อุทาหรณ์! เด็ก 8 เดือน ลูกโป่งระเบิด ใส่แขนไหม้! - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ลูกโป่งระเบิด

อุทาหรณ์! เด็ก 8 เดือน ลูกโป่งระเบิด ใส่แขนไหม้!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกโป่งระเบิด
ลูกโป่งระเบิด

ทำไมลูกโป่งจึงเป็นอันตรายต่อเด็ก?

ลูกโป่งยางลาเท็กซ์ (Latex balloons) เป็นลูกโป่งที่เหมาะกับการประดับงานเลี้ยงมากกว่าเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เพราะอาจทำให้เด็กสำลักและขาดอากาศหายใจด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • เป่าลูกโป่ง เด็กอาจกลืนลูกโป่งเข้าไปขณะเป่าลูกโป่ง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างที่เด็กสูดลมหายใจเพื่อให้มีแรงเป่าลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งหลุดเข้าไปในช่องปากและลำคอ หรือเด็กเล็กบางคนเคี้ยวและดูดลูกโป่งที่ยังไม่ได้เป่า ทำให้ลูกโป่งหลุดเข้าไปในลำคอ
  • เศษลูกโป่งติดคอ เด็กบางคนนำเศษลูกโป่งที่แตกแล้วมาเคี้ยวเล่นหรือนำเศษลูกโป่งที่แตกแล้ว มายืดและแนบกับปากเพื่อเป่าให้พองหรือดูดให้เป็นรอยบุ๋ม ซึ่งเศษลูกโป่งเหล่านี้อาจหลุดเข้าไปในลำคอและปอด อุดกั้นทางเดินหายใจได้อย่างง่ายดาย

นอกจากนี้ลูกโป่งยางลาเท็กซ์ยังอาจมีสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งประเภทหนึ่ง รวมถึงโปรตีนในยางลาเท็กซ์ธรรมชาติสามารถทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ลูกโป่งเติมก๊าซฮีเลียม (Helium balloons) ถึงแม้ก๊าซฮีเลียมเป็นก๊าซเฉื่อยและไม่ติดไฟก็ตาม แต่เป็นอันตรายต่อเด็กได้เช่นกัน เพราะหากเด็กสูดดมก๊าซฮีเลียมเข้าไปในร่างกายมากเกินไป จะทำให้ร่างกายขาดอ็อกซิเจน หมดสติและอาจเสียชีวิตได้

ลูกโป่งเติมก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen balloons) ก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่ไวต่อประกายไฟ ดังนั้นเมื่อโดนความร้อนหรือประกายไฟ ลูกโป่งจะระเบิด ซึ่งอาจทำให้เปลวไฟลวกผิวหนังและเสียชีวิตได้

ลูกโป่ง
ลูกโป่ง

กรมควบคุมโรค แนะ 3 วิธีลดเสี่ยงจาก ลูกโป่งระเบิด

จากที่ผ่านมาที่มีเหตุ ลูกโป่งระเบิด อยู่บ่อยครั้ง ทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงได้นำคำแนะนำจาก นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ถึงวิธีลดความเสี่ยงได้รับอันตรายจาก ลูกโป่งระเบิด ดังนี้

  1. ควรเลือกลูกโป่งที่บรรจุด้วยแก๊สฮีเลียม ถึงแม้จะมีราคาที่แพงกว่าแต่ก็ปลอดภัยกว่าเช่นกัน เนื่องจากเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ติดไฟ และเกิดการรั่วซึมยาก
  2. ไม่ควรเก็บลูกโป่งที่อัดแก๊สไว้ภายในรถ ในที่อุณหภูมิสูง กลางแดด ใกล้หลอดไฟ ใกล้เปลวไฟ หรือความร้อน
  3. ไม่ควรนำลูกโป่งมามัดรวมกันหลายลูก อาจทำให้เกิดการเสียดสีและทำให้ระเบิดได้

นายแพทย์สุวรณชัย ยังได้แนะนำต่ออีกว่า เมื่อซื้อลูกโป่งแฟนซี หรือ ลูกโป่งการ์ตูนให้ลูกเล่น ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เพราะไม่ใช่แค่แก๊สที่อยู่ในลูกโป่งเท่านั้นที่อันตรายกับลูกน้อย แต่ยังไม่ส่วนอื่น ๆ เช่น เศษจากลูกโป่งที่แตก ที่เด็ก ๆ อาจจะเอามาอมหรือกัดเล่น และอาจลื่นเข้าไปในลำคอจนอุดทางเดินหายใจได้

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อุทาหรณ์! ซื้อ ลูกโป่งไว้ในรถ ระเบิดคารถ เด็ก 6 ขวบเจ็บสาหัส

น้ำร้อนลวก ลูกโดนน้ำร้อนลวกจนเป็นแผลทำยังไงดี?

อุทาหรณ์เพราะ สายสิญจน์ บัง! ลูกเอายางรัดข้อมือ แม่รู้อีกทีกลายเป็นแผลลึก

ดูให้ดีก่อนกิน แมงป่องในลองกอง เด็กโดนต่อยอาจช็อกได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up