ลูกกินแต่นม ไม่ใช่เรื่องดี! พ่อแม่ยุคใหม่ระวัง..เพจหมอออกมาโพสต์เตือน!! ลูกกินแต่นม เพียงอย่างเดียว ส่งผลเสีย ทำลูกท้องผูก ปวดขา เดินไม่ได้!
นี่คือผลเสียของการที่ ลูกกินแต่นม ไม่ค่อยกินข้าว
นม มีประโยชน์ต่อร่างกายของลูกน้อย ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและมีส่วนช่วยเพิ่มความสูงได้เป็นอย่างดี ซึ่งจำเป็นมากในเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต … แต่ไม่ว่าลูกจะกินนมแม่ นมผง หรือถ้าถึงวัย 1 ขวบแล้ว แม่เปลี่ยนมาให้กินนมกล่อง UHT (นมวัว) ถ้าปล่อยให้ ลูกกินแต่นม เพียงอย่างเดียว ดื่มนมมากเกินไป ไม่ยอมกินอาหารตามวัย ก็อาจทำให้ลูกขาดสารอาหาร ไม่มีพลังงานและได้รับกากใยไม่เพียงพอ ส่งผลร้ายเกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้
- แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกขาดวิตามินซี หกล้มจนเดินไม่ได้เป็นเดือน!
- ทารกขาดวิตามินบี 12 เสียชีวิต เพราะแม่รักสุขภาพกินแต่ผัก
- ขาดวิตามินซี เพราะดื่มแต่นมกล่อง ไม่รับประทานผักผลไม้
โดยเพจหมอชื่อดัง Infectious ง่ายนิดเดียว ได้ออกมาโพสต์เตือนเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กเล็ก ซึ่งหลายบ้านมักมีปัญหาว่าลูกไม่ยอมกินข้าว โดยที่บางบ้านปล่อยให้ ลูกกินแต่นม และคิดว่า การกินนมสามารถทดแทนกันได้ แต่ความจริงแล้วการที่ร่างกายลูกอยู่ในช่วงการเจริญเติบโต จำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารมากกว่านั้น ซึ่งคุณหมอได้เขียนไว้ว่า…
พ่อแม่ยุคใหม่ระวัง ท้องผูก ซีด และ เดินไม่ได้ปวดขา
การให้อาหารน้องๆ ที่อายุเกิน 1 ปี
อาหารหลัก คือ ข้าว 3 มื้อ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้
นมเป็นเพียงอาหารเสริม วันละไม่เกิน 2-3 กล่อง/แก้ว
การกินนมเพียงอย่างเดียว มีผลเสียมากกว่าผลดี
ผลเสียที่พบบ่อย หากให้ ลูกกินแต่นม
- ท้องผูก = เพราะไม่มีกากใยจากผัก ผลไม้ ทำให้ต้องเบ่ง อุจจาระแข็ง บางคนบาดก้นเป็นแผล ต้องสวน
ยืนแอบถ่าย ถ่ายเป็นก้อนเล็กๆ เม็ดกระสุน บางคนอุจจาระเล็ด
การรักษา คือ พ่อแม่ต้องปรับพฤติกรรมการกิน ข้าว 3 มื้อเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เสริมด้วยนม เวลากินไม่ดูทีวี โทรศัพท์ ไม่เดินป้อนกัน นั่งกินเป็นมื้อ ถ้าไม่กินให้เก็บ ไม่ต้องป้อนนม เด็กจะได้เรียนรู้ เวลาหิวคือข้าวไม่ใช่นม ห้ามตามใจ และต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งบ้าน ปู่ย่าตายาย พ่อและแม่
ทั้งนี้อาหารควรทำให้หลากหลาย สีสัน ธรรมชาติ ไม่ปรุงรสจัด กินน้ำวันละ 5-6แก้ว/วัน และฝึกขับถ่ายเป็นเวลา มีกระโถนแยกสำหรับเด็ก
- ขาดธาตุเหล็ก = ทำให้ซีด มีผลต่อการเรียน พัฒนาการ
- ขาดวิตามินซี = ทำให้เลือดออกง่าย เช่น ไรฟัน เนื้อเยื่อ กระดูกผิดปกติ เข่า ไม่ยอมเดิน
ทั้งนี้หากกลัวลูกขาดวิตามินซี การให้กินวิตามินซีเม็ด ขนาดเม็ดละ 50 มิลลิกรัม สามารถให้ลูกกินวันละ 1-2 เม็ด เนื่องจากกินมากอาจระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ และควรฝึกให้หันมากินผักผลไม้ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีวิตามินซีเยอะโดยเฉพาะ ผักใบเขียว บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ ผลไม้ เช่น ฝรั่ง ส้ม มะละกอ มะม่วง มะนาว กีวี่ แคนตาลูป”
- รีวิว “4 วิตามินซีเด็ก วิตามินรวม” อีกหนึ่งตัวช่วยที่แม่ควรรู้จัก!
- อาหารที่มีวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กและทารก
สรุปคือ การเลี้ยงดูลูกหลัง 1 ปี อาหารหลัก คือ ข้าว เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก ผลไม้ >> ไม่ใช่ให้ลูกกินนมเป็นหลัก เพราะนมเป็นเพียงอาหารเสริมเท่านั้น กินวันละ 2-3 กล่องก็เพียงพอแล้ว
ทั้งนี้หากลูกติดใจนมมากกว่าข้าว อาจเป็นเพราะ
- ติดดูดขวด = เหมือนคนติดบุหรี่ บางครั้งไม่ได้เป็นเพราะติดสารนิโคติน แต่มีความสุขที่ได้อมบุหรี่ไว้ในปาก ดังนั้นถ้าอยากให้ลูกเบื่อนม ก็ลองเลิกใช้ขวดนม แล้วชักชวนให้เขาเปลี่ยนมาดื่มจากแก้วหรือดูดหลอดแทน ถือโอกาสเลิกขวดนมในคราวเดียวกันเลย
ปริมาณนมที่ลูกกินจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดจนเหลือปริมาณที่เหมาะสม เมื่อรู้สึกหิวเขาจะกินข้าวได้มากขึ้น แต่ยังไม่เห็นผลในทันที ร่างกายและจิตใจต้องการเวลาในการปรับสภาพประมาณ 1 – 3 เดือน น้ำหนักอาจลดลง 0.5 – 1.5 กิโลกรัมในช่วงแรก หากลูกกินนมได้น้อยกว่า 15 ออนซ์ ก็เสริมแคลเซียมและวิตามินรวมให้ชั่วคราว ลูกอาจร้องไห้งอแง อยากดูดนมจากขวด คุณแม่ต้องอดทนและให้ความสนใจเขามากขึ้น ชักชวนกันทำกิจกรรมให้ไม่เหงา
- เบื่ออาหารแบบเด็กๆ = หรือไม่ชอบบรรยากาศในการกินแบบเดิมๆ ลูกอาจสนใจอาหารแบบผู้ใหญ่ที่เป็นข้าวและกับข้าว ไม่ใช่ข้าวตุ๋น เริ่มปรุงรสชาติได้เล็กน้อย ลองซื้อเมนูอาหารสำหรับลูกมาฝึก อาจให้ลูกลองกินเอง ใช้มือก็ได้ กินพร้อมกับผู้ใหญ่หรือเด็กหลายๆ คน เด็กบางคนชอบกินอาหารตามภัตตาคารหรือแบบปิกนิก เพราะชอบบรรยากาศที่ไม่จำเจ หรือลองหาภาชนะที่แปลกตาและดึงดูดความสนใจมาใช้
- มีปัญหาในการเคี้ยวหรือกลืน = เพราะไม่เคยฝึกมาก่อน จึงเคยชินกับการกินอาหารเหลวแบบนมมากกว่า วิธีแก้ไขคือ ควรฝึกให้ลูกได้กินอาหารเสริมที่เหมาะสมตามช่วงอายุ เช่น อาหารที่หยาบขึ้นเมื่อลูกเริ่มมีฟันขึ้น
- ให้ลูกกินขนมหวาน = ขนมถุง ลูกอม หรือช็อกโกแลต ทำให้เขาติดรสหวาน รู้สึกว่าข้าวไม่อร่อยเท่าขนม จึงไม่อยากกิน วิธีแก้ไขคือ งดขนมทุกชนิดในบัดดล ปล่อยให้หิวและร้องไห้ไปเลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจากแพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพได้เลย ⇓