พบสถิติผู้ป่วยยาเสพติดที่มี โรคทางจิตเวช ก่อเหตุรุนแรงในสังคมเพิ่มมากขึ้น!!
- การทำร้ายร่างกายตนเอง และผู้อื่นมากที่สุด จำนวน 90 คน
- รองลงมาเป็นการทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย จำนวน 58 คน
- ลักทรัพย์ จำนวน 47 คน
- ทำลายข้าวของ จำนวน 44 คน
ทั้งนี้ จากรายงานพบว่า ผู้ที่ก่อเหตุรุนแรงในข่าวเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่เคยเข้ารับการบำบัด จำนวน 104 คน
7 สัญญาณเตือนเฝ้าระวังผู้ป่วย โรคทางจิตเวช รุนแรงจากยาเสพติด
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง และใช้แนวทางการสังเกตจาก 7 สัญญาณเตือนผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดก่อความรุนแรง เพื่อช่วยลดโอกาสที่จะก่อให้เกิดความสูญเสีย และอันตรายต่อผู้อื่น หากเราพบผู้ป่วยที่เข้าข่ายจะได้รีบแจ้งเตือนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาดูแล และรับไปรักษาได้ทันก่อนเกิดเหตุร้าย โดยมีสัญญาณเตือน ดังนี้
- ขีดข่วน หรือกรีดตัวเองเป็นรอยแผล
- ส่งเสียงดัง หรือตะโกนด่าด้วยคำหยาบคายรุนแรง
- ข่มขู่จะทำร้ายผู้อื่น
- ทำร้ายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ
- พกพา หรือสะสมอาวุธโดยไม่สมเหตุสมผล
- รื้อ ขว้างปาข้าวของกระจัดกระจาย
- ทำลายสิ่งของจนแตกหัก
การเฝ้าระวังพฤติกรรม และอาการที่เข้าข่ายเป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต โรคทางจิตเวช ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ได้แก่
- หูแว่ว
- เห็นภาพหลอน
- หวาดระแวงไร้เ้หตุผล
- อยากฆ่าตัวตาย
- ทำร้ายตนเอง
- ทำร้ายคนอื่น
- พูดจาก้าวร้าว
- พูดจาเพ้อเจ้อ
- หลงผิด
- แต่งกายแปลกกว่าคนปกติ
หากพบเห็นผู้ป่วยที่มีอาการต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเนื่องมาจากการใช้ยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแจ้งเหตุฉุกเฉิน โทร. 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อนำตัวเข้ารักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลจิตเวช เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป เป็นการช่วยลดการก่อเหตุความรุนแรงในสังคม ตามแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 เพราะ อันตรายมีอยู่รอบตัวลูก พ่อแม่จึงต้องคอยเฝ้าระวัง
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.dailynews.co.th/prachatai.com/gnews.apps.go.th
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
หมดกังวลเรื่องอุบัติเหตุ! ด้วย 4 วิธีป้องกันอันตราย ให้ลูกน้อยมีอิสระ เรียนรู้ได้เต็มที่
ที่เที่ยวสำหรับเด็ก ปิดเทอมนี้ ทั้งสนุก ได้เรียนรู้ ใกล้กรุง!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่