มะเร็งในเด็ก แม้ว่าจะพบได้น้อยกว่ามะเร็งในผู้ใหญ่ แต่ก็เป็นโรคที่เกิดขึ้นแล้ว จะสร้างความเจ็บปวดให้แก่ลูกน้อยและพ่อแม่เป็นอย่างมาก แต่รู้หรือไม่ว่า โรคมะเร็งในเด็ก สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ หากแม่ท้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้
แม่ท้องต้องเลี่ยง! ถ้าไม่อยากเสี่ยงให้ลูกเป็น “มะเร็งในเด็ก”
มะเร็งในเด็ก คืออะไร?
โรคมะเร็งในเด็ก คือ โรคมะเร็งที่เกิดในทารกแรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 15 ปี แต่เป็นโรคมีอัตราเกิดน้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก คิดเป็นประมาณ 1 ใน 10 ของโรคมะเร็งในผู้ใหญ่ และเกือบทั้งหมด เป็นมะเร็งชนิดแตกต่างจากผู้ใหญ่
ในผู้ใหญ่ มักจัดแบ่งชนิดของโรคมะเร็งตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งกล่องเสียง โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปอด หรือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่โรคมะเร็งในเด็ก จะแบ่งตามลักษณะชนิดของเซลล์มะเร็ง โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานการพบการเกิดโรค เรียงตาม 12 ลำดับที่พบบ่อย ดังนี้
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
- โรคเนื้องอก/มะเร็งสมอง (Brain tumors)
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)
- โรคมะเร็งประสาทซิมพาทีติค ชนิด นิวโรบลาสโตมา
- โรคมะเร็งลูกตา ชนิด เรติโนบลาสโตมา (มะเร็งจอตา โรคตาวาว)
- โรคมะเร็งไตชนิดวิมทูเมอร์/มะเร็งไตในเด็ก/มะเร็งวิมส์ (Wilms’tumor)
- โรคมะเร็งตับ ชนิด เฮปาโตบลาสโตมา(Hepatoblastoma)
- โรคมะเร็งกระดูกชนิด ออสติโอซาร์โคมา(Osteosarcoma) และ ชนิด อีวิง (Ewing’s saroma)
- โรคมะเร็งกล้ามเนื้อ ชนิด แรบโดไมโอซาร์โคมา (Rhabdomyosarcoma)
- โรคมะเร็งของอวัยวะ/เนื้อเยื่อต่างๆ ชนิด เจิมเซลล์ (เนื้องอกเจิมเซลล์ มะเร็งเจิมเซลล์/Germ cell tumors)
- โรคมะเร็งเยื่อบุผนังอวัยวะ ชนิด คาร์ซิโนมา
- โรคมะเร็งชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมด ซึ่งมักเป็นชนิดพบน้อยมาก ประปราย และมักสัมพันธ์กับการมีพันธุกรรมผิดปกติของเด็ก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่