วิธีสังเกตอาการของเด็กที่มีภาวะ สมองพิการ
สมองพิการในเด็ก อาการผิดปกติมักเกิดขึ้นตั้งแต่หลังคลอด จะปรากฏอาการขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และเมื่ออายุ 1-2 ปีอาการจะชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนในรายที่เกิดจากอุบัติเหตุก็จะมีอาการหลังจากนั้น
- สังเกตว่าทารกมีพัฒนาการล่าช้า เช่น คลาน นั่ง ยืน เดิน พูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ และกล้ามเนื้ออาจจะแข็งตัวหรืออ่อนตัว มีท่าทางและการเคลื่อนไหวผิดปกติ
- สำหรับอาการสมองพิการชนิดเกร็ง จะมีอาการแขน ขาเกร็ง เคลื่อนไหวลำบาก ข้อศอกและข้อเข่างอ จากการที่กล้ามเนื้อแข็งตัว ความผิดปกตินี้ อาจจะเกิดที่แขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้
- สำหรับอาการสมองพิการชนิดเคลื่อนไหวผิดปกติ จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนตัวทั้งร่างกาย การเคลื่อนไหวของใบหน้าและแขน ขาช้า หรือกระตุก ทำให้ไม่สามารถตั้งตัวตรง และหยิบจับสิ่งของได้ ซึ่งอาการนี้จะอยู่เหนือการควบคุมของเด็กที่ป่วย
- อีกหนึ่งอาการ แต่พบได้เป็นส่วนน้อย คือ อาการมือสั่นเวลาเคลื่อนไหว เดินเซ เนื่องจากการที่กล้ามเนื้อไม่สามารถประสานการทำงานได้ การแสดงออกทางอาการเหล่านี้อาจมีได้มากกว่า 1 ชนิด รวมถึงอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น เดินตัวไม่ตรง เดินขาลากหรือเท้าลากข้างหนึ่ง ตัวสั่น น้ำลายไหล กลืน ดูด หรือพูดลำบาก พูดไม่ชัด เขียนหนังสือหรือติดกระดุมลำบาก บางรายอาจมีอาการสายตาไม่ดี ตาเหล่ หูตึง เป็นโรคลมชัก สติปัญญาพร่องด้วย
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากอาการ สมองพิการ
- เด็กตัวเล็กจากการกินอาหารลำบาก
- ฟันผุ
- ท้องผูก
- ปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร
- ตาบอด หูหนวก
- กระดูกพรุน
- ข้อยึดติด
- ข้อสะโพกหลุด
- กระดูกสันหลังคด
- โรคลมชัก
- สมาธิสั้น
สมองพิการในเด็ก รักษาได้อย่างไร?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่