วิธีสังเกตอาการ หายใจผิดปกติ ที่เป็นอันตรายต่อเด็ก - Amarin Baby & Kids
หายใจผิดปกติ

วิธีสังเกตอาการ หายใจผิดปกติ ที่เป็นอันตรายต่อเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
หายใจผิดปกติ
หายใจผิดปกติ

จากสถิติสาเหตุการเสียชีวิตของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคปอดบวมมาเป็นอันดับ 1 ซึ่งโรคนี้ทำให้เด็กมีภาวะหายใจเร็วกว่าปกติ หากปล่อยไว้อาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ดังนั้นมารู้จักอาการของโรคปอดบวมและรู้วิธีสังเกตอาการ หายใจผิดปกติ กันดีกว่า

โรคปอดบวมในเด็ก

เริ่มต้นเด็กจะมีไข้ อาจมีหนาวสั่น ไอมีเสมหะ หายใจเร็วกว่าปกติ หรือแสดงอาการหอบเหนื่อย ถ้ามีอาการรุนแรงขึ้นจะมีอาการหายใจลำบาก หน้าอกบุ๋ม ปีกจมูกบานถ้ามีภาวะหายใจลำบากรุนแรงขึ้นและไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต

การหายใจเร็ว หรือศัพท์ที่เรียกทางการแพทย์ว่า Tachypnea เป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งชี้ถึงภาวะความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ เด็กจะมีภาวะหายใจลำบากซึ่งอาจเริ่มจากเป็นเพียงเล็กน้อยและมากขึ้นจนนำไปสู่อาการที่รุนแรงได้ดังนั้นการเรียนรู้วิธีประเมินการหายใจ ร่วมกับการสังเกตลักษณะการเคลื่อนไหวของทรวงอกขณะหายใจในเด็ก จึงสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยชีวิตเด็กในเบื้องต้นได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

วิธีประเมินและสังเกตการหายใจในเด็ก

1. อัตราการหายใจ 

โดยปกติในทารกและเด็กจะมีอัตราการหายใจเร็ว และจะค่อยๆ ช้าลงจนกระทั่งถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น อัตราการหายใจจะเพิ่มตามด้วย เพื่อที่จะช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย และให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอใจการเผาผลาญสารอาหาร

การนับอัตราการหายใจจะช่วยให้ทราบว่าเด็กมีการหายใจเพียงพอหรือไม่ หากว่าการหายใจไม่เพียงพอร่างกายเราจะหายใจเร็วขึ้นและแรงขึ้น

วิธีการวัดอัตราการหายใจ การนับอัตราการหายใจต้องนับให้ครบ 1 นาที ขณะที่เด็กสงบหรือพัก ถ้านับอัตราการหายใจขณะเด็กร้องไห้ จะได้ค่าที่คลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความเป็นจริง

  • สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จะสังเกตการเคลื่อนไหวของท้องขึ้นลง นับเป็น 1 ครั้งใน 1 นาที
  • สำหรับเด็กอายุมากกว่า 7 ปี จะสังเกตจาการเคลื่อนไหวของทรวงอกขึ้นลงนับเป็น 1 ครั้งใน 1 นาที
วิธีสังเกต

-ใช้การสังเกตการเคลื่อนไหวของผนังหน้าท้องขึ้นลง นับเป็น 1 ครั้ง

-จับเวลาให้ครบ 60 วินาที

-หรือการใช้มือสัมผัสหน้าท้องเบาๆ ขณะนับการเคลื่อนไหวของหน้าท้อง

อัตราการหายใจสามารถบอกถึงภาวะผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจได้ โดยพิจารณาจากอายุและอัตราการหายใจเป็นเกณฑ์ดังนี้

  • ทารกแรกเกิด – 2 เดือน ใช้อัตราการหายใจเร็วตั้งแต่ 60 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
  • อายุ 2 เดือน -11 ปี ใช้อัตราการหายใจเร็วตั้งแต่ 50 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
  • อายุ 1 -5 ปี ใช้อัตราการหายใจเร็วตั้งแต่ 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป

 หายใจอกบุ๋ม

2. สังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอกขณะหายใจ

หายใจอกบุ๋ม (Retraction) คือการดึงรั้งของกล้ามเนื้อบริเวณทรวงอกขณะหายใจสังเกตง่ายๆ คือเด็กจะหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มขณะหายใจเข้าแสดงถึงภาวะที่เด็กต้องใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจเพื่อนำเอาอากาศเข้าปอดมากขึ้นซึ่งอาจเกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ จึงทำให้หายใจลำบากนั่นเอง

วิธีสังเกต

  • โดยปกติในเด็กเล็กเมื่อหายใจเข้า ท้องและอกของเด็กจะป่องออก เมื่อหายใจออก ท้องและอกของเด็กจะหุบเข้า
  • แต่ถ้ามีอาการหายใจลำบาก จะมีอาการอกบุ๋มเมื่อหายใจเข้า โดยบริเวณใต้ชายโครงของเด็กจะบุ๋มในขณะที่ท้องและอกจะป่องออก
  • อาการอกบุ๋มพบได้ในหลายบริเวณได้แก่เหนือกระดูกไหปลาร้า บริเวณช่องว่างระหว่างซี่โครง บริเวณใต้ชายโครง และบริเวณใต้กระดูกกลางหน้าอก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ปีกจมูกบาน

3. ปีกจมูกบาน (Nasal Flaring)

เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของการหายใจลำบาก

4. หายใจมีเสียงดัง

วิธีสังเกต

  • ขณะที่เด็กสงบ ฟังเสียงหายใจ โดยแนบหูใกล้ปากของเด็ก
  • ในขณะที่เด็กหายใจเข้า จะได้ยินเสียง ฮืด หรือขณะหายใจออก อาจได้ยินเสียงหวีด

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ผู้ดูแลพบอาการ หายใจผิดปกติ เหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจของลูกน้อยได้ ควรรีบพามาโรงพยาบาลโดยด่วน

ชมคลิปตัวอย่างการหายใจอกบุ๋ม

การที่คุณพ่อคุณแม่สังเกตและรู้ว่าการหายใจผิดปกติในเด็กเป็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยชีวิตของลูก ยิ่งสังเกตและรู้เร็วมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งช่วยให้ลูกน้อยปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น


บทความโดย : อาจารย์สุภาวดี ทับกล่ำ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิตยสาร Amarin Baby & Kids

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูกนอนกรน หายใจเสียงดัง เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สุดยอด!แม่สังเกตจนรู้ ลูกไม่ได้เป็น ตากุ้งยิง แท้จริงคือชีสต์

วิธีเก็บเงิน ให้ล้นกระเป๋าสตางค์แบบฉบับคนญี่ปุ่น!!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up