เมื่อผู้เสพคือผู้ป่วย แนะ 7สัญญาณเตือนเฝ้าระวังผู้ป่วย โรคทางจิตเวช - Amarin Baby & Kids
โรคทางจิตเวช เหตุกราดยิง

เมื่อผู้เสพคือผู้ป่วย แนะ 7สัญญาณเตือนเฝ้าระวังผู้ป่วย โรคทางจิตเวช

Alternative Textaccount_circle
event
โรคทางจิตเวช เหตุกราดยิง
โรคทางจิตเวช เหตุกราดยิง

โรคทางจิตเวช จากยาเสพติด นอกจากจะให้โทษแก่ผู้เสพแล้ว ยังส่งผลต่อผู้อื่นได้ในเหตุกราดยิงจากอาการหลอนยา สัญญาณเตือนระวังผู้ป่วยอันตรายจึงต้องมา

เมื่อผู้เสพคือผู้ป่วย !! แนะ 7 สัญญาณเตือนเฝ้าระวังผู้ป่วย โรคทางจิตเวช

“ผู้เสพคือผู้ป่วย” เป็นแนวนโยบายใหม่ที่พยายามไม่จับผู้เสพยาเสพติดเข้าคุก แต่เปิดช่องให้เข้าสู่ระบบบำบัด การแก้พรบ. ยาเสพติด  เปิดช่องให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจแยกแยะ “ผู้เสพ” กับ “ผู้ขาย” จากเดิมที่ใช้วิธีการนับเม็ดและปริมาณสาร เช่น ในอดีตหากผู้ต้องหาครอบครองยาบ้าเกิน 15 เม็ด ศาลจะตัดสินโดยอัตโนมัติว่ามีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งโทษหนักกว่าการมีไว้เพื่อเสพมาก ประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ ได้ปรับปรุงบทบัญญัติจากเดิมที่มีการใช้บทสันนิษฐานในทางที่เป็นโทษกับผู้กระทำความผิด เปลี่ยนเป็นการพิจารณาตาม “พฤติการณ์” และความร้ายแรงที่ผู้กระทำผิดได้กระทำ กล่าวคือ หากเป็นผู้ลักลอบค้าแม้จะมีปริมาณยาเสพติดน้อยในขณะจับกุมแต่ก็ต้องดำเนินคดีในลักษณะที่เป็นความผิดร้ายแรงร่วมกับการดำเนินการริบทรัพย์สิน แต่หากพฤติการณ์เป็นเพียงผู้เสพก็จะยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” ที่จะช่วยเหลือให้ได้เข้ารับการบำบัดรักษา โดยมีการเพิ่มบทสันนิษฐานการมีไว้ครอบครองเพื่อเสพ ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานในทางที่เป็นคุณ เพื่อให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. และพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจใช้เป็นแนวทางในเบื้องต้นในการพิจารณาช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดที่ครอบครองยาเสพติดในปริมาณเล็กน้อยให้เข้าสู่การบำบัดรักษาโดยไม่ต้องส่งตัวไปดำเนินคดี เปิดโอกาสให้ผู้เสพได้รับการบำบัดเพื่อให้มีโอกาสกลับคืนสู่สังคม

อันตรายจาก ผู้ป่วย โรคทางจิตเวช จากยาเสพติด
อันตรายจาก ผู้ป่วย โรคทางจิตเวช จากยาเสพติด

ส่งผู้ป่วยไปให้ใครดูแล?

ระบบบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

เมื่อผู้เสพยาเสพติดถูกจับกุม และได้รับการประเมินตามขั้นตอนจากอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาแล้วว่าเข้าข่ายเป็น ผู้ป่วย ก็จะจำแนกผู้ป่วยออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. แบบควบคุมตัว ผู้รับการบำบัดจะถูกควบคุมตัวอยู่ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ รวม 90 แห่ง และเข้าโปรแกรมบำบัดเป็นระยะเวลา 4-6 เดือน เป้าหมายของการควบคุมตัวก็เพื่อกันผู้ป่วยออกจากยาเสพติดให้ได้มากที่สุด
  2. ระบบไม่ควบคุมตัว ผู้รับการบำบัดจะต้องเข้าโปรแกรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามศูนย์ฟื้นฟูฯ เป็นเวลา 12 วัน หลังจากเสร็จโปรแกรมแล้วต้องเข้ารายงานตัวทุกเดือน และรับการสุ่มตรวจปัสสาวะเป็นเวลา 1 ปี หากหลบหนี หรือพบสารเสพติดระหว่างกระบวนการดังกล่าว ผู้ป่วยจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 90 แห่ง 

  • ค่ายทหารตำรวจ 57 แห่ง
  • ศูนย์ของสาธารณสุข 20 แห่ง
  • ศูนย์ของมหาดไทย 11 แห่ง
  • ศูนย์ยุติธรรม 2 แห่ง

ปัญหาใหญ่ของระบบบังคับบำบัดก็คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการดูแลโดยแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข หากแต่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง แม้กระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางโปรแกรมบำบัดฯ และอบรมวิทยากร ท้ายที่สุดแล้ว แต่ละค่ายก็จะมีวิธีปฏิบัติตามศักยภาพและความถนัดของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งค่ายทหารก็จะเน้นการฝึกวินัยเสียเป็นส่วนใหญ่

เฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชรุนแรงจากยาเสพติด เพื่อลดการก่อเหตุความรุนแรงในสังคม

จากนโยบาย “ผู้เสพคือผู้ป่วย” ที่ได้แสดงข้อมูลมาข้างต้น และมีผลบังคับใช้มาระยะหนึ่ง ได้เกิดผลตอบรับดังที่เราเห็นกันในสังคม จนมีคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อนโยบาย และแนวทางการปฎิบัติกันไปต่าง ๆ นานา แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์กราดยิงเด็กเล็ก ในศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดหนองบัวลำพู จากผู้ก่อเหตุที่มีประวัติการติดยาเสพติด ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนแนวทางการปฎิบัติของนโยบายดังกล่าวว่า กำลังมีปัญหาหรือไม่ โดยเพจดัง Drama-addict ก็ได้โพสแสดงความคิดเห็นไว้ ดังนี้

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากเพจ Drama-addict
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากเพจ Drama-addict
โดยคอนเซ็ปท์แล้ว การใช้นโยบายที่ยึดถือว่า ผู้เสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วย ลดโทษทางอาญา เพิ่มโทษทางปกครอง เน้นการเอาไปบำบัดให้หาย แล้วเน้นจัดการคนขายหนักๆ เป็นคอนเซ็ปท์ที่ดี ซึ่งก่อนหน้านี้ก็หวังว่ามันน่าจะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดและคนล้นคุกได้
ปรากฏว่าพอปฎิบัติจริง มันไม่ได้สวยหรูขนาดนั้น
เริ่มจาก คนที่เสพยาจนสติสตังค์พังไปหมดแล้ว มีพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว จะทำร้ายคนใกล้ตัวและคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
หลายๆเคส คนในครอบครัวพยายามติดต่อตำรวจให้พาไปบำบัดหน่อย
ตำรวจก็มักไม่ทำอะไรถ้ายังไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ทั้งๆที่จริงๆแล้วตาม พรบ สุขภาพจิต แค่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่มีความเสี่ยงต่อทั้งตัวเองและคนอื่นๆ ก็ใช้กฏหมายบังคับพาไปบำบัดได้
หรือต่อให้ตำรวจพาไปบำบัด บุคลากรในระบบสาธารณสุข ก็รับไม่หวาดไม่ไหว เพราะคนติดยาเยอะมาก งานปรกติก็ล้นมืออยู่แล้ว ต้องมาบำบัดเคสติดยาเพิ่ม แถมพวกนี้ก็มักไม่ต่อเนื่อง ไม่มีระบบติดตามการบำบัดยา ติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรม เหมือนมาบำบัดพอเป็นพิธี แล้วก็กลับบ้าน ไม่มีความผิดกฏหมายใดๆ
แล้วพอไม่มีระบบการติดตามตัว เฝ้าระวังพฤติกรรม ที่มีประสิทธิภาพ ก็กลับไปเสพยาต่อ วนไปวนมาอยู่แบบนี้ วันดีคืนดี ก็ไล่ฆ่าคน กราดยิง ไล่แทงคน ปาดคอคน
เมื่อคอนเซ็ปท์ดูดี สวยหรู แต่องค์ประกอบอื่นๆที่จะทำให้คอนเซ็ปท์นั้นเป็นความจริง มันไม่ทำงาน หรือไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ผลก็จะออกมาเป็นบ้านเมืองเราอย่างทุกวันนี้ นัน่คือความล้มเหลว
เอาไงกันต่อดีครับ กับแนวคิดว่า ผู้เสพยา = ผู้ป่วย เมื่อผลลัพธ์มันออกมาเป็นแบบนี้
ปกป้องลูกน้อยจากอันตรายรอบด้าน
ปกป้องลูกน้อยจากอันตรายรอบด้าน

ดังนั้นในระหว่างรอการพัฒนาปรับปรุงแนวทางการปฎิบัติของนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และการพบสถิติการระบาดของยาเสพติดที่มีในปัจจุบัน เราบรรดาพ่อแม่ที่ต้องทำทุกวิถีทางในการปกป้องลูกน้อยของเราให้ห่างไกลภยันตรายร้ายต่าง ๆ จึงควรมีวิธีป้องกัน สังเกต และช่วยเหลือลูกของเราให้ห่างไกลอันตรายให้ได้มากที่สุด

อ่านต่อ>> 7 สัญญาณเตือนเฝ้าระวังผู้ป่วยทางจิตรุนแรงจากยาเสพติด คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up