3 วิธีเอาตัวรอด จากภัยร้ายที่พบบ่อยสำหรับ "เด็กเล็ก" - Amarin Baby & Kids
วิธีเอาตัวรอด การแก้ปัญหา

3 วิธีเอาตัวรอด จากภัยร้ายที่พบบ่อยสำหรับ “เด็กเล็ก”

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีเอาตัวรอด การแก้ปัญหา
วิธีเอาตัวรอด การแก้ปัญหา

วิธีเอาตัวรอด เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน จะดีไหมหากเราสอนลูกให้มีทักษะเหล่านี้ตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อให้ช่วยเหลือตัวเองได้หากต้องไปประสบกับภัยร้ายเข้า

3 วิธีเอาตัวรอด จากภัยร้ายที่พบบ่อยสำหรับ “เด็กเล็ก”

ทักษะการแก้ปัญหาในเด็ก เป็นทักษะที่มีความจำเป็นอย่างมากในโลกยุคปัจจุบัน ในยุคที่เด็กต้องก้าวออกสู่สังคม และการเผชิญชีวิตด้วยตนเองเร็วขึ้นกว่าเด็กในสมัยก่อนมากนัก ในยุคก่อน เด็กจะเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนเมื่ออายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ (เด็กประถม) แม้ว่าในปัจจุบัน ข้อกำหนดยังคงเป็นเงื่อนไขเดิม แต่ค่านิยมของสังคมกลับก้าวเร็วไปกว่าข้อกำหนด กฎเกณฑ์นั้น ๆ ทำให้เรามักจะพบว่า เด็กต้องเข้าเรียนในชั้นอนุบาลกันแทบทุกคน ซึ่งทำให้เด็กอายุเพียง 3-6 ขวบ ก็ต้องออกมาเผชิญโลกกว้างกันเสียแล้ว และในเด็กบางคนที่ต้องดูแลตัวเองให้ได้ เพราะความจำเป็นเรื่องเวลาที่พ่อแม่ไม่อาจดูแลลูกได้ตลอดเวลาเหมือนดั่งแต่ก่อน

ดังนั้นโอกาสที่เด็กเล็กจะได้เผชิญกับปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ จึงมีความเป็นไปได้สูง เช่น การที่เด็กเล็กต้องนั่งรถโรงเรียนมาโรงเรียนเองแต่เช้า เด็กมีโอกาสที่ต้องอยู่ลำพัง หรือพบปะกับคนแปลกหน้าที่ไม่ใช่คนในครอบครัวมากกว่าเด็กสมัยก่อนที่อยู่บ้าน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การสอนให้ลูกมีทักษะติดตัว ในเรื่องของการแก้ปัญหาจึงเป็นทักษะที่จำเป็นที่เราพ่อแม่ ควรสอนให้ลูกมีความฉลาดแก้ปัญหา (AQ: Adversity Quotient) ทำให้ลูกรู้จัก วิธีเอาตัวรอด ได้เมื่อเกิดภัยร้ายมาถึงตัวด้วยตนเอง

เด็กเล็ก เก่งกว่าที่พ่อแม่คิด สอน วิธีเอาตัวรอด เมื่อยามภัยมาได้
เด็กเล็ก เก่งกว่าที่พ่อแม่คิด สอน วิธีเอาตัวรอด เมื่อยามภัยมาได้

3 ทักษะ วิธีเอาตัวรอด ที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็ก !!

พญ.พรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสมอง การเรียนรู้ และพัฒนาการเด็ก แนะพ่อแม่ควรสอนลูกถึงทักษะที่จำเป็น 3 ทักษะในปัจจุบันที่เอาไว้ใช้ในการเอาตัวรอดจากภัยร้ายได้ ในการให้สัมภาษณ์ ดังนี้

กุมารแพทย์ แนะ 3 ทักษะจำเป็นของเด็กเล็ก เอาตัวรอดและป้องกันความสูญเสียจากเหตุจมน้ำ ถูกลืมในรถ และป้องกันถูกลักพาตัว

วันนี้ (1 ก.ย.2565) พญ.พรนิภา ศรีประเสริฐ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสมอง การเรียนรู้ และพัฒนาการเด็ก ให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอสออนไลน์ ในประเด็นทักษะที่ลูกต้องมี เอาตัวรอดเมื่อมีภัยเข้ามาใกล้ตัว

ก่อนพาลูกเข้าโรงเรียนนอกจากสอนเรื่องการช่วยเหลือตัวเอง กินข้าว เข้าห้องน้ำเองแล้ว ปัจจุบันอาจต้องสอนทักษะเอาตัวรอดด้วย นั้นเพราะอันตรายใกล้ตัวลูกกว่าที่คิด ฉะนั้นพ่อแม่จำเป็นต้องเสริมเกราะป้องกันภัยให้ลูก

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th

ทักษะแรก : ทักษะ วิธีเอาตัวรอด “บนรถโรงเรียน”

อย่างที่เห็นในข่าวให้บ่อย ๆ ในเรื่องการ ลืมเด็กบนรถ นั้น เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่ามักเกิดเหตุการณ์ให้เราได้สะเทือนใจกันซ้ำซาก!! ความสูญเสียบน ความประมาท เผลอเรอ เรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่ก็กลับพบสถิติของการลืมเด็กในรถไม่น้อยเลยทีเดียว ย้อนไปดูคดีต่าง ๆ  ที่เคยเกิดขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่ปี 2555 มาจนถึงเคสล่าสุดนี้ กรณีเด็ก 7 ขวบที่ชลบุรีที่เสียชีวิตในรถ มีเคสที่เคยเกิดขึ้นแล้ว อย่างน้อยอีก 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2555-2559 เป็นเด็กหญิง 2 คน เด็กชาย 2 คน (อายุ 3 ขวบ – อายุ 4 ขวบ) เกิดขึ้นในหลายจังหวัด ทั้ง สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช กาฬสินธุ์ และชลบุรี

ทักษะการเอาตัวรอดบนรถโรงเรียน จึงเป็นทักษะที่พ่อแม่ควรสอนลูกเอาไว้ให้ได้ใช้ในยามที่เกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้า อย่างน้อยอาจเป็นการหยุดการสูญเสียชีวิตเด็กได้ โดยไม่ต้องมานั่งเฝ้ารอมาตรการใด ๆ จากผู้ใหญ่ที่ไม่รู้ว่าจะมีมาตรการที่ชัดเจน เป็นระบบให้สามารถหยุดข่าวเศร้านี้ได้เมื่อไหร่

รถโรงเรียน เด็กติดในรถ
รถโรงเรียน เด็กติดในรถ

อย่าลืมสอนลูกให้….เมื่อครูลืม เหลือหนูไว้คนเดียวบนรถ

  • สอนลูกให้ปลดล็อกประตูให้เป็น แม้ว่ารถแต่ละคันจะมีลักษณะของตัวล็อกประตูหน้าตาไม่เหมือนกันนัก แต่การสอนให้ลูกรู้จักวิธีการปลดล็อกไว้บ้าง ก็เป็นการช่วยให้ลูกรู้วิธีที่จะออกจากรถได้ ทางที่ดีหากสามารถสอนลูกปลดล็อกประตูรถตู้ที่ตนเองนั่งประจำได้จะเป็นการดีที่สุด แต่การสอนแบบนี้จะช่วยให้ลูกสามารถรู้ วิธีเอาตัวรอด ได้ในทุกสถานการณ์ไม่เพียงแต่รถโรงเรียน
  • ให้ลูกรู้จักเปิดหน้าต่างรถ หน้าต่างรถก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เด็กจะสามารถเปิดออกจากภายในรถได้ เมื่อถูกลืม ทำให้สามารถตะโกนขอความช่วยเหลือ และยังเป็นการระบายอากาศที่ร้อนอบอ้าวหากในระหว่างนั้นยังไม่มีผู้ใหญ่มาพบเห็นได้อีกด้วย
  • หากเป็นเด็กเล็ก ไม่สามารถเปิดประตูรถตู้บานใหญ่ด้านหลังได้ สอนให้เขารู้จักปีนมาข้างหน้าส่วนคนขับ เพื่อเปิดประตูหน้าที่เป็นประตูที่เปิดง่ายกว่า แต่อย่าลืมกำชับลูกว่าห้ามทำขณะรถวิ่ง และใช้ในกรณีฉุกเฉินที่ถูกลืมไว้ในรถเท่านั้น
  • ให้ลูกสังเกตรูปแตรรถ หรือให้รู้ว่าเมื่อถูกลืมในรถให้กดแตรรถให้เสียงดัง ๆ กดค้างไว้เลยยิ่งดี เพราะแตรรถเป็นส่วนที่หากดับเครื่องยนต์แล้วก็ยังสามารถทำงานได้ หากเป็นเด็กเล็กที่ไม่มีแรงพอ อาจสอนให้เขาใช้ข้อศอก หรือกดสองมือเพื่อช่วยให้มีแรงได้ อย่าลืมให้ลูกได้ลองทำด้วย พ่อแม่จะได้ดูว่าเขาสามารถมีแรงพอในการกดแตรรถไหม และตำแหน่งแตรของรถแต่ละคันอาจไม่เหมือนกัน
  • มีเครื่องมือสื่อสาร หรือติดตามตัวให้ลูกพกไว้ ถ้าพ่อแม่สามารถให้ลูกพกโทรศัพท์มือถือ นาฬิกาโทรศัพท์ได้ หรือจีพีเอสติดตามตัวได้ อย่าลืมสอนให้ลูกรู้จักวิธีการใช้งาน เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน สอนให้เขารู้จักโทรศัพท์มาหาพ่อแม่ และต้องเตรียมเบอร์ฉุกเฉินสำรองไว้ให้ลูกด้วยเผื่อกรณีที่พ่อแม่ไม่ทันได้รับสาย หรือติดธุระ เด็กจะได้โทรหาได้

สังคมเรียกร้อง ขอระบบป้องกันการลืมเด็กในรถที่ดี

พญ.พรนิภา ยังได้ยกตัวอย่างระบบสาธารสุข การผ่าตัด ที่ได้ปรับเปลี่ยน นำระบบการตรวจเช็กที่ดีเข้ามาเสริมเพื่อป้องกันปัญหาการลืมผ้าก๊อซ อุปกรณ์การแพทย์ไว้ในท้องคนไข้ โดยใช้ระบบการขาน จด ให้คนที่มีหน้าที่นับจำนวนผ้าก๊อซที่แกะใช้ และนับอีกครั้งหลังจบการผ่าตัว ก่อนปิดช่องท้อง ถ้าผ้าก๊อซไม่ครบต้องหาให้ครบถึงจะเย็บปิดช่องท้องได้ ทำให้ปัจจุบันไม่ค่อยเจอกรณีลืมผ้าก๊อซ หรืออุปกรณ์การแพทย์ไว้ในท้องคนไข้เท่าสมัยก่อน  ดังนั้นจึงเชื่อว่า “ทุกอย่างสามารถป้องกันได้ หากมีระบบที่ดี และทุกคนปฎิบัติตาม การป้องกันไว้ก่อนจึงสำคัญ”

จากเหตุการณ์น่าสลดใจที่เกิดขึ้นหลายครั้ง เรามาดูมาตรการป้องกันของแต่ละโรงเรียนกันว่า ได้เพิ่มมาตรการเพื่อลดความสูญเสียเรื่อง การลืมเด็กในรถโรงเรียน กันอย่างไร หากโรงเรียนที่ลูกเราเรียนอยู่ยังไม่พบมาตรการในลักษณะนี้จะได้เรียกร้องขอเพิ่มมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ โดยดูตัวแบบจากโรงเรียนตัวอย่างดังต่อไปนี้ได้ ใส่ใจสักนิดเพื่อความปลอดภัยของลูกเรา

ตัวอย่างมาตรการของโรงเรียนสอนเด็กเมื่อถูกลืมในรถโรงเรียน

โรงเรียนอนุบาลโรจน์จิราภา กับกิจกรรมซ้อมบีบแตรในรถโรงเรียน 

กิจกรรมซ้อมบีบแตรในรถโรงเรียน
กิจกรรมซ้อมบีบแตรในรถโรงเรียน

 

เทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า กับการสอนวิธีเด็กเอาตัวรอด เมื่อติดในรถ ป้องกันเหตุสลดซ้ำรอย
จากข่าวสะเทือนใจ กรณีเด็กติดอยู่ในรถตู้โรงเรียน แล้วเสียชีวิต เหตุเกิดที่ จ.ชลบุรี ทางเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ได้ตระหนักถึงเหตุการณ์ดังกล่าวและไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก จึงได้จัดการอบรมสอนเด็กๆ ถึงวิธีฝึกเด็กเอาตัวรอด เมื่อติดอยู่ในรถ โดยสอนให้เด็กได้รู้ว่า ตำแหน่งของแตรรถอยู่ตรงไหน เพื่อที่จะได้กดหากเกิดเหตุฉุกเฉิน แม้ว่ารถจะไม่ได้ติดเครื่อง เพื่อให้คนได้ยินและเข้าช่วยเหลือ

 

โรงเรียนเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า ซักซ้อมเด็กนักเรียนหากเกิดเหตุการณ์ ลืมเด็กในรถ
โรงเรียนเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า ซักซ้อมเด็กนักเรียนหากเกิดเหตุการณ์ ลืมเด็กในรถ ที่มาภาพ 3PlusNews

โรงเรียนบริบูรณ์วิทยา กับมาตรการเปิดประตูรถโรงเรียนหลังส่งนักเรียนเสร็จ

หลังจากรับนักเรียนเข้ามาในโรงเรียนในตอนเช้าเรียบร้อยแล้ว คุณลุงขับรถตู้จะเปิดประตูรถ และทำความสะอาดรถทุกคัน เป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับนักเรียนทุกคน ปฏิบัติเช่นนี้มาตลอด…หลายปีที่ผ่านมาและจะรักษากฎระเบียบเช่นนี้ตลอดไป

ขอขอบคุณภาพจาก รร.บริบูรณ์วิทยา
ขอขอบคุณภาพจาก รร.บริบูรณ์วิทยา

อ่านต่อ>> ทักษะเอาตัวรอดจากคนแปลกหน้า และการจมหน้า และวิธีสอนลูกรู้จักการแก้ปัญหา คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up