ลูกจมน้ำ ห่วงยาง เป็นเหตุ พ่อแม่ไม่ควรประมาท (มีคลิป)
ลูกจมน้ำ ห่วงยาง

คลิปจริง เตือนใจพ่อแม่ ปล่อยลูกเล่นน้ำ แม้ “มีห่วงยาง” ใช่ว่าจะปลอดภัย!

event
ลูกจมน้ำ ห่วงยาง
ลูกจมน้ำ ห่วงยาง

คลิปเหตุการณ์จริง! เด็กน้อยจมน้ำคาห่วงยาง

បើជាអ្នក ថាតើគួរទុកកូនជិតស្លាប់យ៉ាងនេះឬទេ? អ្នកនឹងសោកស្ដាយបើសិន​ជាខកខានមើលវីដេអូមិនដល់ចប់ ទាំងនេះជាក្តីធ្វេស​ប្រហែសមួយ ស្ទើរតែឆ្កួតលីលាបើសិនជាកូនក្មេងម្នាក់នេះស្លាប់។ រឿងហេតុថ្មីៗកាលពីម្សិល​មិញ។ សូមទស្សនាក្តីរន្ធត់មួយនេះ និងសូមរក្សាទុកក្នុងចិត្ត ជាបទពិសោធន៍ក្នុងជីវិតរស់នៅប្រចាំថ្ងៃរបស់អ្នក។ ខ្ញុំមើលដោយទឹកភ្នែកផង ខឹងផង។

โพสต์โดย Kou Samedy គូ សាមម៉ឺឌី บน 17 พฤษภาคม 2017

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Kou Samedy គូ សាមម៉ឺឌី

ซึ่งหลังจากได้ดูคลิปนี้แล้ว ทาง Amarin Baby & Kids ก็ขอให้คลิปนี้เป็นอุทาหรณ์ให้คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองทุกคนว่าอย่าวางใจว่าเด็กมีห่วงยาง เพราะแม้จะมีห่วงยางและอยู่อ่างเล็กๆก็อาจทำให้เด็กจมน้ำได้นะคะ

วิธีการช่วยชีวิตลูกน้อยหลังจมน้ำ

การปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีจะช่วยเหลือเด็กจมน้ำได้ เด็กจมน้ำจะขาดอากาศหายใจและหมดสติ น้ำที่สำลักเข้าไปในปอดแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่วินาที ความพยายามที่จะเอาน้ำออก เช่น การอุ้มพาดบ่าเพื่อกระทุ้งเอาน้ำออก หรือการวางคว่ำบนกระทะใบบัวแล้วรีดน้ำออก ไม่มีความจำเป็นและอาจก่อให้เกิดผลเสียได้น้ำที่ไหลออกมาจากการกระทุ้งหรือรีดท้องนั้นเป็นน้ำจากกระเพาะอาหาร ไม่ใช่น้ำจากปอด

ดังนั้น หลักการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่สำคัญที่สุด คือการช่วยให้เด็กหายใจได้ให้เร็วที่สุด โดย  รศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์ กุมารแพทย์โรคหัวใจ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำถึง 8 ขั้นตอนช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ดังนี้

ลูกจมน้ำ ห่วงยาง
ขอบคุณภาพจาก : สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  1. รีบนำเด็กขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด
  2. แจ้ง 1669 หรือ หน่วยพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด
  3. ห้ามนำเด็กวิ่งอุ้มพาดบ่า เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำในปอดไหลออกมาแล้ว ยังทำให้การช่วยชีวิตเด็กช้าลงไปอีก
  4. วางเด็กลงบนพื้นแห้ง แข็ง ถอดเสื้อที่เปียกออก เช็ดตัวเด็กให้แห้งเท่าที่จะทำได้
  5. หากเด็กไม่รู้สึกตัว ให้คลำชีพจรบริเวณคอ (เด็กโต) หรือ บริเวณข้อศอก (เด็กเล็ก)
  6. หากไม่พบว่ามีชีพจร หรือ ไม่แน่ใจว่ามีชีพจร ให้เริ่มนวดหัวใจ โดยวางสันมือบริเวณกลางหน้าอก ต่ำกว่าราวนมเล็กน้อย กดหน้าอกให้ยุบลงไปประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของหน้าอก ด้วยอัตราอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที ทำติดต่อกัน 30 ครั้ง จากนั้นบีบจมูกและเป่าปากพอให้หน้าอกยกขึ้น 2 ครั้ง และรีบนวดหัวใจต่อ ทำสลับกันในอัตราส่วน 30:2 ติดต่อกัน 5 ชุด (หรือประมาณ 2 นาที)
  7. เมื่อครบ 2 นาทีแล้ว ให้ตรวจคลำชีพจรอีกครั้ง หากมีชีพจร หรือ เริ่มหายใจได้เอง ให้หยุดนวดหัวใจ จัดท่านอนตะแคงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ และรีบนำส่งโรงพยาบาล
  8. หากยังไม่มีชีพจร หลังครบ 2 นาที ให้นวดหัวใจ สลับเป่าปาก ต่อไปเรื่อยๆ และตรวจชีพจรซ้ำอีกครั้ง เมื่อครบ 2 นาที ทำซ้ำไปจนกว่าจะมีทีมแพทย์มาช่วยเหลือ หรือ จนกว่าเด็กจะเริ่มรู้สึกตัว

ทั้งนี้ในประเทศไทย บ้านเราก็มักมีอุบัติเหตุเด็กจมน้ำเสียชีวิตบ่อยครั้ง แต่มีผู้ใหญ่ไม่น้อยที่คิดว่า “เด็กโตแล้ว” จึงวางใจเกินไป คิดเอง (เออเอง) ว่าเด็กวัยนี้เข้าใจดีแล้วเรื่องเสี่ยงไม่เสี่ยง หลีกเลี่ยงภัยได้เองแล้ว จึงไม่ต้องดูแลใกล้ชิดจนอาจถึงขั้นปล่อยปละละเลย จำนวนของเด็กวัยนี้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุสารพัดจึงยังสูงอย่างต่อเนื่อง แล้วจะให้ลูกเล่นน้ำอย่างไรให้ปลอดภัย ไปดูคำแนะนำจาก รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี กันค่ะ

อ่านต่อ >> “ให้ลูกน้อยเล่นน้ำอย่างไรให้ปลอดภัย” คลิกหน้า 3

แนะนำบทความน่าอ่าน คลิกเลย!


ขอบคุณข้อมูลจาก :  www.manager.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up