ซ้อนท้ายอย่างไรให้ปลอดภัย
1.วัยทารก ไม่แนะนำให้นั่งรถจักรยานยนต์ ถึงแม้จะอุ้มไว้ อย่าลืมว่าผู้ที่อุ้มทารกต้องใช้มือของตัวเองหาที่จับ เมื่อซ้อนท้าย ทำให้มีโอกาสเสียสมดุล และมักจะมีอุปกรณ์พะรุงพะรัง เคยมีข่าวเด็กทารกเข้าไปติดในล้อรถเพราะผ้าห่อตัวถูกดูด ยิ่งเสี่ยงอันตรายมาก
2.วัยเด็กเล็ก ควรใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก มีอุปกรณ์เสริมติดแน่นทั้งด้านหน้าและหลัง มีเบาะพิเศษสำหรับเด็กที่มีระบบยึดเหนี่ยวที่แข็งแรง เลือกรถจักรยานยนต์ที่มีที่กั้นล้อรถป้องกันการบาดเจ็บที่เท้า เพราะเท้าของเด็กไม่อยู่นิ่งมีโอกาสแกว่งไปมา และพลาดโดนล้อ และควรสวมหมวกนิรภัย สำหรับเด็กที่มีขนาดพอดี
3.วัยเด็กโต สอนให้ลูกนั่งรถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย ท่านั่งคร่อมจะปลอดภัยที่สุด หาที่จับให้มั่นคง ติดตั้งที่วางเท้าให้มีความยาวพอดีกับเด็ก และอย่าลืมสวมหมวกนิรภัยที่พอดี
ขนาดหมวกนิรภัยที่เหมาะสมกับลูกน้อย
- เด็กอายุ 2 – 4 ขวบ ขนาดหมวก 500 ม.ม.
- เด็กอายุ 5 – 8 ขวบ ขนาดหมวก 530 – 540 ม.ม.
- เด็กอายุมากกว่า 8 ขวบ ขนาดหมวก 570 – 580 ม.ม.
สิ่งสำคัญ สอนให้ลูกรู้ว่าหมวกนิรภัยมีความสำคัญ ใส่หมวกให้พอดีกับศีรษะ มีสายรัดที่พอดี มีความแข็งแรง ต้านทานการเจาะทะลุ
เครดิต: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้จัดการออนไลน์, 96.5 FM, voice TV, ok nation, save the children, PPTV
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
7 วันอันตรายช่วงปีใหม่ที่ทุกครอบครัวต้องระวัง
เตือนสติพ่อแม่! ก่อนซื้อรถมอเตอร์ไซต์ให้ลูกขับขี่
อุบัติเหตุ รถชน จากความประมาทของผู้ปกครอง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่