4…การพลัดตกหกล้มจากที่สูงหรือสิ่งของล้มทับ
ช่วงปิดเทอมมีเด็กได้รับบาดเจ็บประเภทนี้บ่อยๆ ได้แก่ ตู้ล้มทับ หรือของหนักอื่นๆ ล้มทับ เช่น แป้นบาส หรือเครื่องเล่นต่างๆ ในสนามเด็กเล็ก ประตูรั้ว ซึ่งล้วนเป็นของหนักกว่าร้อยกิโลกรัม ตามสถิติ เฉลี่ยราว 1,186 รายต่อปี
5…อันตรายจากไฟฟ้า
เช่น ไฟดูดเพราะเด็กๆ เอานิ้วหรือวัตถุอื่นๆ แหย่รูปลั๊กไฟ ก่อนปิดเทอมควรสำรวจและจัดการเปลี่ยนบรรดาสายไฟที่มีรอยขาด หรือเก่ากรอบ ครอบปลั๊กไฟและบ้านไหนติดตั้งปลั๊กไฟต่ำชนิด รีบย้ายปลั๊กไฟได้เลยนะครับ (ทางที่ดีควรตามช่างไฟผู้ชำนาญมาแก้ไข จะดีที่สุด)
6…อันตรายจาก “ระเบียงบ้าน”
บ้านไหนมีเด็กเล็กต้องเอาใจใส่ให้มาก ว่าช่องว่างของระเบียงเสี่ยงต่อการที่น้องเล็กอาจเล่นเพลินจนตกลงไปได้ ทางที่ดี ควรติดตั้งที่กั้นกันตก หรือแก้ไขให้เป็นแบบปิดทึบและหนาแน่น ระยะห่างระหว่างลูกกรงนอกจากไม่ควรห่างจนเสี่ยงที่เด็กจะพลัดตกไปทั้งตัว ยังจะต้องไม่ถี่เกินไปเพราะอาจทำให้ศีรษะ แขน ขาของเด็กเข้าไปติด“บันได” เป็นอีกจุดที่มีช่องว่าง ควรติดตั้งที่กั้นบริเวณราวบันได โดยช่องห่างระหว่างราวบันไดไม่ควรห่างเกินไป เพื่อป้องกันเด็กเล็กพลัดตกด้วย
7…อันตรายจากการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ และการ”แชท”
การอนุญาตให้เด็กๆ เล่นเกมก็ได้ แต่ ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นนาน เพราะนอกจากจะทำให้เสียสายตาและการที่ใช้นิ้วมือที่หนักเกินไป มีโอกาสทำให้เกิดโรคนิ้วล็อก เหตุเพราะเกิดเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง
“การแชท”ทางอินเทอร์เน็ต พ่อแม่ควรดูแลและให้คำแนะนำ ด้วยความใจเย็นไม่เอะอะโวยวายนะครับ) เช่น กำชับลูกไม่ให้เขาให้ชื่อ ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ที่แท้จริง อาจยกตัวอย่างจากข่าวภัยอินเตอร์เนตซึ่งเกิดขึ้นเสมอ ให้ลูกได้รับรู้และเข้าใจ เพื่อป้องกันการถูกหล่อลวงจากบุคคลอันตรายที่แฝงตัวมาทางอินเทอร์เน็ต
อย่างไรก็ดี การดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเท่านั้นยังไม่พอ ยังควรส่งเสริมให้ลูกใช้เวลาให้มีคุณค่าและ “มีความสุข”ด้วย เช่น จัดหากิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะเด็กตามวัย เปิดโอกาสให้เด็กใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ และสร้างเพลิดเพลินสนุกสนาน ทำให้เป็นปิดเทอมที่พ่อแม่สบายใจ…ลูกๆ ก็มีความสุขกันถ้วนหน้าค่ะ