ในแต่ละวันเด็กเล็กๆ ตั้งแต่วัยอนุบาลไปจนถึงชั้นประถม นั่งซ้อนท้าย หรือนั่งข้างหน้ารถจักรยานยนต์กันจนชินตา กลายเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด พ่อแม่มักนิยมใช้รถมอเตอร์ไซค์ไปส่งลูกๆ ที่โรงเรียนในตอนเช้า โดยไม่รู้เลยว่า เด็กเล็กซ้อนมอเตอร์ไซค์ อันตรายกว่าที่คิด
เด็กเล็กซ้อนมอเตอร์ไซค์
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งในแต่ละปี จะมีเด็กเสียชีวิตกว่า 2,600 คน หรือมากกว่า 7 คนต่อวัน และบาดเจ็บหรือพิการเกือบ 200 คนต่อวัน รวมแล้วกว่า 72,000 คนต่อปี ซึ่งจากผลสำรวจการใช้รถจักรยานยนต์ 1,502,949 คนทั่วประเทศ 77 จังหวัด เมื่อปี 2555 พบว่า มีเด็กที่สวมหมวกนิรภัยเพียง 7% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย และลาว
การสูญเสียดังกล่าวสามารถป้องกันได้ด้วยการสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง เมื่อลูกน้อยต้องซ้อนท้ายจักรยานยนต์ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของเด็กกว่า 2,000 คน และลดการบาดเจ็บกว่า 50,000 คน
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ออกมาเตือนเด็กอายุต่ำกว่า 2 – 6 ขวบไม่ควรนั่งรถจักรยานยนต์ เพื่อป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุ มีการรณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอุบัติเหตุในรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุด มีการทดสอบอันตรายจากการให้เด็กเล็กซ้อนมอเตอร์ไซค์ ดังนี้
- ให้เด็กเล็กนั่งซ้อนท้ายด้านหลัง ขับในความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเกิดการชน พบว่า ทั้งผู้ปกครองและเด็กเล็กเสียชีวิตทั้งสองคน โดยเด็กถูกแรงเหวี่ยงกระเด็นตกจากรถ
- ให้เด็กเล็กนั่งด้านหน้า ผู้ใหญ่คร่อมตัวเด็ก ขับในความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พบว่า เสียชีวิตทั้งสองคน โดยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เด็กจะถูกแรงอัดกระแทกของผู้ใหญ่ที่เป็นคนขับขี่
- ถ้าขับด้วยความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คอจะฟาดเสาคานหน้ารถ คอหักทันที ส่วนเด็กถ้าไม่ตายทันที คงบอบช้ำมาก
การทดลองในครั้งนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การที่ให้เด็กเล็กนั่งรถจักรยานยนต์มีอันตรายถึงชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุ ทั้งที่ใช้ความเร็วเพียงแค่ 30-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้แพทย์ออกมาระบุ ไม่ควรให้เด็กนั่งรถจักรยานยนต์ แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้ความเร็วน้อยและใช้ความระมัดระวังสูงสุด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ซ้อนท้ายให้ปลอดภัย และหมวกนิรภัยที่เหมาะสม” คลิกหน้า 2