9 พฤติกรรมการกินยาผิด ๆ ที่ทำให้เสี่ยงตายจาก "เชื้อดื้อยา" - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
เชื้อดื้อยา

9 พฤติกรรมการกินยาผิด ๆ ที่ทำให้เสี่ยงตายจาก “เชื้อดื้อยา”

Alternative Textaccount_circle
event
เชื้อดื้อยา
เชื้อดื้อยา

ยาปฏิชีวนะ กับ ยาแก้อักเสบ เหมือนกันหรือเปล่า?

คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่ายาทั้งสองเหมือนกัน ทำให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้องเป็นประจำ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดเชื้อดื้อยาได้ โดยยาทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกัน ดังนี้
  • ยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ในการฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เช่น เพนิซิลลิน อะม็อกซี่ ยาเหล่านี้ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ จึงไม่สามารถลดอาการอักเสบได้ ใช้ในการแก้อาการปวด หรือละไข้ไม่ได้ โดยยาปฏิชีวนะ จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อไวรัสเลย ดังนั้นหากกินยาปฏิชีวนะในการรักษาไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส นอกจากจะไม่ช่วยให้หายเร็วขึ้นแล้ว ยังส่งผลอันตรายต่ออนาคต คืออาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาได้ง่าย ๆ อีกด้วย
  • ยาแก้อักเสบ คือยาที่มีความสามารถในการลดอาการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ บรรเทาอาการปวด ซึ่งยาชนิดนี้ ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคเลย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียก็ตาม ยาประเภทนี้ได้แก่ แอสไพริน ไดโคลฟิแนค ไอบรูโพนเฟน และพอนสแตน

เป็นหวัด ท้องเสีย เป็นแผลเลือดออก ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ!!

80% ของคนที่เป็นหวัดนั้น เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นการกินยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียจึงไม่ช่วยให้อาการหวัดนั้นดีขึ้น วิธีการรักษาไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้ร่างกายเอาชนะเชื้อไวรัสได้เอง และสำหรับเด็กเล็กที่ไวรัสหวัดอาจจะรบกวนการพักผ่อนและการใช้ชีวิต คุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอ เพื่อให้จ่ายยาลดน้ำมูก แก้ไอ หรือยาอื่น ๆ ที่จะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสหวัดได้

และสำหรับเด็กเล็กที่มีอาการท้องเสียนั้น อาการท้องเสียส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส (หากเป็นการท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียที่รุนแรงมาก) ดังนั้นก็ใช้หลักการเดียวกันกับการกินยาเมื่อเป็นหวัด คือไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะนั่นเอง

เมื่อลูกเป็นแผล วิธีการที่ถูกต้องในการรักษาแผลคือ การคอยดูแลรักษาความสะอาดบริเวณแผล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ การกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันเผื่อว่าแผลจะติดเชื้อแบคทีเรียนั้นเป็นวิธีการที่ผิด เพราะจะทำให้กินยาปฏิชีวนะที่ไม่ตรงกับโรค ไม่จำเป็น จนเป็นสาเหตุให้เกิด เชื้อดื้อยา ได้

ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะ

เมื่อลูกป่วยไข้ คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็มักจะร้อนใจเป็นธรรมดา จึงมักจะให้ลูกกินยาเยอะ ๆ เพื่อให้ลูกหายจากอาการป่วยไข้เร็ว ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดนะคะ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้หายเร็วแล้ว ยังทำให้ลูกเสี่ยงต่อการติด เชื้อดื้อยา ในอนาคตได้อีกด้วย ดังนั้นยาที่ดีที่สุดเมื่อลูกเป็นหวัด เจ็บคอ จากเชื้อไวรัส ก็คือ “เวลา” นั่นเองค่ะ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้คือการรอเวลาให้ร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสตัวนี้ และเมื่อร่างกายของลูกสามารถสร้างภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเชื้อไวรัสชนิดนั้น ๆ แล้ว อาการของลูกก็จะดีขึ้นได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะใด ๆ ช่วยเลยค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รีวิว ปรอทวัดไข้ อุณหภูมิเท่าไหร่? แปลว่า “ลูกมีไข้” กันแน่!

ไขข้อสงสัย! ลูกเป็นหวัด เป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม?

วิธีสังเกต ลูกเป็นหวัด เพราะเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

หมอเตือน! 3 ภัย 4 โรคในหน้าหนาว เด็กเล็กเสี่ยงเจ็บตายสูงขึ้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Social Marketing Thaihealth by สสส., www.thaihealth.or.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Summary
Review Date
Reviewed Item
เชื้อดื้อยา
Author Rating
41star1star1star1stargray

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up