จนน้องมิกกี้ครบ 11 เดือนจึงพาไปพบหมอผิวหนัง คราวนี้แหละค่ะหมอบอกถึงโรคที่ลูกเป็น แม่นี่ไม่ได้เตรียมใจไปก่อนเลยว่า ลูกเป็นโรคอะไร ตอนที่หมอบอกแม่หูอื้อไปหมด ขาอ่อน มึน งง นี่มันโรคบ้าอะไรทำไมถึงเกิดขึ้นกับลูก ชื่อโรคอะโลฟีเซียยูนิเวอร์ซัลลิส หรือผมร่วง ฟังๆดูแล้วไม่น่ากังวลแต่การดำเนินของตัวโรคชนิดนี้ของน้องมิกกี้คือขั้นรุนแรงคือ ไม่มีผมและขนทั้งร่างกายและเป็นในเด็กเล็ก ซึ่งน้อยคนที่จะเป็นในช่วงอายุช่วงนี้
เมื่อรับการรักษาแล้วอาจจะมีผมขึ้นมาหรือไม่มีก็ได้ หรือมีแล้วก็อาจจะหลุดร่วงไปอีกก็ได้ทั้งผมและขน และน้องเป็นในเด็กเล็กมากเลยไม่มียากินใช้ได้แต่ยาทารักษาไปตามอาการดีหน่อยที่โรคนี้ไม่ถึงแก่ชีวิตแต่จะมีผลกับรูปลักษณ์ภายนอก
แล้วหมอก็แนะนำให้ปรึกษากับหมอเด็กเฉพาะทางโรคผิวหนังที่ รพ.ศิริราช ตอนนี้น้องมิกกี้ก็รักษามาได้ 3 เดือนแล้วค่ะ เหมือนจะดีขึ้น แต่ตอนนี้แม่ดูเหมือนว่าผมจะเริ่มๆร่วงอีกแล้วค่ะ ก็ได้แต่บอกกะตัวเองและลูกว่า ไม่เป็นไรลูกยังเด็กนักตอนนี้ยังไม่ชนะ เดี๋ยวพอโตขึ้นก็จะรักษาได้ดีกว่านี้เดี๋ยวเราก็จะชนะมันนะลูก …
ขอบคุณเรื่องราวและภาพจาก คุณแม่น้องมิกกี้ (วนิดา ชัยสิทธิ์ เจ้าหญิง)
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : อาหารที่ช่วยให้ลูกน้อยผมดกดำตั้งแต่อยู่ในท้อง
ตามปกติผมของคนเราจะร่วงเป็นประจำ หรือทุกวันอยู่แล้ว ซึ่งตามวงจรธรรมชาติของรากผม โดยจะมีประมาณ 5 -10 % ของจำนวนรากผมบนหนังศีรษะ ถ้าคิดเป็นจำนวนเส้นนั้นคงไม่มีใครมานั่งนับหรอกจริงไหม แต่สันนิษฐานไว้ประมาณ 50 – 100 เส้นต่อวัน เริ่มจากหนูน้อยในวัย 3 – 4 เดือนแรก ผมอาจหลุดร่วงได้ตามปกติ เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน เซลล์ของผมก็มีการผลัดใบเพื่อสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ค่ะ แต่ถ้าหลัง 6 เดือนไปแล้ว ผมของทารกยังร่วงจนผิดปกติ ก็คงต้องดูสาเหตุว่าเกิดจากอะไรทั้งจากแชมพูที่ใช้ประจำ หรือไม่ก็เกิดจากอื่นๆ
Good should know : อาการผมเว้าแหว่ง เห็นแล้วเหมือนโดนหนูแทะ มีสาเหตุสำคัญมาจากการเสียดสีผมและศีรษะของเด็ก เช่น ที่นอน ผ้าปู สีไปสีมาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เส้นผมก็จะหลุดง่าย เพราะรากผมเด็กยังอ่อน ไม่แข็งแรง นานเข้าจึงร่อนหายไปเป็นแถบ และเกิดอาการร่วงเป็นหย่อมๆ โบราณอาจเรียกว่า โดนผ้าอ้อมกัด วิธีแก้ คุณแม่อาจเปลี่ยนท่านอนให้ลูกน้อยเป็นท่านอนตะแคง หรือนอนคว่ำให้พอเพียงกัน ส่วนเรื่องที่เว้าๆ แหว่งๆ นั้น พอเจ้าหนูเกินขวบปีไปแล้ว ก็จะค่อยๆ ขึ้นมาเองได้ตามปกติ
ทั้งนี้ อาการผมร่วงในเด็กเกิดจากสาเหตุหลายประการ แต่ละสาเหตุก็มีอาการและวิธีรักษาที่แตกต่างกันไป
- อะโลพีเซีย อารีอาต้า (alopecia areata) หรือโรคผมร่วงเป็นหย่อม เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำปฏิกิริยากับการเติบโตของเส้นผม
วิธีรักษา ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะ 60 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่มีอาการนี้จะมีผมงอกมาใหม่เองใน 12 เดือน หรือหากคุณกังวลใจ ลองปรึกษากับแพทย์ผิวหนังก็ได้
- สาเหตุทางกายภาพ จากการรัดผมหรือถักเปียที่แน่นเกินไป หรือหวีผมแรงๆ
วิธีรักษา คุณควรดูแลเส้นผมและหนังศีรษะของลูกอย่างนุ่มนวลจนกว่าผมใหม่จะเกิดขึ้น คำนึงอยู่เสมอว่าเส้นผมของเด็กนั้นเล็กและบอบบางกว่าผู้ใหญ่ ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมที่อ่อนละมุนเป็นธรรมชาติและหวีผมเพียงเบาๆ
- โรคกลากที่หนังศีรษะ เป็นอาการติดเชื้อที่พบได้มากในเด็กจากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี เป็นต้น เชื้อราจะส่งผลให้รากของเส้นผมอ่อนแอ เกิดผื่นที่ศีรษะเป็นวง รวมทั้งมีสะเก็ดหรือรังแคร่วมด้วย
วิธีรักษา ควรให้ลูกรับประทานยาที่แพทย์สั่งประกอบกับการใช้แชมพูชนิดอ่อนโยนต่อเนื่องกันประมาณ 3 สัปดาห์
- ทรัยโคทิลโลมาเนีย (trichotillomania) หรืออาการถอนผมตัวเอง เด็กจะชอบดึง ทึ้ง ถอนผมตัวเองจนหลุดร่วงหรือแหว่ง ซึ่งอาจเกิดจากความเครียด ความกลัว หรือกังวล อาการนี้อาจลามไปถึงการดึงขนตาและขนคิ้วได้ด้วย
วิธีรักษา ขั้นต้นควรแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยลองใช้เบบี้ออยล์ทาผมลูกให้ลื่นเพื่อให้ดึงทึ้งได้ยากขึ้น แต่ที่สำคัญอย่าลืมหาสาเหตุที่ทำให้ลูกเครียดจนถึงขนาดอยากดึงผมตัวเอง พร้อมกับพูดคุยรับฟังลูกอย่างเปิดกว้างใจเย็น เพื่อขจัดปัญหาที่ต้นตอ
อ่านต่อ >> “อาการผมร่วงในเด็กและวิธีการรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อม” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่