วิ่งซ่อนต่อสู้วิธี เอาตัวรอด จากเหตุกราดยิงทักษะที่ลูกควรรู้ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
เอาตัวรอด เหตุกราดยิง

วิ่งซ่อนต่อสู้วิธี เอาตัวรอด จากเหตุกราดยิงทักษะที่ลูกควรรู้

Alternative Textaccount_circle
event
เอาตัวรอด เหตุกราดยิง
เอาตัวรอด เหตุกราดยิง

เมื่อเจ้าหน้าที่มาถึง ข้อควรรู้สำหรับผู้ประสบเหตุ

เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเพื่อหยุดคนร้ายโดยเร็วที่สุด และจะดำเนินการตรงไปยังจุดที่ได้ยินเสียงปืนนัดสุดท้าย สิ่งที่ควรรู้ไว้ คือ

  • เจ้าหน้าที่อาจมีอาวุธจำนวนมาก และอาจสวมอุปกรณ์ยุทธวิธี
  • เจ้าหน้าที่อาจตะโกนสั่ง และผลักคนลงกับพื้นเพื่อความปลอดภัย
  • เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ในที่เกิดเหตุจะไม่หยุดช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
PTSD ในเด็ก
PTSD ในเด็ก

วิธีปฎิบัติมื่อเจ้าหน้าที่มาถึงที่เกิดเหตุ :

  • อยู่ในความสงบและปฏิบัติตามคำแนะนำ
  • ให้มือมองเห็นได้ และว่างเปล่า
  • หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วต่อเจ้าหน้าที่ หลีกเลี่ยงการชี้
  • อย่าพยายามหยุดเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือ
  • อพยพไปในทิศทางที่เจ้าหน้าที่กำลังเข้าสู่สถานที่

PTSD ความผิดปกติทางจิตใจหลังภยันตราย

ทุกครั้งที่เกิดเหตุสะเทือนขวัญ “สภาพจิตใจของเหยื่อ” เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม และต้องให้ความสำคัญกับวิธีการดูแลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์เฉียดตาย ความรุนแรงต่าง ๆ ตลอดจนภัยที่คุกคามถึงชีวิต เพราะอาจทำให้เป็นโรค PTSD หรือโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง เป็นภาวะทางจิตที่เกิดจากการเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตึงเครียด น่ากลัว หรือกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง

สัญญาณบ่งบอกของ PTSD ในเด็ก

อาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึง PTSD ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ มีดังนี้

  • รู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือหดหู่
  • เห็นภาพเหตุการณ์หรือฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ และนึกถึงเหตุการณ์นั้นอยู่เสมอ
  • พยายามหลีกเลี่ยงคนหรือสถานที่ที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น
  • มีความคิดในแง่ลบหรือมีอารมณ์ขุ่นมัว เช่น รู้สึกผิด กระวนกระวายใจ ตำหนิตัวเอง รู้สึกอาย รู้สึกสิ้นหวัง รู้สึกแปลกแยกจากพ่อแม่ กลุ่มเพื่อนหรือผู้ใหญ่คนอื่น ๆ ไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบทำ ไม่ร่าเริงแจ่มใส และอาจแสดงพฤติกรรมที่ดูหวาดกลัว เป็นต้น
  • นอนหลับยาก
  • แสดงออกถึงเรื่องราวในเหตุการณ์นั้น ๆ ผ่านทางการวาดภาพหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • แสดงอารมณ์ต่าง ๆ มากเกินไป เช่น หงุดหงิด โมโหรุนแรง ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รู้สึกหวาดระแวง ตกใจหรือสะดุ้งง่าย เป็นต้น
  • มีพัฒนาการที่ช้าหรือพัฒนาการที่ถดถอยในหลายด้าน ซึ่งบางอย่างอาจเป็นสิ่งที่เด็กเคยทำได้แล้วในอดีตแต่กลับไม่ยอมทำหรือไม่สามารถทำได้ในปัจจุบัน เช่น กลับมาปัสสาวะรดที่นอน ใช้ภาษาหรือเคลื่อนไหวร่างกายเหมือนเด็กเล็ก เป็นต้น
ผลกระทบทางจิตใจหลังเจอภยันตราย
ผลกระทบทางจิตใจหลังเจอภยันตราย

วิธีการรับมือ

  1. รับฟังปัญหาและให้กำลังใจลูกอยู่เสมอ เด็กบางคนอาจรู้สึกสบายใจที่จะเขียนหรือวาดภาพเพื่ออธิบายเหตุการณ์ดังกล่าว โดยคุณอาจให้กำลังใจและอธิบายเพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ใช่ความผิดของพวกเขา และพยายามไม่ให้พวกเขาตำหนิตนเอง
  2. ให้ลูกใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ อาจจะเป็นเรื่องยากในช่วงแรก ต้องให้เวลาลูกในการปรับตัวสักพัก
  3. หาวิธีสร้างความมั่นใจให้กับลูก สนับสนุนให้ลูกได้ลองตัดสินใจด้วยตนเองในบางเรื่อง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตำหนิลูก หากลูกของคุณมีพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งบอกถึงพัฒนาการที่ถดถอย ให้เวลาเขาได้ฟื้นฟูจิตใจ
  4. หากลูกมีอาการของโรคนี้เป็นระยะเวลานานกว่า 1 เดือน หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ควรเข้ารับการช่วยเหลือจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.smcm.edu/uvaemergency.virginia.edu/www.pobpad.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ความประมาท อันตรายกว่าที่คิดเปิดวินาทีช็อกที่นอนทับลูก

ลูกหัวโน หัวกระแทกของแข็ง ควรทำอย่างไร อาการแบบไหนต้องรีบพาไปหาหมอ?

4 เทคนิค “สร้างวินัยเชิงบวก” พูดแบบไหน?..ให้ลูกยอมทำตามแต่โดยดี

อย่ารอให้เกิดก่อน! เทคนิคสอนลูกไม่ให้ถูก ล่วงละเมิด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up