อีสุกอีใส

“อีสุกอีใส” โรคติดต่อที่ดูไม่น่ากลัว แต่อันตรายถึงชีวิตลูก!

Alternative Textaccount_circle
event
อีสุกอีใส
อีสุกอีใส
อีสุกอีใส
เครดิต: The Independent
ระยะการฟักตัวของโรคอีสุกอีใสนั้น จะใช้ระยะเวลาประมาณ 10 – 21 วัน โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ระยะเวลาประมาณ 14 – 17 วันค่ะ

โรค อีสุกอีใส มีอาการอย่างไร

  • เด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ มีอาการอ่อนเพลีย แล้วเริ่มเบื่ออาหารเล็กน้อย
  • ในผู้ใหญ่จะมีไข้สูงและปวดเมื่อยตามร่างกายคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ จากนั้นผู้ป่วยก็จะเริ่มมีผื่นขึ้น โดยจะขึ้นพร้อมกันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือขึ้นหลังจากที่มีไข้ประมาณ 1 – 2 วัน
  • ลักษณะของผื่นนั้น เป็นผื่นราบสีแดงขนาดเล็ก ๆ ก่อน ในอีก 2 – 3 ชั่วโมงต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูนและตุ่มน้ำใสขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 – 3 มิลลมิเมตร มีฐานสีแดงอยู่โดยรอบ โดยตุ่มใสที่ว่านี้จะทำให้ผู้ป่วยนั้นมีอาการคัน และภายใน 24 ชั่วโมงต่อมาก็จะเปลี่ยนกลายเป็นตุ่มน้ำขุ่นมีขนาดใหญ่และแตกได้ง่าย และฝ่อหายไปหรือกลายเป็นสะเก็ต ที่จะหลุดหายไปเองภายใน 7 – 10 วัน แต่ก็มีบ้างค่ะที่ผู้ป่วยบางรายอาจนานกว่านั้นเป็น 2 – 3 สัปดาห์โดยไม่เป็นแผลเป็น
อีสุกอีใส
เครดิต: Medthai

 

  • ผื่นและตุ่มอีสุกอีใสนั้น จะเริ่มจากการขึ้นที่ลำตัวก่อน บริเวณหน้าอกและแผ่นหลัง แล้วลามไปที่หน้า หนังศีรษะ และแขนขา นอกจากนี้ยังสามารถมีผื่นตุ่มในลักษณะเดียวกันตามเยื่อบุปากได้ด้วย เช่น เพดานปาก ลิ้น คอหอย เป็นต้น
  • บางรายอาจจะขึ้นในเยื่อบุอื่น ๆ เช่น เยื่อบุตา กล่องเสียง หลอดลม ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องคลอด เป็นต้น โดยผื่นและตุ่มใหม่จะทยอยขึ้นเป็นระลอกตามมาเป็นเวลา 3 – 6 วัน (ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ 4 – 5 วัน) และก็จะหยุดขึ้น ส่วนผื่นที่ขึ้นก่อนหน้านี้จะกลายเป็นตุ่มขุ่นหรือตุ่มสุก และตกสะเก็ดก่อนผื่นที่ขึ้นทีหลังตามลำดับ ทำให้ตามลำตัวจึงพบผื่นตุ่มได้ทุกรูปแบบ ทั้งตุ่มสุกและตุ่มใส ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “โรคอีสุกอีใส”
โรคนี้เมื่อได้เป็นแล้วร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานไปตลอดชีวิต และจะไม่เป็นซ้ำอีก ยกเว้นเสียแต่ว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันต่ำ อาจจะกำเริบซ้ำอีกได้ และต่อให้ตุ่มยุบหายแล้ว เชื้อชนิดนี้มักจะยังหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท ทำให้มีโอกาสเป็นโรคงูสวัสได้ในภายหลัง หากร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ

อ่านวิธีการรักษาโรคได้ที่หน้าถัดไป

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up