6 ข้อควรรู้ดูอย่างไรว่าลูกขาโก่งหรือไม่?
ภาวะโก่งแบบปกติ สามารถพบได้ในเด็กแรกเกิดทุกคน แต่เมื่อลูกค่อยๆ เติบโตขึ้น พัฒนาการการเติบโตของกระดูกจะดูตรงมากขึ้นเมื่อลูกอายุได้ 2 ขวบค่ะ ดังนั้นเพื่อให้ทราบว่าลูกมีปัญหาขาโก่งหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ดังนี้…
- เมื่อยืนปลายเท้าชี้ออกด้านนอก งอเข่าเล็กน้อย จะดูเหมือนขาโก่งโค้งออกด้านนอก
- ถ้ายืนหันปลายเท้าเข้าด้านใน งอเข่าเล็กน้อยจะเหมือนขาโก่งเข้าด้านใน
- เพราะเด็กช่วงวัย 1-2 ปี เป็นช่วงหัดเดิน การทรงตัวยังไม่มั่นคง เด็กจะเดินขาถ่างบ้าง เข่างอเล็กน้อย และกางแขนเป็นบางครั้งเพื่อช่วยในการทรงตัว ซึ่งเป็นท่าเดินมาตรฐานในเด็กวัยนี้
- เวลาดูว่ากระดูกขาโก่งหรือไม่แบบง่ายๆ ต้องเหยียดเข่าให้ตรงสุด หันลูกสะบ้าตรงมาด้านหน้า นำข้อเท้ามาชิดกัน โดยช่องว่างระหว่างขอบด้านในของเข่าไม่ควรห่างเกิน 2 นิ้วของคุณพ่อคุณแม่
- สังเกตลูกในวัยเดิน ให้คุณแม่สังเกตการเดินของลูก ว่าเดินได้สะดวกดีไหม กระเผลก หรือว่ามีอาการเท้าปุกร่วมด้วยหรือเปล่า ถ้าคุณแม่สังเกตพบความผิดปกติดังที่กล่าวมาให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด
- หรืออย่างช้าควรตรงก่อนอายุ 3 ปี หรือถ้านำข้อเท้ามาชิดกันแล้ว แต่เข่าลูกซ้อนกันหรือเกยกัน ก็ควรพาลูกมาตรวจกับแพทย์ด้วยเช่นกัน
บทความแนะนำ คลิก >> ขาโก่งเข้า (Knock knee) อันตรายแค่ไหน
หลักการสังเกตว่าลูกมีปัญหาขาโก่งหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่ลองเช็กได้จาก 6 ข้อบ่งชี้นี้ได้ด้วยตัวเองค่ะ และเมื่อพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นไม่ว่าจะมากหรือน้อย ให้รีบปรึกษากุมารแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อจะได้ตรวจวินัจฉัย และให้การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมค่ะ
อ่านต่อ ลูกใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ทำให้ขาโก่งจริงหรือ หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่