อุทาหรณ์ อุบัติเหตุในเด็กเล็ก พร้อม 6 วิธี ลดเสี่ยงเกิดเหตุ - Amarin Baby & Kids
อุบัติเหตุในเด็ก

อุทาหรณ์ อุบัติเหตุในเด็กเล็ก พร้อม 6 วิธี ลดเสี่ยงเกิดเหตุ

Alternative Textaccount_circle
event
อุบัติเหตุในเด็ก
อุบัติเหตุในเด็ก

อุบัติเหตุในเด็กเล็ก – สำหรับบ้านที่มีเด็กเล็กๆ การให้ความเอาใจใส่ คอยดูแลระวังภัยอย่างใกล้ชิด ถือเป็น เรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะเหตุไม่คาดฝัน สามารถเกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ได้ทุกเมื่อ ดังเช่นอุทาหรณ์เศร้า ปล่อยเด็กใกล้สระน้ำ พี่วัยรุ่นไปทำธุระ ให้เด็ก 2 ขวบ นั่งรอ กลับมาอีกทีเด็กเสียชีวิตลอยคว่ำหน้าอยู่ในบ่อแล้ว

อุทาหรณ์ อุบัติเหตุในเด็กเล็ก พร้อม 6 วิธี ลดเสี่ยงเกิดเหตุ

ในที่เกิดเหตุพบ เด็กจมน้ำ เสียชีวิต เป็นเด็กชาย อายุ 2 ขวบ เสียชีวิตในลักษณะลอยคว่ำหน้า ลอยหางจากฝั่งประมาณ 1 เมตร ใกล้ๆ ศพพบปืนของเล่นลอยอยู่ ทราบว่าคุณแม่น้องไปทำงานที่ชลบุรี และใด้ฝากน้องใว้กับยาย จากการสอบถามยายน้อง ได้ความว่า ยาย ต้องไปทำธุระ จึงใด้ฝากน้อง ใว้กับหลานสาววัย 19 ปี หลังจากน้องตื่น หลานสาวต้องไปทำธุระใกล้ๆ เลยบอกให้น้องรอแปปหนึ่ง  แต่พอหลานสาวกลับมาก็ไม่พบน้อง เลยเดินตามหา จนมาพบว่าน้องเสียชีวิต ลอยในสระน้ำดังกล่าวแล้ว จากการสันนิฐานคาดว่า น้องคงเดินมาริมบ่อน้ำแล้วเห็นปืนของเล่น เลยลงไปเอา จึงทำให้พลัดตกน้ำเสียชีวิต

อุบัติเหตุในเด็กเล็ก
อุบัติเหตุในเด็กเล็ก (ภาพจาก social.tvpoolonline.com)

ปัญหาอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก

อุบัติเหตุในเด็กเล็ก ถือเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทำให้เด็กเสียชีวิต เป็นจำนวนมาก  หรือ อาจทำให้ เกิดความพิการ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ และทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถป้องกันได้ค่ะ โดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ตลอดจน ครู โรงเรียน และชุมชน ควรจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กให้ปลอดภัย ทั้งในบ้าน นอกบ้าน และการเดินทาง เฝ้าดูแล ปกป้องคุ้มครองเด็กอย่างใกล้ชิด และควรตระหนักถึงการป้องกัน การบาดเจ็บในเด็กเสมอ  รวมทั้งสอนเด็ก ให้เรียนรู้จุดอันตราย และปฏิบัติตัวอย่างปลอดภัย

อุบัติเหตุ  6 ประเภท ที่มักเกิดกับเด็กเล็ก พร้อมวิธีป้องกัน

1. อุบัติเหตุ จากการสัมผัสสารพิษ

สารเคมีต่าง ๆ ภายในบ้าน ที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก ได้แก่ ชน้ำยาทำความสะอาด ยารักษาโรค ยากำจัดแมลงหรือวัชพืช ของเล่นที่มีสีสันสะดุดตา หรือเป็นพลาสติกอ่อนนิ่ม ซึ่งอาจปนเปื้อนสารอันตรายจากการผลิตอาจเป็นพิษต่อเด็กได้ เมื่อเด็กสัมผัสสารเคมีสารพิษต่างๆ มักส่งผลเฉียบพลัน หรือเกิดการสะสมในร่างกาย ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติได้

แนวทางป้องกัน

เด็กอายุน้อยกว่า1 ปี 

  • ในการเลือกซื้อของใช้เด็ก ควรเลือกดู ที่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม จะปลอดภัยกว่า
  • ควรลดการใช้สารเคมีในบ้าน ในกรณีมีเด็กอาศัยอยู่ด้วย และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบธรรมชาติ แบบออร์แกนิคแทน

เด็กอายุ1-4 ปี

  • ควรเก็บสารต่าง ๆ ในบ้านให้พ้นมือเด็ก และหลีกเลี่ยงการเก็บสารพิษไว้ในบ้าน
  • ไม่นำสารพิษใส่ภาชนะบรรจุอาหารหรือเครื่องดื่ม และไม่วางอยู่ในที่เดียวกับอาหารและเครื่องดื่ม
  • เลือกซื้อของเล่นเด็ก ที่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม

2. อุบัติเหตุ จากสัตว์กัด ข่วน ต่อย 

มีผู้ถูกสัตว์กัดกว่า 1 ล้านคนต่อปี ร้อยละ 97 ถูกสุนัขกัด เป็นกลุ่มเด็กมากที่สุด ทำให้เกิดบาดแผลรุนแรง พิการ หรือเสียชีวิต รวมทั้งมีโอกาสติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงอย่างแมว และแมลงมีพิษต่างๆ เช่น แมลงก้นกระดก ตะขาบ ผึ้ง ตัวต่อ ก็สามารถทำให้เด็กเล็กได้รับบาดเจ็บได้ เช่นกัน

แนวทางป้องกัน

เด็กอายุน้อยกว่า1 ปี

  • ควรระมัดระวังการเลี้ยงสุนัขในครอบครัวที่มีเด็กเล็ก
  • ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรให้เด็กอยู่กับสุนัขตามลำพัง
  • ในกรณีอันตรายจากแมลงมีพิษ พ่อแม่ คนเลี้ยงควรสอดส่อง ดูแลความสะอาดของบ้าน ไม่ให้เป็นที่อาศัยของสัตว์มีพิษต่างๆ ได้ เพราะเด็กเล็กยังป้องกันตัวเองไม่ได้

เด็กอายุ1-4 ปี

  • ไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้สุนัขที่กำลังนอนหลับ กินอาหาร หรือสุนัขแม่ลูกอ่อน พ่อแม่ควรอยู่ใกล้ชิดเด็กตลอดเวลา ถ้ามีความเสี่ยงว่าลูกจะเข้าใกล้ สัตว์ต่างๆ  ไม่ว่า สุนัข หรือแมว
  • ดูแล และระมัดระวังไม่ให้เด็ก แหย่ ตีสัตว์ ดึงหู ดึงหาง หรือทำให้สัตว์โกรธ หรือตกใจ เพราะ สุนัข หรือ แมว อาจทำร้ายเด็กได้ ด้วยสัญชาติญาณ
  • สอนเด็กว่า ถ้าเจอแมลง หรือสัตว์หน้าตาแปลกๆ อย่าไปหยิบจับ เพราะอาจเกิดอันตรายที่ร้ายแรงได้

อุบัติเหตุ รถชน จากความประมาทของผู้ปกครอง

อุทาหรณ์ ลูกถูกไฟช็อต จากสายชาร์จโทรศัพท์มือถือ

อันตรายจากรถหัดเดิน ลูกถูกสิบล้อทับเพราะรถหัดเดินไหลลงถนน

3. อุบัติเหตุ จากการ พลัดตก หกล้ม

ตามสถิติ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก จากการการหกล้ม การลื่น สะดุด และเสียหลัก คิดเป็น ร้อยละ 31.7%  ตกจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง ร้อยละ 10.0% ตกจากต้นไม้ ร้อยละ 6.2% และ เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น ร้อยละ 5.7% สถานที่เกิดเหตุสำคัญ ได้แก่ บ้าน โรงเรียน สนามเด็กเล่น และสนามกีฬา เด็กวัยคลานขึ้นไป โดยเฉพาะเด็กวัย 1-3 ปี เป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุได้ค่อนข้างบ่อย เพราะเป็นวัยที่กำลังซน ชอบปีนป่าย อยากรู้อยากเห็น

อุบัติเหตุในเด็ก
อุบัติเหตุในเด็ก

แนวทางป้องกัน

เด็กอายุน้อยกว่า1 ปี

  • ห้ามทิ้งเด็กไว้ตามลำพัง ตาม โต๊ะ เตียง โซฟา เก้าอี้ หากไม่สามารถอุ้มไว้ได้เองโดยเด็ดขาด
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยวางเด็กไว้ในเปลนอนที่มีขอบกั้นมิดชิด
  • ที่บ้านควรมีประตูกั้นที่บันได ที่เปิดเข้าหาตัวได้ทิศทางเดียว และควรใส่กลอนไว้เสมอ

เด็กอายุ1-4 ปี

  • ราวบันไดและระเบียง ต้องมีช่องห่างไม่เกิน 9 เซนติเมตร หน้าต่างอยู่สูงอย่างน้อย 1 เมตร
  • เครื่องเรือน เช่น โต๊ะ ตู้ ต้องวางบนพื้นราบ มั่นคง ไม่มีมุมคม หรือใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมขอบทุกมุม
  • หมั่นตรวจสอบประตูรั้วบ้านที่เป็นประตูเลื่อน ซึ่งอาจหลุดจากรางและล้มทับเด็กได้
  • ไม่ให้เด็กเล่นของเล่นมีล้อ เช่น สเกตบอร์ด รองเท้าสเกต เป็นต้น

4. อุบัติเหตุ จากการสัมผัสเปลวไฟ และความร้อน

การสัมผัสความร้อน เป็นอีกหนึ่ง อุบัติเหตุในเด็ก ที่พบบ่อย เช่น เด็กสัมผัสของเหลวหรือวัสดุที่ร้อน ไฟ การระเบิดของประทัด ดอกไม้ไฟ หรือพลุ ซึ่งความร้อน จะทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้บาดเจ็บรุนแรง ก่อให้เกิดความพิการ หรือเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ การสัมผัสปลั๊กไฟ หรือสายชาร์จแบตที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องคอยระวังเช่นเดียวกัน

แนวทางป้องกัน

เด็กอายุน้อยกว่า1 ปี

  • เก็บสายไฟ อย่าให้อยู่ต่ำในระดับที่เด็กสามารถดึงกระชากได้
  • อย่าอุ้มเด็กขณะที่ถือของร้อน

เด็กอายุ1-4 ปี

  • ควรมีประตูกั้นห้องครัว ไม่ให้เด็กเข้าไปได้
  • อย่าวางเตาหุงต้ม หม้อแกง หรือหม้อน้ำร้อนบนพื้น เพราะเด็กวัยนี้มักชอบหยิบจับสิ่งของต่างๆ
  • หม้อที่มีด้ามจับต้องหันด้ามจับเข้าด้านใน
  • เก็บตะเกียง เทียน ไม้ขีดไฟ เตารีด สายไฟ ให้พ้นมือเด็ก

5. อุบัติเหตุ จากการจราจร

อุบัติเหตุทางจราจร ที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการชนขณะโดยสารรถยนต์ทุกประเภท ทำให้กระแทกโครงสร้างภายในรถยนต์ หรือกระเด็นออกนอกรถ แต่นอกจากนี้ ยังพบเด็กเสียชีวิตจากการถูกลืมในรถรับส่งนักเรียนอีกด้วย

แนวทางป้องกัน

เด็กอายุน้อยกว่า1 ปี

  • ไม่ควรให้เด็กโดยสารรถจักรยาน และจักรยานยนต์ ควรใช้ที่นั่งนิรภัยที่เบาะหลัง โดยหันหน้าไปทางด้านหลังรถ
  • สำหรับรถกระบะตอนเดียว ให้ติดตั้งด้านหน้าข้างคนขับ และต้องไม่มีถุงลมนิรภัย (หรือสามารถปิดการทำงานได้)
  • อย่าทิ้งเด็กไว้ในรถคนเดียว

เด็กอายุ1-4 ปี

  • ไม่ให้เด็กถีบสามล้อ จักรยาน วิ่งเล่นบนถนน หรือทางเท้า
  • หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กโดยสารรถจักรยานยนต์
  • ควรใช้ที่นั่งนิรภัยที่เบาะหลัง โดยหันหน้าไปทางด้านหลังรถ
  • สำรวจหลังรถก่อนถอยรถออกจากที่จอดทุกครั้ง ว่าไม่มีเด็กเล็กอยู่ด้านหลังรถ

 

อุบัติเหตุในเด็ก

6. อุบัติเหตุ จากการจมน้ำ

การจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งสูง กว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ และสูงกว่าอุบัติเหตุจากการจราจรถึง 2 เท่า 

แนวทางป้องกัน

เด็กอายุน้อยกว่า1 ปี

  • ต้องกำจัดแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นในบ้านและรอบบ้าน เช่น การเทถังน้ำ คว่ำถัง ปิดฝาถัง
  • กั้นรั้ว กั้นประตูไม่ให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำได้ เช่น การปิดประตูห้องน้ำ ปิดประตูหน้าบ้านหลังบ้านมิให้เด็กเข้าใกล้แหล่งน้ำได้ ทำรั้วกั้นรอบแหล่งนัำ
  • ผู้ดูแลเด็กต้องตระหนัก ไม่เผอเรอ ปล่อยเด็กไว้ใกล้แหล่งน้ำตามลำพัง แม้เพียงชั่วขณะ

เด็กอายุ1-4 ปี

  • ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กทุกคนควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ควรเผอเรอแม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว โดยเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องอยู่ในระยะที่มองเห็น คว้าถึงและเข้าถึง
  • ไม่ปล่อยทิ้งให้เด็กเล่นน้ำเองตามลำพังแม้ในกะละมัง ถังน้ำ โอ่ง
  • มีการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น เทน้ำทิ้งภายหลังใช้งาน หาฝาปิด รวมถึงการจัดพื้นที่เล่นปลอดภัยให้เด็ก
  • สอนให้เด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงภัยในบ้าน เช่น กะละมัง ถังน้ำ และวิธีการหลีกเลี่ยง โดยเน้น “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” คือ สอนให้เด็กอย่าเข้าไปใกล้แหล่งน้ำ อย่าเก็บสิ่งของหรือของเล่นที่อยู่ในน้ำ และอย่าก้มไปดูน้ำในแหล่งน้ำ

แน่นอนว่า ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ ปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ โอกาสเสี่ยงที่ลูกจะได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดการสูญเสียย่อมน้อยลงแน่นอนค่ะ สำหรับลูกในวัยที่เริ่มรู้เรื่อง ซึ่งเราสามารถพูดคุย แนะนำ และสอนเขาได้ถึง การระมัดระวังภัย ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับตัวลูกเอง ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ลูก มี ความฉลาดในการดูแลรักษาสุขภาพ (HQ) เพราะยุคนี้การส่งเสริมลูก แค่เรื่อง IQ หรือ EQ คงไม่เพียงพอ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกเป็นเด็กที่มีความฉลาดรอบด้านด้วย Power BQ คุณพ่อคุณแม่สามารถ ส่งเสริม และปลูกฝังให้ลูกได้ตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : ddc.moph.go.th,thaihealth.or.th,social.tvpoolonline.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

3ข้อเตือนใจแม่! อุบัติเหตุบนถนน ที่มักเกิดขึ้นกับลูก

4 อุบัติเหตุไม่คาดฝันในบ้าน พ่อแม่ห้ามประมาท

อุบัติเหตุบนรถไฟฟ้า ที่พ่อแม่ควรระวัง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up