ยา อะม็อกซี่ รักษาหวัดได้ไหม ลูกเป็นหวัดควรกินยาอะไร -Amarin Baby & Kids

ยา อะม็อกซี่ รักษาหวัดได้ไหม ลูกเป็นหวัดควรกินยาอะไร

Alternative Textaccount_circle
event

ยา อะม็อกซี่ รักษาหวัดได้ไหม ลูกเป็นหวัดควรกินยาอะไร

เวลาเป็นหวัดนอกจากพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ แล้ว การรักษาด้วยยาตามอาการก็นับเป็นสิ่งจำเป็น มียาอยู่ตัวหนึ่งที่หลาย ๆ มักซื้อมากินเวลาเป็นหวัด คือ ยา Amoxicillin หรือ ยา อะม็อกซี่ จริง ๆ แล้วยานี้ช่วยรักษาหวัดได้ไหม แล้วถ้าเป็นหวัด เราควรกินยาอะไรเพื่อรักษาอาการบ้าง มาดูกันค่ะ

ไข้หวัด

สาเหตุส่วนใหญ่ของการเป็นหวัดเกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสก่อโรค ร่วมกับสภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง เช่น เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ เวลาเป็นหวัด จะหมายถึงคนที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน แบ่งอาการตามอวัยวะที่เกี่ยวข้อง เช่น

  • ในจมูก จะมีน้ำมูก คัดจมูก แสบจมูก จาม
  • ในคอ จะมีเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ ไอ คอแดง ต่อมทอนซิลโต แดงเป็นหนอง
  • ในหลอดลมส่วนต้น มีเสมหะ เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน

โดยอาจมีอาการร่วมอื่น ๆ  เช่น

  • ไข้
  • ปวดเมื่อย
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • คลื่นไส้
  • ปวดหัว
  • มึนหัว
  • ปวดตัว
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องเสีย

ยารักษาหวัด

ยาที่ใช้เมื่อเป็นหวัดจะเป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาตามอาการเนื่องจากไม่มีการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสก่อโรคโดยตรง ยาที่นิยมใช้ทั่วไปเมื่อเป็นหวัดมีดังนี้

ยาลดไข้  เช่น paracetamol สำหรับผู้ใหญ่ รับประทานยาขนาด 500 mg ต่อเม็ด จำนวน 1-2 เม็ด  สำหรับเด็กจะต้องมีการปรับขนาดยาตามน้ำหนักตัว ดังนั้นควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์หรือเภสัชกร

ยาอีกกลุ่มที่ใช้ลดไข้ คือ ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti Inflammatory Drugs:-NSAIDs) ได้แก่ แอสไพริน (aspirin), ibuprofen ซึ่งการใช้ยาในกลุ่มหลังนี้ให้ผลในการลดไข้ได้อย่างรวดเร็ว แต่แนะนำไม่ให้ใช้แอสไพรินในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

ยาลดน้ำมูกแก้คัดจมูก แบ่ง ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • ยาแก้คัดจมูก ออกฤทธิ์โดยการหดหลอดเลือด ทำให้อาการคัดจมูกลดลง
  • ยาลดน้ำมูก ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งผลของฮีสตามีน (histamine) มีผลทำให้การหลั่งน้ำมูกลดลง แต่จะได้ผลน้อยกับอาการคัดจมูก แบ่งย่อย เป็น 2 กลุ่มคือ
    • กลุ่มที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม
    • กลุ่มที่ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม
ยาอะม็อกซี่
ยา อะม็อกซี่ รักษาหวัดได้ไหม ลูกเป็นหวัดควรกินยาอะไร

ยาบรรเทาอาการไอ แบ่ง ได้เป็น 2 กลุ่มเช่นกัน คือ

  • ยาสำหรับอาการไอมีเสมหะ
  • ยาสำหรับอาการไอที่ไม่มีเสมหะ หรือ ไอแห้ง

หากรักษาสุขภาพไม่ดีอาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำได้ ซึ่งจะมีอาการ ได้แก่ เจ็บคอ น้ำมูกข้นและมีสีเขียวเหลือง ในกรณีนี้ อาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ หรือที่มักถูกเรียกจนติดปากอย่างผิด ๆ ว่า “ยาแก้อักเสบ”

ยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ได้แก่

  • ยากลุ่มแพนิซิลิน (penicillins) ได้แก่ amoxicillin รับประทานหลังอาหารได้
  • ยากลุ่มแมคโครไลด์ (macrolides) ได้แก่ erythromycin, roxithromycin ต้องรับประทานก่อนอาหาร ยกเว้น erythromycin estolate และ erythromycin ethylsuccinate ที่มีการดัดแปลงโครงสร้างของยาแล้ว ทำให้สามารถรับประทานหลังอาหารได้

ยา อะม็อกซี่ Amoxicillin รักษาไข้หวัดไม่ได้

ยา Amoxicillin ไม่ได้ช่วยให้อาการไข้หวัดดีขึ้นหรือหายเร็วขึ้น เนื่องจาก Amoxicillin เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillins) ที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ในขณะที่ไข้หวัดรวมถึงไข้หวัดใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้ Amoxicillin ใช้ไม่ได้ผลในการรักษาหรือบรรเทาอาการต่าง ๆ จากหวัด ทั้งไอ จาม น้ำมูกไหล หรือมีไข้ต่ำก็ตาม

ยกเว้นในกรณีที่ไข้หวัดก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในภายหลัง อย่างไซนัสอักเสบจากแบคทีเรีย

แล้ว Amoxicillin ใช้รักษาอะไร  

Amoxicillin นั้น ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงนำมาใช้รักษาปัญหาสุขภาพที่มีต้นเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย อาทิ ทอนซิลอักเสบติดเชื้อจากแบคทีเรีย คออักเสบจากแบคทีเรีย หลอดลมอักเสบจากแบคทีเรีย ปอดอักเสบ หรือปอดบวมจากแบคทีเรีย การติดเชื้อแบคทีเรียในหู จมูก คอ ผิวหนัง หรือระบบทางเดินปัสสาวะ

ทำไมไม่ควรใช้ Amoxicillin รักษาไข้หวัด

1. ประสิทธิภาพของยาลดลงและเชื้อดื้อยา

การใช้ยา Amoxicillin โดยไม่จำเป็นบ่อยครั้งอาจส่งผลให้ตัวยามีประสิทธิภาพลดลงจนอาจใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียในร่างกายจะพัฒนาตัวเองให้ทนทานต่อยาได้มากขึ้นห ผู้ป่วยจึงต้องใช้ยาในปริมาณมากขึ้น หรือต้องใช้ยาปฏิชีวนะตัวอื่นที่มีฤทธิ์แรงขึ้น

2. เสี่ยงต่อการผลข้างเคียง

นอกจากผลข้างเคียง เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย แล้ว ยังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงที่ควรไปพบแพทย์ทันทีด้วย เช่น แพ้ยา หายใจลำบาก ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องเสียเป็นน้ำหรือปนเลือด คลื่นไส้หรืออาเจียนไม่หยุด เพราะเหตุนี้ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการรับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อลดความเสี่ยงของเชื้อดื้อยาและผลข้างเคียงก็จะลดลงด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, pobpad,คลังยามีนบุรี, โรงพยาบาลกรุงเทพ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a ระบาดหมอชี้มีโอกาสติดเชื้อพร้อมโควิด

พ่อแม่ต้องทำอย่างไร เมื่อลูก ติดไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน

แยกให้ออก ภูมิแพ้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่กับโควิด -19 อาการ ต่างกันยังไง?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up