หยุดพฤติกรรม เขย่าลูก ไม่ว่าจะเล่นหรือพลั้งเผลออาจเสียใจจนตาย - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
เขย่าลูก

หยุดพฤติกรรม เขย่าลูก ไม่ว่าจะเล่นหรือพลั้งเผลออาจเสียใจจนตาย

Alternative Textaccount_circle
event
เขย่าลูก
เขย่าลูก

เมื่อพลาดพลั้งไปแล้วควรทำตัวอย่างไรดี??

ข้อแนะนำถ้าเด็กรู้สึกผิดปกติ

เมื่อพ่อแม่รู้ตัวว่ามีการ เขย่าลูก ที่อาจจะรุนแรงเกินไปไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ให้คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตอาการของลูกว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่

  • อาการอาเจียน
  • หายใจลำบาก
  • เด็กจะรู้สึกหงุดหงิด งอแง
  • ไม่ยอมดูดนม ไม่ยอมกิน
  • ผิวซีด หรือเป็นสีม่วงคล้ำ
  • ไม่ยอมตื่น
  • ชัก
  • ไม่สามารถตอบสนองต่อเสียงเรียกได้

สิ่งสำคัญที่สุด หากลูกมีอาการไม่ดี ควรรีบพาไปพบแพทย์ เด็กต้องได้รับการตรวจจากกุมารแพทย์ทันที และควรต้องแจ้งแพทย์ด้วยเสมอ ให้ประวัติแก่หมอว่าเด็กถูก เขย่าอย่างรุนแรงมา เพราะถ้าไม่มีประวัตินี้แพทย์อาจจะไม่ได้นึกถึง และอาจวินิจฉัยได้ล่าช้า ทำให้การรักษาไม่ท้นท่วงที เกิดอันตรายที่รุนแรงถึงชีวิตได้ สมองเด็กที่ได้รับอันตราย หรือเลือดออกในสมองจากการเขย่า ถ้าไม่รีบทำการรักษาอาการจะเลวลง และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาที่เป็นอันตรายต่อเด็กได้มากขึ้น

เขย่าลูก เขย่าทารก ไม่ควรทำ
เขย่าลูก เขย่าทารก ไม่ควรทำ

ในขณะที่บางครั้งมีรอยฟกช้ำบนใบหน้า คุณพ่อคุณแม่อาจไม่เห็นสัญญาณของการบาดเจ็บที่ร่างกายส่วนนอกของเด็ก การบาดเจ็บที่อาจมองไม่เห็นในทันที ได้แก่ เลือดออกในสมองและดวงตา ไขสันหลังเสียหาย และกระดูกซี่โครง กะโหลก ขา และกระดูกส่วนอื่นๆ หัก

ในกรณีที่มีอาการเขย่าทารกไม่รุนแรงพอ เด็กอาจดูเหมือนปกติหลังจากถูกเขย่า แต่เมื่อเวลาผ่านไป เด็กอาจมีปัญหาสุขภาพหรือพฤติกรรม จึงนับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากในการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ยิ่งโดยเฉพาะการ เขย่าลูก ไม่ได้มาจากพ่อแม่เอง แต่อาจจะเป็นผู้เลี้ยงลูกคนอื่น หรือพี่เลี้ยง เป็นต้น

อย่ามัวแต่คิดว่าไม่เป็นไร รีบส่งโรงพยาบาลหากพบลูกผิดปกติ หลังถูกเขย่า!!

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เมื่อลูกถูกกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรงจากการถูกเขย่า สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องรีบทำหลังจากพบอาการผิดปกติของลูก คือ การพาลูกไปโรงพยาบาล และแจ้งประวัติว่าเด็กเคยมีการถูก เขย่าอย่างรุนแรงมาก่อน อย่ามัวแต่รีรอ คิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่เช่นนั้นคุณอาจจะไม่โชคดีอย่างเคสที่ขออนุญาต หยิบยกมาเป็นอุทาหรณ์ของคุณแม่ท่านนี้

แม่แชร์อุทาหรณ์ ลูกถูกเขย่าตัว หรือ “Shaken Baby Syndrome” จนเลือดออกในสมอง หมอบอกให้ทำใจ เพราะเป็นตายเท่ากัน แต่แม่ไม่ยอมแพ้ รีบย้าย รพ. รักษา ลูกรอดปาฏิหาริย์

คุณแม่ท่านหนึ่งใน กทม. เล่าประสบการณ์เฉียดตายของลูกด้วยภาวะ Shaken Baby Syndrome ว่า ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ลูกวัย 5 เดือน เกิดอาการผิดปกติ แหวะนมและนอนกระตุก เธอพาไป รพ.ใกล้บ้านทันที

ในระหว่างนี้ลูกมีอาการผิดปกติเพิ่มคือ ร้องไห้หนัก และบางครั้งกลั้นหายใจ แพทย์ตรวจอาการแล้วระบุสาเหตุ ท้องอืดเพราะนมไม่ย่อย แต่เธอรู้สึกเอะใจ เพราะผลตรวจเลือดผิดปกติ จึงขอย้ายลูกด่วนไปรักษา รพ. อื่น

อุทาหรณ์เกือบเสียลูก เพียงแค่เขย่า
อุทาหรณ์เกือบเสียลูก เพียงแค่เขย่า

เมื่อถึง รพ. ลูกถูกนำเข้าห้อง ไอซียู (Intensive Care Units หรือ ICU ) คือ ห้องดูแลผู้ป่วยหนักทันที ลูกถูกเจาะน้ำไขสันหลัง และถูกส่งต่ออีก รพ. ทันทีเนื่องจากลูกชัก และทำ ซีที สแกน (Computerized Tomography Scan หรือ CT SCAN) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบ “เลือดออกในสมอง” สาเหตุจากเด็กถูกเขย่ารุนแรงเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และหมอบอกให้ทำใจเพราะเป็นตายเท่ากัน

ลูกรอดปาฏิหาริย์ โชคดี “แม่” ตัดสินใจเร็ว
ลูกแอดมิทใน ICU เป็นเวลา 7 วัน หัวอกคนเป็นแม่สุดระทมด้วยความเป็นห่วง กินไม่ได้ นอนไม่หลับจนร่างกายผ่ายผอม แต่อาจด้วยแรงอธิษฐานของเธอ และลูกที่ใจสู้ ไม่นานความกังวลของเธอก็หมดไปเมื่อหมอบอกข่าวดี ลูกตอบสนองการรักษาได้ดีกว่าที่คิด และนำมารักษาที่ห้องพักฟื้นทั่วไปเวลาผ่านไปเดือนกว่าลูกของเธอหายดี และกลับบ้านได้ ปัจจุบันลูกอายุ 1 ขวบกว่า พัฒนาการเป็นไปตามวัย แต่ยังต้องกินยาประจำและพบหมอติดตามอาการทุกเดือน

ที่มา : https://www.thairath.co.th
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.thaihealth.or.th/https://hellokhunmor.com/https://www.mayoclinic.org/https://www.rama.mahidol.ac.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

120 คำคมโดน ๆ กระแทกใจ ยอดไลค์พุ่ง!!

โปรแกรมตั้งชื่อมงคล หาชื่อมงคล วิเคราะห์ชื่อดีเสริมบารมีลูก ฟรี!!

แนะนำ ของเล่น เพื่อลูก ทั้งสนุกฝึกสมองเสริมการเรียนรู้

กุญแจสำคัญ 3 ขวบ ปีแรก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ พัฒนาการดี สมองดี มีความสุขไปจนโต

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up