กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง
ภาวะกระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก หรือ pulled elbow ส่วนมากจะพบในเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เนื่องจากสรีระกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อศอกของเด็กในวัยก่อน 5 ขวบนั้น ยังมีการพัฒนาที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ง่ายต่อการเคลื่อนหลุด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็ก กระดูกข้อศอกเคลื่อนนั้น เกิดได้หลายสาเหตุ
- พ่อแม่ ดึงแขนลูกแรง
- พ่อแม่ ยกตัวลูกขึ้นมาจากพื้นโดยใช้แขน หรือมือเพียงข้างเดียวในการดึงลูก
- การเล่นอุ้มเด็กเหวี่ยงแขนลูก
- การจับลูกโยนตัวลอย
- เกิดจากอุบัติเหตุลื่นล้ม
วิธีสังเกต เมื่อลูกมีอาการกระดูกข้อศอกเคลื่อน
- เด็กจะร้องไห้เสียงดังทันที
- ไม่ยอมขยับแขน และข้อศอกอยู่ในท่างอเล็กน้อย หุบเข้าหาลำตัว แต่ยังขยับหัวไหล่ได้ แต่จะไม่ขยับข้อศอกเนื่องจากเด็กยังมีอาการเจ็บมาก
- ในบางรายอาจจะสามารถขยับเข้าที่ได้เอง ขยับแขนได้เป็นปกติ และหายปวด แต่หลังจากนั้นก็ควรพาเด็กไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้คุณหมอตรวจให้ละเอียดเพิ่มเติมว่ามีปัญหาอื่นร่วมด้วยหรือไม่
คุณแม่ๆต้องระวังเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ เพราะถ้าหากเด็กเคยมีอาการกระดูกเคลื่อนแล้ว จะเป็นซ้ำอีกได้ง่ายมาก ภายใน 3-4 สัปดาห์ ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแล และระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อาจจะเพิ่งเกิดการเคลื่อนของกระดูกลูก
<<อ่านต่อหน้า 3 >>
การปฐมพยาบาล และการป้องกันเด็กกระดูกข้อศอกเคลื่อน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่