จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคอ้วน?
สามารถทำการวินิจฉัยโดยการใช้องค์ประกอบดังนี้
– การตัดสินด้วยสายตา
– การคํานวณหาดัชนีความหนาในร่างกาย
– การวัดเส้นรอบวงเอวและสะโพก
– การวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง
– การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง
สําหรับเด็กวัยเรียน พิจารณาจากการเปรียบเทียบน้ำหนัก และส่วนสูงตามมาตรฐานชี้วัดภาวะโภชนาการของเด็ก อายุ 5-18 ปี ของกรมอนามัย 2542 โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศชาย และเพศหญิง อายุ 5-18 ปี ซึ่งจะนําส่วนสูง และน้ำหนักมาเปรียบเทียบกับกราฟ และแปรผลภาวะโภชนาการ ดังนี้
การแปลผลค่าน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
– อยู่เหนือเส้น+ 3 SD แสดงว่า อ้วน
– อยู่ระหว่างเส้น + 2 SD ถึง + 3 SD แสดงว่า เริ่มอ้วน
– อยู่ระหว่างเส้น+ 1.5 SD ถึง + 2 SD แสดงว่า ท้วม
– อยู่ระหว่างเส้น+ 1.5 SD ถึง – 1.5 SD แสดงว่า สมส่วน