“TikTok Brain”
หนึ่งในแอปพลิเคชั่นที่มาแรง โดยเฉพาะในหมู่เด็ก ๆ ในยุคนี้ เห็นจะเป็น TikTok สื่อโซเซียลที่เน้นการแสดงคลิปขนาดสั้น ๆ ที่ผู้ใช้สามารถสร้าง และลงเรื่องราวให้กับผู้ใช้รายอื่น สามารถรับชมกันได้อย่างง่าย TikTok คือแอปพลิเคชันที่เป็นบริการเครือข่ายสังคมสัญชาติจีน ติ๊กต็อกเป็นบริการประเภทไมโครบล็อกกิง (micro-blogging) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเนื้อหาวิดีโอสั้น ๆ ความยาวไม่เกิน 15 วินาที เช่น การแสดงทักษะหรือท่าเต้น การแสดงมุกตลก การร้องตามด้วยริมฝีปาก (ลิปซิงก์) เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.wsj.com
พ่อแม่จะหยุดภาวะ TikTok Brain ได้อย่างไร??
คอร์เทกซ์ (cortex) สมองส่วนหน้า สมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนหรือโปรแกรมพฤติกรรมเกี่ยวกับการรับรู้ที่ซับซ้อน บุคลิก การตัดสินใจ และเกี่ยวข้องกับการควบคุมความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับสังคม ภารกิจหลักในสมองส่วนนี้ก็คือการควบคุมความคิดและการกระทำให้สอดคล้องกันไปตามเป้าหมายที่อยู่ภายในใจ สมองส่วนนี้จะยังไม่เจริญเต็มที่ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ดังนั้นจึงเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เป็นผลให้พวกเขาไม่มีทางเลือกนอกจากต้องเพิ่มปริมาณการเสพคลิปสั้นจากสื่อนี้ทุกวัน แล้วพ่อแม่จะทำอะไรได้บ้าง…
1.กำหนดเวลาในการเล่นให้ชัดเจน
แม้ว่าทาง TikTok จะเพิ่มฟีเจอร์ในการเตือนให้มีการหยุดพัก แต่พ่อแม่ ผู้ปกครองควรตั้งข้อกำหนดเรื่องเวลาในการใช้สื่อเทคโนโลยีให้กับลูกอย่างชัดเจนเอง จะเป็นการดีกว่า เพราะจะทำให้เด็กมีระเบียบวินัยในตนเอง ว่าควรเล่นระยะเวลาเท่าไรจึงจะเหมาะสม เช่น กำหนดให้เล่นได้วันละไม่เกิน 1 ชม. และวันหยุดอาจเพิ่มเป็น 2 ชม. เป็นต้น
2.สอดส่อง…ดูแล
คอยดูว่าสิ่งที่ลูกเล่นอยู่คืออะไร มีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหนกับวัยของเขา อย่างเกมที่มีความรุนแรง เช่น เกมปล้น ยิง หรือฆ่าฟันกันก็ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเท่าไร แต่การสอดส่อง ไม่ใช่เป็นการบ่นด่า พ่อแม่ควรเข้าหาลูกด้วยความเป็นเพื่อน พูดคุยด้วยเหตุด้วยผล หากเราสามารถเล่นด้วยไปกับลูกก็จะทำให้เด็กรับฟังความคิดเห็นของเรามากกว่าการตั้งท่าติ เพียงฝ่ายเดียว
3.ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ใช้สื่อเทคโนโลยี
เด็กวัยต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรเล่นหรือดูสื่อเหล่านี้เด็ดขาด เพราะมีผลทำให้พัฒนาการล่าช้า และในเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุด ในการเรียนรู้ เนื่องจากสมองของเด็กจะพัฒนาสูงสุด ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมโดยรอบจะเป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมองในช่วงต้น หากปล่อยให้เด็กใกล้ชิดสื่อเหล่านี้มากเกินไปโดยไม่กำหนดเวลาดูหรือเลือกสื่อ ที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลเสียหลายด้าน
4.เล่นได้…แต่ไม่ใช่เจ้าของ
บางครั้งเมื่อเห็นว่าลูกอยากได้อุปกรณ์เทคโนโลยีก็ซื้อให้ แต่สิ่งที่ตามมาคือลูกจะแสดงความเป็นเจ้าของ มักโกรธและแสดงอารมณ์รุนแรงเมื่อพ่อแม่บอกให้หยุดเล่น จนทำให้ไม่สามารถควบคุมการใช้งานสิ่งเหล่านี้ของลูกได้ ฉะนั้น พ่อแม่ยังต้องคงความเป็นเจ้าของ แต่ให้สิทธิ์ลูกๆ ในการเล่นได้บ้าง เพื่อควบคุมเวลาในการเล่นอุปกรณ์เทคโนโลยีของลูกได้
5.เปิดโอกาสให้ลูกเจอโลกในด้านอื่นบ้าง
เด็กสมัยนี้มักจะเล่นแต่แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน หรือเกม จนทำให้ขาดการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ หรือสังคม และทำให้การเล่นแบบใช้จินตนาการอย่างเด็กรุ่นก่อนๆ ขาดหายไป ส่งผลให้ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กลดลง ดังนั้น พ่อแม่ควรจัดสรรเวลาให้ลูกอย่างสมดุล โดยให้เขาทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง เช่น เล่นกีฬา เต้น ร้องเพลง วาดรูป สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ วิ่งเล่นกับเพื่อนๆ บ้าง
6.ดึงความสนใจของลูกออกจากจอบ้าง
เวลาที่เด็กใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีแล้วไม่สนใจเมื่อพ่อเม่เรียกหรือพูดคุยด้วย พ่อแม่ควรเดินเข้าไปใกล้ๆ เพื่อให้เขาสบตา หรือถ้ายังไม่สนใจอีกควรเดินไปสะกิดที่ตัวของเด็ก เพื่อให้เขาฟังในสิ่งที่พูด
7.พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี
ไม่ว่าเราจะตั้งกฎเกณฑ์ด้วยความหวังดีกับลูกมากเพียงใด หากแต่เราไม่ได้เป็นตัวอย่าง ต้นแบบที่ดีให้แก่เขา กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้นก็คงไร้ประโยชน์ ดังนั้นพ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูกด้วย อยากให้ลูกเป็นเช่นไรเราก็ควรทำแบบนั้นเช่นเดียวกัน ให้เวลาคุณภาพกับลูก เพราะถึงอย่างไรสิ่งที่ลูกต้องการมากที่สุดย่อมหนีไม่พ้นพ่อแม่อย่างแน่นอน
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.bangkokhospital.com /www.matichon.co.th/th.wikipedia.org/The MATTER
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่