ลูกตกจากที่สูง หัวฟาดพื้น ทำยังไงดี? - Amarin Baby & Kids
ลูกตกจากที่สูง

ลูกตกจากที่สูง หัวฟาดพื้น ทำยังไงดี?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกตกจากที่สูง
ลูกตกจากที่สูง

ลูกตกจากที่สูง ลูกตกเตียง ลูกตกเปล ลูกตกบันได หัวกระแทกพื้น เป็นเหตุการณ์ที่พ่อแม่ทุกบ้านไม่อยากเจอ แต่ก็อาจเกิดขึ้นทุกเวลา หากปล่อยให้ลูกคลาดสายตา พญ. ศรินพร มานิตย์ศิริกุล ทิพย์อุดม เจ้าของเพจ “หมอสมองเลี้ยงลูกแฝด” มีคำแนะนำดีๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ เมื่อลูกหัวกระแทกพื้น พ่อแม่ควรทำอย่างไร ต้องสังเกตอาการยังไง เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ ไปติดตามกันค่ะ

หนึ่งในคำถามที่แม่แฝดโดนปรึกษาประจำคือ “ลูกตกจากที่สูง หัวฟาดพื้น ทำยังไงดี?”

แฝดเองก็มีหลายครั้งที่ตกจากที่สูง ใจคนเป็นแม่เวลาลูกตกลงมา ก็อยากวิ่งไปอุ้มลูกเข้ามากอด มาปลอบ แต่อีกใจนึงด้วยความที่เป็นหมอ โดยเฉพาะ “หมอสมอง” ที่ต้องดูเรื่องการบาดเจ็บที่ศีรษะในคนไข้บ่อยๆ ก็ต้องพยายามดึงสติตัวเองให้ไม่ตกใจ และทำตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

1. สิ่งแรกที่ต้องทำ เมื่อลูกตกจากที่สูง

เมื่อลูกตกจากที่สูงอย่างแรกที่เราต้องดูคือ “คอและไขสันหลัง” เพราะถ้าเกิดคิดว่ามีโอกาสได้รับบาดเจ็บที่คอและไขสันหลัง
แล้วเราไปทำการเคลื่อนย้ายโดยไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้มีโอกาสบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะทุพลภาพได้

ถ้าแม่คิดว่าลูกตกจากที่สูงแล้วคิดว่าคอและไขสันหลังมีโอกาสได้รับบาดเจ็บ แม่ต้องห้ามขยับหรือเคลื่อนย้ายลูก หรือถ้าจะขยับเคลื่อนย้ายต้องขยับอย่างถูกวิธี โดยการยกตัวลูกโดยให้ส่วนคอและไขสันหลังอยู่ในแนวตรงคล้ายท่อนซุง (log roll)

ลูกหัวฟาดพื้น
ลูกตกจากที่สูง พ่อแม่ต้องทำอะไรก่อนหลัง สังเกตอาการยังไง

2. ถัดไปคือที่ ศีรษะของลูก

ถ้าได้รับการกระแทก แล้วมีการบวมแดงช้ำ ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกต้องประคบเย็น ย้ำว่าประคบเย็นนะคะ!!! เพราะว่าความเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดจะได้ไม่ออกมาใต้ผิวหนังเพิ่มมากขึ้น จะได้ไม่ช้ำบวมเพิ่มมากขึ้น

หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง เมื่อแผลยุบบวมแล้วถึงสามารถประคบร้อนได้ เพื่อให้หลอดเลือดขยายตัวดูดเลือดที่ค้างอยู่เอากลับไปทำให้ยุบบวมเร็วขึ้น

3. สังเกตอาการใน 24 ชั่วโมง

ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการบาดเจ็บที่ศีรษะ ถ้าแม่คิดว่าบาดเจ็บรุนแรงหรือไม่สามารถดูอาการเองได้ ให้รีบพาไปโรงพยาบาล เพื่อให้หมอตรวจร่างกายอย่างละเอียดค่ะ

แต่ถ้าการบาดเจ็บไม่ได้รุนแรงมาก แม่สามารถดูอาการได้เอง อาจลองสังเกตอาการเบื้องต้นดูเองที่บ้าน โดยเน้นดูอาการของลูกถี่ๆสม่ำเสมอ

สังเกตอาการ ลูกตกจากที่สูง หัวฟาดพื้น
สังเกตอาการ ลูกตกจากที่สูง หัวฟาดพื้น

4. อาการที่ต้องรีบพาลูกไปหาหมอ

ถ้ามีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ แม่ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพราะอาจมีสาเหตุมาจากสมองได้รับกระทบกระเทือน หรือเลือดออกในสมองได้ค่ะ

  • ลูกมีซึม
  • อาเจียนพุ่ง
  • ทานได้น้อยลง
  • มีอ่อนแรงแขนขา
  • มีอาการปวดศีรษะ
  • ชักเกร็ง

5. ตรวจร่างกายบริเวณอื่นๆ ด้วย

หลังจากจัดการการบาดเจ็บที่ศีรษะของลูก อย่าลืมตรวจร่างกายบริเวณอื่นๆ อย่างละเอียดนะคะ

  • ดูตามข้อว่ามีบวมหรือเปล่า
  • มีแผลตามแขนหรือขาหรือเปล่า
  • ลูกเดินได้ปกติหรือเปล่า

สรุปแบบย่อๆ สิ่งที่ควรทำ ตามลำดับ
ดูคอ –> ประคบเย็น–>ดูอาการทางสมอง–>ตรวจร่างกายส่วนอื่นๆ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


การมีความรู้ในการดูแลสุขภาพลูกน้อย เป็นส่วนสำคัญที่จะสร้าง ความฉลาดสุขภาพดี (HQ) หนึ่งใน Power BQ 10 ความฉลาดที่เด็กยุคใหม่ควรมี ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากๆ ในการสร้างเด็กยุคใหม่ที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ และประสบความสำเร็จในชีวิต ความฉลาดสุขภาพดี การมี Health Quotient เริ่มต้นได้ที่พ่อแม่ ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพตัวเองและลูกน้อย เพื่อที่จะเป็นต้นแบบให้เขาสามารถดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีได้ต่อไป เพราะสุขภาพที่ดีคือพื้นฐานสำคัญของชีวิต


ติดตามความรู้การพัฒนาสมอง และการเรียนรู้ของเด็ก กับคุณหมอศรินพร

ได้ที่เพจ หมอสมองเลี้ยงลูกแฝด

หมอสมองเลี้ยงลูกแฝด

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

8 วิธีฝึก “สมองส่วนหน้า” ที่ให้ลูกได้มากกว่าทักษะ EF

11 เกมฝึกสมอง สอนลูกแก้ปัญหาไม่ละความพยายามง่ายๆ

8 ของเล่น เด็ก 4 ขวบ ฝึกสมอง สร้างสมาธิ เสริมพัฒนาการให้ลูกน้อยวัยอนุบาลโดยเฉพาะ!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up