วิธีสังเกตลูก
อาการผิดปกติดังต่อไปนี้ พ่อแม่จะต้องสังเกตให้ดี อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคดังกล่าวได้ ยกตัวอย่างเช่น
- ตาหรือหน้าบวมหลังตื่นนอน บวมทั้งตัว
- มีความผิดปกติของปัสสาวะเช่น ปัสสาวะเป็นสีแดงหรือสีน้ำล้างเนื้อ
- ปัสสาวะมีฟองมาก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ออกกระปริบกระปรอย บางรายจะออกมากหรือน้อยกว่าปกติ
- มีอาการผิดปกติอื่น ๆ แบบเรื้อรังร่วมด้วย เช่น ดูซีด เหนื่อยง่าย หรือตัวเล็กกว่าปกติ เป็นต้น
ดูแลลูกอย่างไร ให้ห่างไกลโรค
- ช่วงตั้งครรภ์ มารดาควรมีการตรวจติดตามโดยสูติแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงสารเคมีหรือยาบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารก
- สังเกตอาการแสดงของโรคไตข้างต้น ถ้าพบความผิดปกติควรพาเด็กมาพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว เพื่อแก้ไขสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคไต
- ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโดยอาศัยพฤติกรรมการถ่ายปัสสาวะที่เหมาะสม เช่น ทำความสะอาดอวัยวะหลังขับถ่าย ไม่กลั้นปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะออกจนสุดโดยไม่เร่งรีบ ดื่มน้ำให้เพียงพอ (ในเด็กโตประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน) เพื่อให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
- กินผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก เพื่อให้ขับถ่ายปัสสาวะได้สะดวก
- ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดอาจมีผลเสียต่อไตได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนนำมาใช้กับเด็ก
- ระวังอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน โดยหลีกเลี่ยงการกินอาหารจุบจิบ อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารรสหวานเกินไป และสนับสนุนให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับการวินิจฉัยโรคนั้น แพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด ร่วมไปกับการตรวจเพาะเชื้อจากคอหอย หรือผิวหนัง เพื่อดูว่า ไตของลูกนั้นอักเสบหรือไม่นั่นเอง