ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ ป้องกันลูก จมน้ำ ได้

Kid Safetyระวังลูก จมน้ำ ด้วย5ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ

Alternative Textaccount_circle
event
ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ ป้องกันลูก จมน้ำ ได้
ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ ป้องกันลูก จมน้ำ ได้

พ่อแม่ไม่น้อยที่คิดว่า “ลูกโตแล้ว” จึงวางใจไม่ดูแลใกล้ชิดปล่อยปละละเลย เป็นสาเหตุให้เกิดเด็ก จมน้ำ สาเหตุเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี

Kid Safety ระวังลูก จมน้ำ ด้วย 5 ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ!!

ประเทศไทยมีอุบัติเหตุเด็กจมน้ำเสียชีวิตบ่อยครั้ง แต่มีผู้ใหญ่ไม่น้อยที่คิดว่า “เด็กโตแล้ว” จึงวางใจเกินไป คิดเอง (เออเอง) ว่าเด็กวัยนี้เข้าใจดีแล้วเรื่องเสี่ยงไม่เสี่ยง หลีกเลี่ยงภัยได้เองแล้ว จึงไม่ต้องดูแลใกล้ชิดจนอาจถึงขั้นปล่อยปละละเลย จำนวนของเด็กวัยนี้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุสารพัดจึงยังสูงอย่างต่อเนื่อง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่ข้อมูลจากมรณบัตรในปี 2562 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 3,306 ราย เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 559 ราย ส่วนข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2563 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–30 กันยายน 2563 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีประสบเหตุจมน้ำมากถึง 692 ราย (การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี)

เด็กโตเข้าใจเหตุผล แต่ยังไม่รู้ความเสี่ยง!!

แม้ความสนใจกระตือรือร้นเรียนรู้โลก คือธรรมชาติตามวัยที่ควรจะสนับสนุนให้ลูกได้เรียนรู้ เพื่อเกิดทักษะ เพื่อพัฒนาการทั้งจิตใจ ร่างกายและสังคม แต่เรื่องของ “ความปลอดภัย” ก็ยังเป็นสิ่งที่จะต้องเอาใจใส่ให้มาก

เพราะแม้ลูกวัยนี้จะเริ่มเข้าใจเหตุและผล เข้าใจความเสี่ยงและเชื่อมโยงถึงผลการบาดเจ็บที่จะตามมาได้แล้ว รวมถึงความใกล้ชิดของการดูแลเด็กโต ที่พ่อแม่สามารถให้เขาอยู่ในระยะพ้นสายตาได้ แต่ก็ต้องตรวจสอบดูแลเด็กทุก 1-2 ชั่วโมง และต้องมั่นใจว่าเขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ผู้ใหญ่ได้จัดการความเสี่ยงไว้แล้วไม่ว่าจะเป็นพื้นที่รอบ ๆ ชุมชน หรือโรงเรียน

เด็กจมน้ำ ภัยเงียบที่พ่อแม่ต้องระวัง
เด็กจมน้ำ ภัยเงียบที่พ่อแม่ต้องระวัง

ระวัง!!…ภัยจมน้ำ  

เด็กวัยอายุต่ำกว่า 15 ปี ในวันหยุด หรือในช่วงบ่าย ๆ เย็น ๆ หลังเลิกเรียนมักชวนกันไปเล่นน้ำในละแวกบ้าน ไม่ว่าจะเป็น บ่อน้ำใช้ในชุมชน ลำคลอง บ่อขุด หรือ สระว่ายน้ำที่อยู่รอบ ๆ หมู่บ้าน อยู่รอบ ๆ ชุมชน ยิ่งในช่วงวันหยุดยาว ๆ เช่น ช่วงปิดเทอมเล็ก (ราวเดือนตุลาคม) และ ปิดเทอมใหญ่ (เดือนเมษายน) ตัวเลขเด็ก จมน้ำเสียชีวิตจะพุ่งพรวดเสมอ

เหตุที่ทำให้เด็กวัยนี้เสียชีวิตเพราะจมน้ำ คือ ว่ายน้ำไม่เป็น แล้วไปเล่นใกล้น้ำ พลัดตกลงไปโดยยังไม่ได้ตั้งใจลงว่ายน้ำเล่นเลย บางคนก็ตั้งใจลงน้ำเล่นกับเพื่อนทั้ง ๆ ที่ว่ายไม่เป็น ตั้งใจจะเล่นตื้น ๆ แต่พลัดไหลไปที่ลึก หรือ พอจะเป็นแต่ว่ายไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำทั้ง ๆ ที่ตนเองยังไม่มีทักษะในการช่วยคนจมน้ำ แหล่งน้ำบางแหล่งมีความเสี่ยงมาก เด็ก ๆ ไม่ควรลงเล่นตั้งแต่แรก เช่น น้ำไหลแรง

พ่อแม่ทำอะไรได้บ้าง เพื่อช่วยลูกพ้นภัยจมน้ำ

  • ฝึกทักษะความปลอดภัยทางน้ำ 5 ประการ ขอชวนคุณพ่อคุณแม่พาลูกอายุ 5-7 ขวบไปฝึกทักษะความปลอดภัยทางน้ำ 5 ประการ ได้แก่

1. เรียนรู้จุดเสี่ยง

2. ลอยตัวในน้ำได้เกินกว่า 3 นาที หรือ

3. ว่ายน้ำได้ไกลไม่น้อยกว่า 15 เมตร

4. ช่วยเพื่อนด้วยการตะโกน โยน ยื่น

 5. รู้จักใช้ชูชีพ

ลูก จมน้ำ เพราะพ่อแม่คิดว่าโตแล้ว ปล่อยปะละเลย
ลูก จมน้ำ เพราะพ่อแม่คิดว่าโตแล้ว ปล่อยปะละเลย

การ “ตะโกน-โยน-ยื่น” หมายความอย่างนี้ครับ

ตะโกน ดังๆ เพื่อเรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วย

โยน วัสดุที่ลอยน้ำได้ (ที่พอหาได้ในบริเวณนั้น เพราะเด็กจะขาดอากาศหายใจ จมน้ำตายภายใน 4 นาทีหากช่วยไม่ทัน) เช่น ลูกมะพร้าว ถังแกลลอนเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า แผ่นโฟม ฯลฯ เพื่อให้คนจะจมน้ำเกาะไว้ก่อน

ยื่น วัสดุยาว ๆ เช่น แท่งไม้ กิ่งไม้ กางเกง เสื้อ เพื่อให้คนจะจมน้ำจับ แล้วช่วยดึงเข้ามา

ขอขอบคุณคลิปอ้างอิงจาก ป้องกันจมน้ำ.com
  • เตรียมและใช้เสื้อชูชีพทุกครั้งที่ไปเที่ยวทางเรือ คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมเสื้อชูชีพ และก่อนลงเรือต้องให้ลูกสวมไว้เสมอ
  • ช่วยกันจัดสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ท้องถิ่น ท้องที่ ชุมชนต้องให้ความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อม พื้นที่เล่นให้ปลอดภัย และเด็กวัยสำรวจโลกนี้มักบาดเจ็บในเขตชุมชน ไม่ใช่ในบ้านเหมือนเด็กเล็ก ครอบครัวไม่สามารถจัดการความปลอดภัยในพื้นที่ในเขตชุมชนได้เอง ไม่เหมือนพื้นที่ในบ้าน เช่นแหล่งน้ำเสี่ยง

ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องปักป้ายเตือนอันตราย และห้ามลงน้ำตัวโต ๆ หรือล้อมรั้วอย่างหนาแน่น ในบริเวณ เขตแหล่งน้ำเสี่ยง (เช่น มีน้ำวน น้ำลึกมาก พื้นน้ำไม่เสมอ หรือ เสี่ยงไฟดูด ฯลฯ) มิฉะนั้นเด็กก็จะกลายเป็นเหยื่ออีกเช่นเคย

บทความโดย : รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี

เจาะลึก 5 ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ

  1. เรียนรู้จุดเสี่ยง สำหรับผู้ใหญ่แล้วเรามีประสบการณ์สอนตัวเองให้รู้ถึงจุดเสี่ยง จุดอันตราย แต่เด็กที่เราดูเหมือนว่าเขาโตพอแล้ว แต่ก็ไม่เสมอไปที่ลูกจะเข้าใจในจุดเสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะแหล่งน้ำด้วยแล้ว แหล่งน้ำธรรมชาติในบางทีมองผิวเผินเหมือนน้ำนิ่ง แต่ใต้น้ำอาจเป็นน้ำวน หรือบางจุดเป็นน้ำเชี่ยวยากต่อการดูแลตัวเอง เราควรสอนให้เด็กรู้ว่าแหล่งน้ำไหนเสี่ยง ไม่ควรไปวิ่งเล่นใกล้ ๆ โดยอาจจะพาลูกไปเดินสำรวจสิ่งแวดล้อมในชุมชน และพาเขาไปดูว่าจุดไหนที่อันตราย และจุดไหนที่ปลอดภัย เพราะเด็กวัยนี้จะเข้าใจ ในเหตุและผลได้แล้ว
  2. ลอยตัวในน้ำได้เกินกว่า 3 นาที เนื่องจากสาเหตุของการจมน้ำส่วนใหญ่ เกิดจากการที่เด็กมักจะเล่นกันใกล้ฝั่ง และพลาดตกลงไปในน้ำ แต่ไม่สามารถที่จะลอยตัวขึ้นมาเพื่อจะเข้าฝั่งได้ ขาดทักษะการเอาชีวิตรอด เพราะฉะนั้นถ้าลอยตัวได้ 3 นาที เด็กจะสามารถช่วยตัวเองได้ ท่าลอยตัวที่ง่ายและใช้เพื่อตะกายเข้าฝั่ง เช่น ท่าปลาดาว ท่าแม่ชีลอยน้ำ ว่ายท่าลูกหมา เป็นต้น
  3. ว่ายน้ำได้ไกลไม่น้อยกว่า 15 เมตร นอกจากการลอยตัวให้ได้ 3 นาทีแล้ว เด็กยังต้องสามารถว่ายได้ไกลถึง 15 เมตร เพื่อเป็นทักษะในการว่ายเข้าฝั่งหากพลัดตกลงไปในน้ำ ตามมาตรการ 3 น 15 ม (3 นาที 15 เมตร) นั่นเองหากสนใจพาลูกไปเรียนว่ายน้ำ เพื่อเพิ่มทักษะการเอาตัวรอดในน้ำ สามารถศึกษาที่สอนเรียนว่ายน้ำสำหรับเด็กได้จากบทความนี้เลย              •  พาลูกเรียนว่ายน้ำที่ไหนดี 10 โรงเรียนสอนว่ายน้ำเด็ก ฝึกทักษะเอาตัวรอด ป้องกันลูกจมน้ำ
    5 ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ
    5 ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ

     

  4. ช่วยเพื่อนด้วยการตะโกน โยน ยื่น สอนให้ลูกรู้ว่าการกระโดดลงไปช่วยเพื่อนที่กำลังจมน้ำนั้นเป็นเรื่องที่ อันตรายมาก แม้จะถูกฝึกมาอย่างดี ดังนั้นจึงมีหลัก 3 ข้อ คือ “ตะโกน โยน ยื่น” ตะโกน ให้ผู้ใหญ่มาช่วย โยน สิ่งของที่อยู่รอบตัว เช่น ถังน้ำ แกลลอน เพื่อให้เพื่อนเกาะและสามารถใช้ลอยตัวได้ ยื่น สิ่งยาวๆ ให้เพื่อนจับแล้วดึงเข้ามาใกล้ฝั่ง โดยจุดที่เขายืนก็ต้องมั่นคงด้วย ทางทีมแม่ ABK วันนี้ได้นำลิงก์เพจกิจกรรมสนุก ๆ จาก ศูนย์เรียนรู้ป้องกันการจมน้ำ กรมควบคุมโรค มาฝากให้ลูก ๆ ได้เข้าไปเรียนรู้วิธีการช่วยคนจมน้ำผ่านกิจกรรมสนุก ๆ ที่ทางเพจได้จัดทำขึ้นเพื่อเด็ก และเยาวชน
  5. รู้จักการใช้ชูชีพ เพื่อการเดินทางทางน้ำ ไม่ว่าจะเรือชนิดใด จะว่ายน้ำเป็นไม่เป็น ก็มีความเสี่ยงที่จะจมน้ำได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีการฝึก ใส่ – ถอด ชูชีพให้ถูกวิธี และอย่างน้อยต้องหัดลอยตัวเมื่อใส่ชูชีพให้ได้ เพราะถ้าลอยตัวไม่เป็น หน้าคว่ำลงก็อาจจะเอาชีวิตไม่รอดได้เหมือนกัน

วิธีฝึกลูกให้รู้จักสวมเสื้อชูชีพอย่างถูกต้องนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง ?

  • สวมเสื้อชูชีพให้ส่วนที่เป็นเข็มขัดหรือสายรัดอยู่ด้านหน้าลำตัวลูก
  • ปรับสายเข็มขัด สายรัดอก สายรัดเอว และสายรัดระหว่างขาให้พอดีตัว ไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป จากนั้นล็อกสายรัดทั้งหมดโดยเริ่มจากบนลงล่าง จำนวน 3 จุด และล็อกสายรัดบริเวณระหว่างขาอีก 2 จุด
  • สอนให้เด็กฝึกการทรงตัวในน้ำในแนวดิ่ง ฝึกการลอยตัวนอนหงาย ฝึกเคลื่อนที่แบบ Dog Paddling ขณะใส่เสื้อชูชีพ และฝึกการเป่านกหวีดเพื่อขอความช่วยเหลืออย่างถูกวิธี คือต้องหันรูนกหวีดขึ้นด้านบนจึงจะเป่านกหวีดให้ดังได้
  • เมื่อใช้งานเสื้อชูชีพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องเรียนรู้วิธีการถอดเสื้อชูชีพออกโดยเริ่มจากการบีบที่ตัวล็อกระหว่างขา จำนวน 2 จุด เพื่อปลดล็อก จากนั้นจึงปลดล็อกบริเวณลำตัวอีก 3 จุด
เด็ก จมน้ำ สาเหตุอันหนึ่งการเสียชีวิตของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี
เด็ก จมน้ำ สาเหตุอันหนึ่งการเสียชีวิตของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี

ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ ทั้ง 5 ประการที่พ่อแม่ควรสอนให้ลูก นอกจากจะได้ในเรื่องความปลอดภัยต่อตัวลูกน้อยแล้ว ยังช่วยเพิ่มทักษะให้ลูกมีความฉลาดในการเผชิญหา AQ สามารถดูแลทั้งต่อตนเอง และผู้อื่นได้ในยามเกิดเหตุการณ์คับขันได้อีกด้วย นับเป็นทักษะที่จำเป็นติดตัวเขาไปใช้ได้จนโต

ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมควบคุมโรค

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อันตรายจาก ประทัดระเบิด สอนลูกให้ระวังไว้ วัยซนเสี่ยงเจ็บสูง!

อุทาหรณ์ อุบัติเหตุในเด็กเล็ก พร้อม 6 วิธี ลดเสี่ยงเกิดเหตุ

3ข้อเตือนใจแม่! อุบัติเหตุบนถนน ที่มักเกิดขึ้นกับลูก

สอนลูกอย่างไรให้รอดชีวิตจาก ไฟไหม้บ้าน !!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up