การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายควรดื่มอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน แต่เมื่อลูกห่วงทำกิจกรรมต่าง ๆ จนเพลิน ทำให้เกิดปัญหา ” ลูกดื่มน้ำน้อย “ กว่าปกติ
คุณพ่อคุณแม่ทราบกันหรือไม่คะว่า ความจำเป็นในส่วนของปริมาณการดื่มน้ำในแต่ละวันนั้น ขึ้นอยู่กับอายุของลูกเป็นสำคัญ จากผลการศึกษาทางการแพทย์ในหลาย ๆ ประเทศนั้นพบว่า “การให้ลูกดื่มน้ำในช่วงอายุก่อน 6 เดือนนั้น อาจทำให้เกิดอันตรายมากกว่าประโยชน์ที่ลูกจะได้รับ” เนื่องจาก ลูกจะเกิดการอิ่มน้ำ ทำให้ดูดนมแม่ได้น้อยลง ส่งผลให้ถ่ายอุจจาระลดลงเช่นกัน นอกจากนี้เมื่อลูกดูดนมแม่ได้น้อย ลูกก็จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารตามมา แต่สิ่งที่เป็นอันตรายกับลูกมากที่สุดก็คือ “การเกิดภาวะน้ำในร่างกายผิดปกติ” และระดับของแร่ธาตุโซเดียมในร่างกายมากเกินไป ส่งผลโดยตรงต่อสมอง อุณหภูมิในร่างกาย การทำงานของไต ทำให้เกิดอาการตับบวม ชัก หรือบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้! ดังนั้น “น้ำ” จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน
คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะว่า ลูกจะไม่ได้ดื่มน้ำเลย เพราะน้ำนมแม่นั้น มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 88 เปอร์เซ็นเลยละค่ะ และแน่นอนว่า เพียงพอต่อความต้องการของลูก ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือนจึงไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับน้ำเพิ่มอีก แต่ถ้าหากคุณแม่มีความจำเป็นต้องให้ลูกดื่มนมผง คุณแม่ก็ควรหลีกเลี่ยงการชงนมที่เจือจางมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ความสมดุลของน้ำในร่างกายของลูกเกิดความผิดปกติขึ้นได้
ซึ่งอายุที่เหมาะสมของลูกที่จะเริ่มดื่มน้ำนั้นก็คือ อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป แต่ในช่วงแรกคุณแม่ควรจำกัดปริมาณน้ำที่จะให้ลูกดื่มกันด้วยนะคะ โดยเริ่มต้นที่ประมาณไม่เกิน 2 – 4 ออนซ์ต่อวัน และอาจจะให้จิบน้ำหลังจากที่ลูกได้ทานอาหารเสริมเสร็จแล้ว และเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ปริมาณน้ำที่ลูกจะสามารถดื่มได้ก็จะเพิ่มขึ้นไปตามลำดับค่ะ
ลูกดื่มน้ำน้อย ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง? คลิก!
เครดิต: Dek-D และ www.mathgamecenter.com , www.cloverdrink.com