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศหนึ่งที่นิยมใช้รถจักรยานยนต์ในการไปรับส่งลูกไปโรงเรียน โดยบางบ้านเข้าใจผิดว่าการให้เด็กนั่งซ้อนไปในระยะทางไม่ไกล จึงไม่เห็นความสำคัญ หรือในบางครั้งก็เกิดจากที่ตัวเด็กเองที่ไม่ยอมใส่หมวกกันน็อก แล้วพ่อแม่ก็ตามใจเสียด้วย เรามาดูคำตอบในเรื่องนี้จากคุณหมอมินบานเย็น แอดมินเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา ที่ได้ให้ไว้กับทางเพจ Toolmorrow ดังนี้

แน่นอนว่าอาการเอาแต่ใจของเด็กๆ เป็นอาการที่พ่อแม่ไม่อยากพบเจอกันอยู่แล้ว เรื่องไหนที่ยอมลูกได้ก็ยอมกันไป แต่หากลูกดันเอาแต่ใจในเรื่องที่ทำให้ความปลอดภัยในชีวิตของลูกคุณลดลงล่ะ คุณยังจะตามใจอีกเหรอ?

Toolmorrow จึงได้ต่อสายตรงไปถึงพ.ญ. เบญจพร ตันตสูติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อหมอมินบานเย็น แอดมินเพจ

เข็นเด็กขึ้นภูเขา

ให้มาช่วยไขข้อสงสัยว่าทำไมพ่อแม่ถึงตามใจลูกจนเคยชิน และแนะนำทริคดีๆ ไว้ใช้โน้มน้าวลูกให้สวมหมวกกันน็อกกันครับ

1. ทำไมพ่อแม่ถึงตามใจลูก เมื่อลูกไม่อยากสวมหมวกกันน็อกเพราะอึดอัด
– เป็นธรรมดาของพ่อแม่ที่อยากตามใจลูก ไม่อยากให้ลูกโกรธ โดยเฉพาะพ่อแม่เดี๋ยวนี้ที่มีความรักให้แต่ขาดระเบียบวินัย ไม่ได้ฝึกมาตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ และตามใจมาจนเคยชิน แยกแยะไม่ได้ว่าเรื่องบางเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยและไม่ควรตามใจจึงตามใจเรื่องนี้
2. การตามใจลูกแบบนี้ถือเป็นสิ่งที่ดีไหม
– ไม่ดี เพราะเป็นเรื่องความปลอดภัย มีความสำคัญมาก ถ้ามีอุบัติเหตุเด็กอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
3. พ่อแม่ควรตระหนักเรื่องไหนมากที่สุด
– ความปลอดภัย
4. สิ่งใดที่พ่อแม่ควรทำกับลูก หากต้องการให้ลูกสวมหมวกกันน็อก
– พ่อแม่ควรบอกเขาว่าลูกจะต้องสวมหมวกกันน็อก ไม่มีข้อยกเว้น ถ้าเขาไม่อยากสวมหมวกกันน็อก ก็ไม่สามารถนั่งมอเตอร์ไซค์ได้ค่ะ ชมเชยถ้าเขายอมสวมหมวกกันน็อกถือเป็นการสร้างแรงเสริมทางบวก ในทางกลับกันสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ คือ การตามใจ ไม่ฝึกกฎระเบียบ พ่อแม่ต้องไม่ตามใจมากไป ควรฝึกเขามาตั้งแต่เด็กๆ ควบคู่กับให้ความรักและเอาใจใส่อย่างสมดุล
5. แนะนำเทคนิคการโน้มน้าวใจลูกให้สวมหมวกกันน็อกขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์หน่อย
– ลองหาหนังสือนิทาน การ์ตูนให้ดูเรื่องเด็กสวมหมวกกันน็อก พ่อแม่ต้องสวมหมวกกันน็อกให้ดูเป็นตัวอย่างที่ดี ชมเชยถ้าเขายอมใส่ เขามักจะทำตามที่พ่อแม่ชอบอยู่แล้ว สร้างเป็นทางเลือกให้เขา ว่าถ้าจะออกไปนั่งมอเตอร์ไซค์ก็ต้องสวมหมวกกันน็อก ถ้าไม่สวมหมวกกันน็อกหนูต้องอยู่บ้าน
ได้รับคำตอบจากคุณหมอกันไปแล้ว อยากขอย้ำอีกครั้งว่า ในเรื่องความปลอดภัย พ่อแม่ไม่ควรตามใจลูก ยังไงควรยืนกรานที่จะต้องให้ลูกใส่หมวกกันน็อกแม้จะไม่ชอบก็ตาม อย่างไรก็ดีคุณหมอยังได้ให้วิธีการโน้มน้าวใจลูกไว้ว่า นิทาน การ์ตูน สื่อต่าง ๆที่ชี้ให้เห็นโทษของการไม่สวมหมวกกันน็อกมาให้ลูกดู และที่สำคัญคำชมของคุณพ่อคุณแม่ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกันที่จะช่วยให้ลูกยอมทำตาม วันนี้ทาง ทีมแม่ ABK จึงได้ขอหยิบยกคลิปที่น่าสนใจเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการสวมหมวกกันน็อกมาเป็นทางอีกทางเลือกหนึ่งในการโน้มน้าวลูกให้เห็นถึงประโยชน์จากการสวมใส่มาให้ชมกันด้วย

ขอขอบคุณคลิปจาก csip.org

หมวกกันน็อคสำหรับเด็ก

การเลือกหมวกกันน็อกให้พอดีกับขนาดของศีรษะลูกก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน เพราะนอกจากในเรื่องของความปลอดภัยแล้ว การสวมใส่ให้สบายก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ลูกยอมใส่อีกด้วย โดยหมวกกันน็อกแบ่งออกได้เป็น 3 ขนาด ดังนี้

  • สำหรับเด็ก 2 – 5 ขวบ ขนาดหมวกกันน็อคที่เหมาะสมควรมี เส้นผ่าศูนย์กลาง 500 มิลลิเมตร
  • สำหรับเด็ก 6 – 9 ขวบ ขนาดหมวกกันน็อคที่เหมาะสมควรมี เส้นผ่าศูนย์กลาง 530 – 540  มิลลิเมตร
  • สำหรับเด็กโตอายุ 10 – 15 ขวบ ขนาดหมวกกันน็อคที่เหมาะสมควรมี เส้นผ่าศูนย์กลาง 570 – 580 มิลลิเมตร

สวมหมวกกันน็อกอย่างไร?

นอกจากขนาดที่ต้องเลือกให้พอดีกับขนาดศีรษะแล้ว วิธีการใส่หมวกให้ถูกต้องก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรเรียนรู้ โดยมีวิธีใส่ที่ถูกต้อง ดังนี้

  • สวมให้พอดีกับศีรษะ ไม่หลวก หรือคับจนเกินไป
  • เลือกหมวกที่มีเครื่องหมาย “มาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และชื่อบริษัทผู้ผลิต
  • คาดล็อคสายรัดคาง และปรับให้กระชับแน่นพอดี ป้องกันหมวกหลุดจากศีรษะ
หมวกกันน็อก ลดเจ็บ ลดตาย
หมวกกันน็อก ลดเจ็บ ลดตาย

เด็กควรนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์หรือไม่??

  • วัยทารก (1 เดือน – 2 ปี)

วัยทารกถือเป็นวัยที่ยังไม่สมควรนั่งมอเตอร์ไซค์ ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่จะอุ้มไว้ก็ตาม แต่คุณอย่าลืมว่าวัยทารกเป็นวัยที่ยังไม่รู้เรื่อง หากเกิดอุบัติเหตุเด็กวัยนี้ยังไม่รู้วิธีเอาตัวรอด หรือวิธีที่ทำให้ตัวเองบาดเจ็บน้อยที่สุด รวมถึงพ่อแม่ที่อุ้มลูก มือหนึ่งคุณอุ้มน้อง แต่อีกมือหนึ่งก็ต้องยึดจับ ทำให้มีโอกาสเสียสมดุลในการทรงตัว และทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อีกทั้งผ้าคลุมยาว ๆ อาจไปเกี่ยวกับล้อมอเตอร์ไซค์ จนทำให้เด็กอาจจะเข้าไปติดในล้อได้อีกด้วย

องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) แนะนำว่าไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีโดยสารรถจักรยานยนต์ เพราะเด็กมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บรุนแรงและมีผลตลอดทั้งชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์เนื่องจากไม่สามารถสวมหมวกนิรภัยได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ องค์การช่วยเหลือเด็กยังแนะนำให้ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ใหญ่เมื่อต้องโดยสารรถจักรยานยนต์

  • วัยเด็กเล็ก (2 – 9 ปี)

ในช่วงวัยเด็กเล็กเริ่มเป็นวัยที่รู้เรื่อง รู้วิธีนั่ง วิธีเกาะ วิธีจับ แต่ก็ยังไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ควรที่จะมีที่นั่งพิเศษ และมีอุปกรณ์เสริมติดแน่นทั้งด้านหน้า และด้านหลัง มีเบาะนั่งพิเศษที่ค่อนข้างแข็งแรง และควรเลือกใช้มอเตอร์ไซค์ที่มีที่กั้นล้อ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับบาดเจ็บที่เท้า เนื่องจากธรรมชาติของเด็ก เท้าจะอยู่ไม่นิ่ง มีโอกาสแกว่ง และพลาดเข้าไปขณะที่ล้อยังวิ่ง และควรสวมหมวกนิรภัยสำหรับเด็กที่มีขนาดเหมาะกับศีรษะของเด็ก

หมวกกันน็อก จำเป็นทั้งผู้ขี่ และคนซ้อน
หมวกกันน็อก จำเป็นทั้งผู้ขี่ และคนซ้อน
  • วัยเด็กโต (10 – 12 ปี)

เมื่อลูกคุณเริ่มโต คุณพ่อคุณแม่จะต้องสอนให้ลูกนั่งมอเตอร์ไซค์อย่างปลอดภัย ท่านั่งที่ปลอดภัยควรจะนั่งอย่างไร และหาที่จับที่มั่นคง มีอุปกรณ์ที่กั้นล้อทั้งล้อหน้า และล้อหลัง ควรติดตั้งที่วางเท้าที่มีความยาวพอดี เพื่อที่เด็กจะวางเท้าได้ ที่สำคัญอย่าลืมสวมหมวกกันน็อกที่พอดีกับศีรษะ และควรใส่หมวกกันน็อกแม้ว่าจะนั่งซ้อนท้ายทุกครั้ง

การเลี้ยงดูลูกให้เติบโต นอกจากจะใส่ใจในเรื่องพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายให้เจริญเติบโตสมวัย และในด้านจิตใจให้เขาพร้อมเผชิญกับโลกกว้างแล้ว พ่อแม่ยังมีหน้าที่ป้องกันภัยทั้งจากอุบัติเหตุ และโรคร้ายต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้นการให้ลูกรัก สวมหมวกกันน็อกทุกครั้งที่ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์จึงควรเห็นเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็น ไม่มัวแต่ละเลย เพราะชีวิตไม่สามารถคืนกลับได้

ข้อมูลอ้างอิงจาก  helmetsdekthai.com/ rabbitfinance.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

เด็กเล็กซ้อนมอเตอร์ไซค์ อันตรายกว่าที่คุณคิด

สอนลูกอย่างไรให้รอดชีวิตจาก ไฟไหม้บ้าน !!

8 วิธีป้องกันลูกจาก “โรคกลัวสังคม (ฮิคิโคโมริ ซินโดรม)”

รวมข่าวครูทำร้ายเด็ก ความรุนแรงในสังคม ที่นับวันมีแต่เพิ่ม

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up