“ควันบุหรี่” อีกหนึ่งสาเหตุร้าย ทำลูกป่วย rsv อาการ รุนแรงได้!! บ้านไหนมีเด็กเล็ก และมีคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ถ้ารักและห่วงลูก ควรเลิกสูบ เพราะควันบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงให้ลูกติดเชื้อ RSV รุนแรงขึ้น
เด็ก + บุหรี่ + ป่วย = rsv อาการ รุนแรงขึ้น
พ่อแม่รู้หรือไม่? ควันบุหรี่ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกที่ติดเชื้อ rsv อาการรุนแรงขึ้น .. เรียกได้ว่าตอนนี้ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV กลายเป็นอีกหนึ่งภัยร้ายของเด็กช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งก็ทำให้บรรดาพ่อแม่หลายคนกังวล เพราะเจ้าเชื้อ rsv อาการ ที่ลูกป่วยอาจดูเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อันตรายถึงชีวิต เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันนั่นเอง
- เพจหมอชื่อดังเผย! 10 ข้อเท็จจริง ของ ไวรัส RSV โรคระบาดหนักในเด็กเล็ก
- RSV คืออะไร? ตรวจหา RSV ทำอย่างไร? ราคาเท่าไหร่?
- ระวัง! โรค RSV รักษาไม่ถูกวิธี อาจติดเชื้อซ้ำซ้อน
สำหรับเชื้อไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านทางการไอ, จาม, น้ำมูก, น้ำลาย และเสมหะจากผู้ติดเชื้อไวรัส โดยเชื้อ RSV สามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยผ่านทางเยื่อบุตา, จมูก, ปาก หรือผ่านทางการสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือ มักพบในเด็กเล็กซึ่งเป็นวัยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรงและเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดเรื้อรัง, โรคหอบหืด, โรคหัวใจ, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
ทั้งนี้มีเด็กหลายคนต้องแอดมิทหรือถึงขั้นต้องอยู่ห้อง ICU ที่สำคัญหากเช็กประวัติคุณพ่อคุณแม่แล้วจะพบว่า เด็กหลายคนที่มีอาการหนัก คือมีประวัติสัมผัสควันบุหรี่มาด้วย
ล่าสุดได้มีงานวิจัยออกมายืนยันแล้วว่า.. เด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี ที่ติดเชื้อ RSV ถ้ามีประวัติสัมผัสควันบุหรี่มือสอง (Second-hand cigarette smoke) จะมีค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า และหากติดเชื้อ rsv จะมีอาการหนักจะกว่าเด็กที่ไม่ได้สัมผัสควันบุหรี่ (เด็กทุกคนในงานวิจัยได้ตรวจระดับสาร cotinine เพื่อยืนยันว่าได้รับควันบุหรี่มือสองหรือไม่) จึงสรุปได้ว่า นอกจากตัวเชื้อ RSV เองที่มีความดุร้ายแล้ว ควันบุหรี่ที่เด็กได้รับ ก็จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นไปอีกด้วยนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม..สำหรับด้านสื่อสังคมออนไลน์ ก็ยังมีข่าวที่เผยแพร่แชร์ประสบการณ์เรื่องราวของผู้ปกครองรายหนึ่งที่มีลูกยังเล็กอายุเพียง 5 เดือน แต่ติดเชื้อไวรัส RSV ทำให้เกิดปอดอักเสบ โดยคาดว่าติดเชื้อจากการสัมผัสจากผู้อื่นที่มาจับหรือหอมแก้มลูกของตนนั้น การติดเชื้ออาจเกิดจากการสัมผัสจากผู้อื่นที่ป่วยหรือเป็นพาหะได้ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เอ็นดูเด็กเล็ก อยากเข้าไปสัมผัสจับมือ หอมแก้ม โดยไม่ได้ทำความสะอาดร่างกายหรือล้างมือก่อนสัมผัส เมื่อไปจับต้องโดนตัวเด็ก หรือสัมผัสโดนปากหรือจมูก ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน ดังนั้นอาจเรียกได้ว่า ผู้ใหญ่ เองนั่นแหละที่เป็นคนเผลอแพร่เชื้อให้เด็กโดยไม่รู้ตัว
- ทารกติด RSV เสียชีวิต ภัยร้ายพรากลูกวัย 10 เดือนจากอกพ่อแม่
- คุ้ม2ต่อ!! วัคซีน ป้องกันไอพีดี แถมบรรเทาอาการเมื่อติดเชื้อ RSV
การป้องกัน โรค RSV
สำหรับการป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค แต่สามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ดังนี้
- ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และน้ำสะอาด โดยเฉพาะ ก่อนมื้ออาหาร หลังเข้าห้องน้ำ
- ควรรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำมากๆ และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอ
- สอนให้เด็กๆ ล้างมืออย่างถูกต้อง ไม่ใช้แก้วน้ำหรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รักษาสุขอนามัยส่วนตัว
- ทำความสะอาดบ้าน รวมทั้งของเล่นเด็กเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อและการไปในสถานที่ที่ผู้คนหนาแน่น
- ไม่ควรพาเด็กไปเล่นในที่ที่มีเด็กเล่นอยู่ด้วยกันจำนวนมาก
- หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในที่ๆ มีควันบุหรี่ รวมทั้งควันอื่นๆ เช่น ควันรถ ควันธูป
- แนะนำให้คนในบ้านเลิกบุหรี่ เพื่อประโยชน์ต่อตัวเองและน้องๆ ถ้ายังเลิกบุหรี่ไม่ได้จริงๆ แนะนำให้ไปสูบบุหรี่ไกลจากบ้าน และเมื่อกลับมาบ้าน “ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า” ก่อนคลุกคลีกับคนอื่นๆในบ้าน เนื่องจากละอองสารพิษจากควันบุหรี่ยังคงติดตามตัวและเสื้อผ้า ทำให้คนอื่นๆยังคงสูดหายใจเข้าไปได้ด้วย (Third-hand cigarette smoke)
- ส่วนผู้ที่ป่วยควรงดการออกนอกบ้านในช่วงที่ไม่สบาย เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น และควรปิดปากปิดจมูกเวลาไอจามด้วยหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย
สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ต้องให้สังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ และพาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ขอบคุณข้อมูลจาก : ddc.moph.go.th , www.posttoday.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิกที่ภาพด้านล่าง ⇓
รวม 20 อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย แบบนี้..! กำลังป่วยเป็นโรคอะไร?
โรคคาวาซากิ อาการ ที่ต้องระวัง อันตรายจากภาวะแทรกซ้อนถึงชีวิต
โรคหัดระบาด ช่วงไหน ไข้ออกผื่นแบบนี้ ลูกเป็นโรคหัดหรือเปล่า?